บริษัท อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) ประเทศไทย ประกาศเปิดตัว 5G Innovation & Experience Studio อย่างเป็นทางการ ที่ตั้งอยู่ในโครงการ Thailand Digital Valley อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยสตูดิโอแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งในพันธกิจของบริษัทฯ ที่มุ่งมั่นขับเคลื่อนการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันของประเทศไทย ภายใต้โครงสร้างพื้นฐาน 5G ที่มีความแข็งแกร่งและกำลังพัฒนายิ่งขึ้นในประเทศไทย
ด้วยการใช้ประสิทธิภาพจากโซลูชันเครือข่าย 5G ที่ทันสมัย ผนวกเข้ากับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการสร้างเครือข่าย 5G ที่มีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้และยั่งยืนทั่วโลก ทำให้อีริคสันพร้อมมีบทบาทสำคัญเพื่อเร่งเดินหน้าประเทศไทยไปสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล
การจัดตั้ง 5G Innovation and Experience Studio ที่เพิ่งสร้างเสร็จนี้ คือ หมุดหมายสำคัญในแผนงานของอีริคสันเพื่อประเทศไทย โดยเป็นความร่วมมือกับรัฐบาลไทยผ่านทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)
ห้องปฏิบัติการแห่งนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่เป็นพื้นที่สร้างสรรค์นวัตกรรม 5G ร่วมกัน โดยใช้เครือข่ายแซนด์บ็อกซ์ 5G ที่ทันสมัยของอีริคสัน มอบประโยชน์ทั้งในด้านการพัฒนา ทดสอบ ตรวจสอบ และรับรองยูสเคส 5G ใหม่ ๆ ร่วมกับพันธมิตรทั้งในประเทศไทยและจากทั่วโลก
ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมแห่งนี้ยังจัดแสดงยูสเคส 5G ที่ล้ำสมัยไว้ในหลากหลายรูปแบบได้แก่หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (AMR) เครื่องจักรการผลิตอัตโนมัติที่พัฒนาร่วมกับ Mitsubishi และกล้อง CCTV 360 องศา แบบสวมใส่ได้ ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้เผยให้เห็นถึงศักยภาพเทคโนโลยี 5G ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันบนเวทีโลก
มร.แอนเดอร์ส เรียน ประธานบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า "5G เป็นแพลตฟอร์มเพื่อนวัตกรรม ช่วยสร้างสรรค์บริการใหม่ ๆ สำหรับผู้บริโภค องค์กรธุรกิจ และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยที่ต้องการนำดิจิทัลมาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อีริคสันประเทศไทยมุ่งมั่นส่งเสริมความร่วมมือและนวัตกรรมเพื่อให้มั่นใจว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากเครือข่าย 5G ที่แข็งแกร่งและยั่งยืน ด้วยการทำงานร่วมกันกับผู้ให้บริการด้านการสื่อสารและหน่วยงานอื่น ๆ ในระบบนิเวศ เราจะสามารถขับเคลื่อนการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งคนไทย เศรษฐกิจและประเทศชาติ"
อีริคสันประเทศไทยยังเปิดกว้างด้านความร่วมมือในอนาคตกับผู้มีส่วนร่วมสำคัญในระบบนิเวศ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน รวมถึงพันธมิตร ผู้ใช้ปลายทาง สถาบันการศึกษา และหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อพัฒนายูสเคส 5G ใหม่ ๆ สำหรับอุตสาหกรรม
จากรายงาน Ericsson Mobility ฉบับล่าสุด คาดการณ์ภายในปี 2572 จะมีจำนวนผู้ใช้ 5G ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย ประมาณ 560 ล้านราย และเมื่อสิ้นปี 2566 มียอดผู้ใช้ 5G ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ 61 ล้านราย ซึ่งผู้ใช้บริการ 5G ในภูมิภาคยังคงเติบโตต่อเนื่อง เป็นผลมาจากที่ผู้ใช้ย้ายมาใช้เครือข่าย 5G โดยได้รับแรงหนุนจากอุปกรณ์ 5G ที่ราคาย่อมเยาลง รวมถึงโปรโมชั่นการขายที่ดึงดูดใจ ส่วนลดและแพ็กเกจที่รวมการใช้ปริมาณดาต้าขนาดใหญ่จากผู้ให้บริการ คาดว่าในปี 2572 ผู้สมัครใช้บริการมือถือ 5G จะมีสัดส่วน 43% ของยอดผู้สมัครใช้บริการมือถือทั้งหมดในภูมิภาค และคาดว่ายอดการใช้ดาต้าต่อสมาร์ทโฟนของผู้ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเพิ่มขึ้นจาก 17 กิกะไบต์ต่อเดือน ในปี 2566 เป็น 42 กิกะไบต์ต่อเดือน ในปี 2572
ก่อนสิ้นปี 2572 คาดว่า 5G จะกลายเป็นเครือข่ายมือถือที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากยอดการสมัครใช้ แม้ว่าการครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ 5G จะเติบโตขึ้น แต่ย่านความถี่ 5G Mid-Band กลับถูกนำไปใช้งานเพียง 25% ของไซต์ทั้งหมดทั่วโลกนอกจีนแผ่นดินใหญ่ โดย 5G Mid-Band มอบความลงตัวระหว่างการครอบคลุมพื้นที่และความจุ ขณะเดียวกันก็ปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้
รายงาน Ericsson Mobility เดือนมิถุนายน ปี 2567 เผยให้เห็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องและแข็งแกร่งของการสมัครใช้บริการ 5G โดยมีผู้ให้บริการด้านการสื่อสารประมาณ 300 รายทั่วโลก เปิดให้บริการ 5G และมี 50 ราย เปิดให้บริการ 5G Standalone (หรือ 5G SA) ซึ่ง 5G ยังคงเติบโตต่อเนื่องในทุกภูมิภาค และคาดว่าในปี 2572 จะมีผู้ใช้ 5G คิดเป็นสัดส่วน 60% ของยอดผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือทั้งหมด อีริคสันคือผู้นำ 5G ระดับโลก ปัจจุบันเปิดบริการเครือข่าย 5G ไปแล้วถึง 166 เครือข่าย ใน 69 ประเทศทั่วโลก
รายงานล่าสุดจาก Frost & Sullivan ยังตอกย้ำความเป็นผู้นำของอีริคสันในตลาดโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G ซึ่งครอบคลุมถึง Radio Access Networks (RAN), Transport Networks และ Core Networks โดยอีริคสันได้รับการจัดอันดับเป็นผู้นำอันดับ 1 ในรายงานการวิเคราะห์ตลาดโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G ของ Frost Radar(TM) ประจำปี 2567 เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน ซึ่งเน้นย้ำถึงผลจากกลยุทธ์ของบริษัทในการตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ให้บริการการสื่อสาร (CSPs)
ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า ชี้มาตรการภาษีทรัมป์เป็นการโยนหินถามทางเพื่อสังเกตท่าทีของคู่ค้าสหรัฐฯ แต่ยอมรับว่าอาจส่งผลกระทบต่อ GDP ไทย คาดมาตรการดังกล่าวจะยังไม่ส่งผลทันที แนะไทยเร่งหาตลาดใหม่ทดแทน และสร้างช่องทางการส่งออกให้กับผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย เพื่อสร้างรายได้จากการส่งออกและโอกาสทางธุรกิจ อีกทั้งเป็นการกระจายเม็ดเงินสู่ระดับฐานราก ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า การที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
ไทยผงาดบนเวทีเกมโลก gamescom 2025 พร้อมรุดหน้าจัด "gamescom asia x Thailand Game Show" เปิดฉากมหกรรมเกมสุดยิ่งใหญ่ในกรุงเทพฯ
—
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล...
กลุ่มผู้บริหารจาก ดีป้า เข้าเยี่ยม เทเลนอร์ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลเชิงลึกด้าน Digital Transformation ของกลุ่มนอร์ดิก
—
คณะผู้แทนจากโครงการ Digita...
"depa ESPORTS" เดินหน้าปั้นกำลังคนสายอีสปอร์ต เตรียมเปิดฉาก depa ESPORTS REGIONAL TOURNAMENT ประเดิมสนามแรกที่อุบลราชธานี 21 มี.ค.นี้
—
สำนักงานส่งเสริมเศ...
ไทยพาณิชย์ผนึกพันธมิตรแนะผู้ประกอบการสู้เมกะเทรนด์โลก เร่งโตด้วย "นวัตกรรมดิจิทัล" และ "ความยั่งยืน"
—
เมกะเทรนด์โลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเ...
กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมมือ DEPA เดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลด้วยทรัพย์สินทางปัญญา
—
นางสาวนุสรา กาญจนกูล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้...
ดีป้า จับมือ กรมการข้าว และเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชน ยก 'เกม' มาใช้เป็นสื่อกลางเพื่อสื่อสารองค์ความรู้ด้าน 'ข้าว'
—
ดีป้า ผสานความร่วมมือกับ กรมการข้าว บร...
ดีป้า เตรียมจัดงาน "Thailand Digital IP Forum 2025" เสริมแกร่งทรัพย์สินทางปัญญาด้านดิจิทัล รับยุค AI ปลุกไอเดียสู่เวทีโลก
—
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทั...
DigitalCEO8 เรียนรู้ผ่านองค์กรชั้นนำระดับโลก PwC Thailand
—
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) โดย ดร.จักกนิตต์ คณานุรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการพ...