กรมทรัพย์สินทางปัญญา หนุนผู้ประกอบการปรับโฉมบรรจุภัณฑ์ ยกระดับสินค้า GI ให้ตอบโจทย์ตลาดโลก

กรมทรัพย์สินทางปัญญา เดินหน้าโครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไทย ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 โดยคัดเลือกผู้ประกอบการ GI จำนวน 10 สินค้า จับมือกับนักออกแบบมือรางวัลระดับประเทศร่วมกันพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้กับสินค้า GI เพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับสินค้า บอกเล่าเรื่องราวของสินค้า GI ผ่านบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยตอบโจทย์ตลาดโลก และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า GI

กรมทรัพย์สินทางปัญญา หนุนผู้ประกอบการปรับโฉมบรรจุภัณฑ์ ยกระดับสินค้า GI ให้ตอบโจทย์ตลาดโลก

นางสาวกนิษฐา กังสวนิช รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า "สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เป็นหนึ่งในความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้กับสินค้าชุมชนที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียง ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อันเกิดจากสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และภูมิปัญญาของท้องถิ่น นอกจากนี้ GI ยังเป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าท้องถิ่น โดยสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศกว่า 73,000 ล้านบาท/ปี กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงมุ่งมั่นส่งเสริมสินค้า GI เชิงรุกในทุกมิติ ทั้งด้านการขึ้นทะเบียน GI การควบคุมคุณภาพสินค้า การส่งเสริมการตลาดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า GI เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้กับพี่น้องเกษตรกร ผู้ผลิตและผู้ประกอบการ GI และขับเคลื่อนภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน" กรมทรัพย์สินทางปัญญา หนุนผู้ประกอบการปรับโฉมบรรจุภัณฑ์ ยกระดับสินค้า GI ให้ตอบโจทย์ตลาดโลก

"โครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นกิจกรรมที่กรมฯ ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการตลาดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า GI ซึ่งบรรจุภัณฑ์  เปรียบเสมือนใบหน้าของผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคเป็นอันดับแรก ทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องและรักษาคุณภาพสินค้า นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า สร้างภาพลักษณ์และความแตกต่างจากรูปลักษณ์ภายนอก และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคภายในและต่างประเทศ โดยในปีนี้ กรมฯ ได้คัดเลือกผู้ประกอบการ GI จำนวน 10 สินค้า ได้แก่ ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง  (จังหวัดนครศรีธรรมราช) ทุเรียนปราจีน (จังหวัดปราจีนบุรี) ส้มแม่สิน (จังหวัดสุโขทัย) ทุเรียนปากช่องเขาใหญ่ (จังหวัดนครราชสีมา) ทุเรียนป่าละอู (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) กาแฟเทพเสด็จ (จังหวัดเชียงใหม่) ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ (จังหวัดยโสธร) ร่มบ่อสร้าง (จังหวัดเชียงใหม่) ปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา และผ้าหม้อห้อมแพร่ จับมือกับนักออกแบบมือรางวัลระดับประเทศ เช่น ผศ.ดร.วิสิทธิ์ โพธิวัฒน์ นักออกแบบฟอนต์และกราฟิกรางวัล DEmark 3 ปีซ้อน นายณัฐพล พิชัยรัตน์ นักออกแบบที่ร่วมกับแบรนด์ระดับสากลอย่าง KingPower Amazon และนางสาวภาวิษา มีศรีนนท์ เจ้าของPABAJA Studio ดีไซเนอร์ที่อยู่เบื้องหลังการออกแบบให้แก่สินค้าแบรนด์ดังในระดับสากล อาทิ Johnie Walker Microsoft และเป็น เป็นต้น ร่วมกันออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับสินค้า GI พร้อมดำเนินการผลิตบรรจุภัณฑ์ให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับสินค้า GI ตอบโจทย์ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและสร้างความแตกต่างให้กับสินค้า" นางสาวกนิษฐา กล่าว

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ทำงานเชิงรุกเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการ GI สร้างความพร้อมในการเปิดตลาดโมเดิร์นเทรดและโอกาสในการส่งออกต่างประเทศ เพื่อนำรายได้กลับสู่ชุมชนท้องถิ่น และขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างยั่งยืน


ข่าวกรมทรัพย์สินทางปัญญา+ทรัพย์สินทางปัญญาวันนี้

กรมทรัพย์สินทางปัญญาหารือร่วมกับเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ผลักดันการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ

กรมทรัพย์สินทางปัญญาจัดการประชุมหารือร่วมกับภาคเอกชนเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้า สร้างบรรยากาศการลงทุนภายในประเทศ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2568 ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา และผ่านระบบออนไลน์ นางสาวนุสรา กาญจนกูล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า "กรมทรัพย์สินทางปัญญาให้ความสำคัญกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและการป้องปราม การละ

กรมทรัพย์สินทางปัญญา จับมือ ช่อง 3 นำสินค... กรมทรัพย์สินทางปัญญา จับมือ ช่อง 3 นำสินค้า GI เข้าร่วมในงาน 'แจ๋ว แซ่บ เฟ่อร์' — กรมทรัพย์สินทางปัญญา จับมือ ช่อง 3 นำสินค้า GI มะม่วงน้ำดอกไม้คุ้งบางกระ...