อาหารเหลือทิ้ง กลายเป็นปัญหาขยะอาหาร (Food waste) กองโตที่สะสมไว้ให้กับโลกของเรา ซึ่งจากการสำรวจองค์ประกอบขยะมูลฝอย โดยกรมควบคุมมลพิษ ณ สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย เมื่อปี ขยะมูลฝอย564 พบสัดส่วนของขยะอาหารมีมากถึงร้อยละ 39 คิดเป็นปริมาณ 9.68 ล้านตันต่อปี หรือประชากร บริหารจัดการ คน ผลิตขยะอาหาร บริหารจัดการ46 กิโลกรัมต่อคนต่อปี โดยสาเหตุหนึ่งมาจากไม่มีการคัดแยกตั้งแต่ต้นทางทำให้ปะปนกับขยะทั่วไป ไม่สามารถบริหารจัดการแยกกำจัดได้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บ่อขยะเกิดกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค ทำให้ไม่สามารถนำขยะไปรีไซเคิลหรือใช้ประโยชน์ต่อได้ เป็นภาระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการต้องจ่ายค่ากำจัดเป็นจำนวนมาก ทำให้งบประมาณส่วนนี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะใช้บริหารจัดการขยะให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากจากบ่อขยะ ดังนั้นหากการจัดการขยะอาหารไม่ถูกวิธีจะส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เพราะขยะอาหารอาจก่อให้เกิดก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพในการทำให้โลกร้อนสูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง ขยะมูลฝอย8 เท่า
ด้วยเหตุนี้ องค์การสหประชาชาติ (UN) มีความกังวลต่อปัญหาขยะอาหารจึงกำหนดให้การลดขยะอาหารเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs: เป้าหมายย่อย 12.3) โดยให้ทั่วโลกลดขยะอาหารลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค ภายในปี 2573 จะเห็นได้ว่าปัญหาขยะอาหารที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แต่กลับตรงกันข้าม เพราะปัญหาขยะอาหารกำลังคุกคามโลกของเราให้ร้อนระอุมากขึ้น
กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ระบุว่า ได้เร่งประสานหน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการตามแผนปฏิบัติด้านการจัดการขยะอาหาร ระยะที่ 1 (ปี 2566 - 2570) โดยตั้งเป้าหมายลดสัดส่วนของขยะอาหารในขยะมูลฝอยชุมชนจากร้อยละ 39 ลงเหลือไม่เกินร้อยละ 28 ภายในปี 2570 ภายใต้มาตรการที่มุ่งเน้นการลดหรือทิ้งให้น้อยลงในกลุ่มผู้จำหน่าย ผู้ประกอบอาหาร ผู้บริโภค ครอบคลุม การจัดซื้อและขนส่งอาหาร การประกอบอาหาร การจำหน่ายอาหาร การเก็บรักษาอาหาร และการบริโภค ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เกิดขยะอาหารน้อยลง ลดการตกค้างของขยะที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค ลดมลพิษจากขยะ รวมถึงลดการปล่อยก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
กรมควบคุมมลพิษ ดำเนินงานเชิงรุกเพื่อให้ขยะอาหารลดลงตามเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอย่างยั่งยืน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันและลดขยะอาหารของผู้ซื้อและผู้บริโภค ป้องกันให้เริ่มวางแผนก่อนซื้อ และซื้อเท่าที่จำเป็น ก่อนนำมาประกอบอาหารให้พอดีกับจำนวนสมาชิกในบ้าน รวมถึงวางแผนเมนูอาหารที่จะทำในแต่ละสัปดาห์ และจัดเก็บอาหารให้เหมาะสม รวมถึงพัฒนากลไกในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะอาหารมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เหลือขยะอาหารที่ต้องกำจัดน้อยที่สุด ขณะเดียวกันประชาชนยังสามารถช่วยกันลดขยะอาหารได้อีกทางด้วยการบริโภคอาหารแต่พอดี รู้จักถนอมอาหาร หรือนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ เช่น ผลิตปุ๋ยหมัก นำไปเลี้ยงสัตว์ หรือแปรสภาพเป็นก๊าซชีวภาพ เป็นต้น ส่วนการทิ้งขยะอาหาร ควรคัดแยกออกจากขยะทั่วไปเพื่อไม่ให้ขยะมีกลิ่นเหม็นและจัดการได้ยาก
อย่าปล่อยให้ขยะอาหารในมือเรา กลายเป็นมลพิษสะสมอีกต่อไป มาเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยคัดแยกขยะอาหารออกจากขยะทั่วไปตั้งแต่ต้นทางทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน หรือที่อื่น ๆ ก็ถือว่าได้เป็นอีกหนึ่งแรงพลังที่ช่วยลดขยะอาหารไม่ให้ปนเปื้อนกับขยะอื่น ๆ แถมยังได้ช่วยเซฟโลกของเราไม่ให้ร้อนมากไปกว่าเดิมอีกด้วย
"ที ลีสซิ่ง เปื้อนยิ้ม เพิ่มห่วงใย ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ ฟรี ครั้งที่ 7" ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมเพื่อสังคมที่บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด ผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ ผนึกกำลังร่วมกับศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ และหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้ประชาชน ก่อนเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยปีนี้ได้รับกระแสตอบรับดี มีประชาชนแห่นำรถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 300 ซีซี มาร่วมลงทะเบียนเพื่อตรวจสอบสภาพรถและเปลี่ยนน้ำมันเครื่องฟรีอย่างต่อเนื่อง
กลับมาอีกครั้ง ที ลีสซิ่ง เปื้อนยิ้ม เพิ่มห่วงใย ตรวจสภาพรถฟรี ปีที่ 7 ผนึกพันธมิตร ดูแลเตรียมพร้อมอุ่นใจ เดินทางปลอดภัยก่อนเทศกาลสงกรานต์
—
ห้ามพลาด! เตร...
LINE ประเทศไทย ยกระดับการแจ้งเตือนค่าฝุ่น PM2.5 ผ่าน LINE ALERT ครอบคลุมทั่วประเทศแล้ววันนี้
—
จากสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและอาจส่งผลกระท...
EOC กรมอนามัย ย้ำ 3 ข้อสั่งการ มอบทีม SEhRT 3 ศูนย์อนามัยฯ ภาคเหนือ พร้อมรับฝุ่น PM2.5
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบ 3 ข้อสั่งการ โดยเฉพาะ 3 ศูนย์อนามั...
กรมอนามัย แนะวิธีเลือกเครื่องฟอกอากาศ และการจัดบ้านให้ปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะหลักการเลือกเครื่องฟอกอากาศที่สามารถลดปริมาณฝุ...
กรมอนามัย แนะ เตรียมรับมือ 7-8 กพ นี้ กทม. PM2.5 สูงขึ้น
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ย้ำ! สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ยังมีค่าเกินมาตรฐาน (มากกว่า 37.5 ไมโครกรัม...
กทม. เร่งรับมือฝุ่น PM2.5 ตรวจเข้มแหล่งมลพิษ สร้างห้องเรียนปลอดฝุ่น ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
—
นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม (...
คพ.-สสส. ประกาศผล 18 รางวัล ประกวดสื่อสร้างสรรค์ "GREEN GEN CHALLENGE" พร้อมดันพลังคนรุ่นใหม่ขับเคลื่อนสังคมสีเขียวสู่ความยั่งยืน
—
น.ส.ปรีญาพร สุวรรณเกษ ...
ไทยพีบีเอส - ภาคีฯ ยกระดับความรู้ "ห้องเรียนสู้ฝุ่น" เตรียมรับมือวิกฤต PM 2.5
—
ไทยพีบีเอส ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และภาคีเครือข่าย เปิดโครงการยกระดับความรู้...
กทม. เข้มมาตรการเชิงรุกรับมือฝุ่น PM2.5 สะสมเพิ่มขึ้น แจกหน้ากากอนามัยให้กลุ่มเปราะบาง
—
นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) กทม. ก...