สธค.สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ เพื่อเป็นการ
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ หรือ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 และเป็นการสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชปณิธาน การพัฒนางานด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร ป่าไม้ สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนรวมพลังร่วมใจปลูกต้นไม้ และปลูกป่า ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียว ฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้มีความอุดมสมบูรณ์ช่วยป้องกันและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดฝุ่นและหมอกควันอีกทั้งลดภาวะ โลกร้อน อีกทั้ง สธค.ตระหนักถึงสภาพปัจจุบันทรัพยากรป่าไม้ถูกใช้ประโยชน์มาอย่างยาวนานและรุนแรง ทำให้เกิดภาวะเสื่อมโทรม ทั้งจากการบุกรุกแผ่วถางเพื่อทำเกษตร การเผาป่าเพื่อเก็บหาของป่าและล่าสัตว์ป่า ใช้ที่ดินไม่เหมาะสมตามสมรรถนะของที่ดินป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและแหล่งทรัพยากรต่าง ๆ เมื่อเสื่อมสภาพทำให้เกิดภาวะฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดน้ำแล้งในฤดูร้อน น้ำหลาก น้ำท่วมในฤดูฝน สภาพวะอุณหภูมิโลกสูงขึ้น "จำเป็นต้องมีการปลูกทดแทน ฟื้นฟูให้สภาพป่าไม้กลับสู่สภาพสมบูรณ์" เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำ ลำธารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าทั้งชาวบ้านรอบพื้นที่ป่าใช้ประโยชน์เป็นแหล่งอาหารและยาสมุนไพร สามารถเพิ่มช่องทางการหารายได้ให้แก่ชุมชน อีกทางวันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2567 -
สำนักงานธนานุเคราะห์ หรือ สธค. จัดกิจกรรม
จิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ "
ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567" และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสำนักงานธนานุเคราะห์ กับ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ณ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธาน กิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ "ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567" ของสำนักงาน ธนานุเคราะห์ (โรงรับจำนำของรัฐ) โดยมีคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่สังกัดส่วนราชการระดับกรม รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน กระทรวง พม. คณะผู้บริหาร ข้าราชการ ในจังหวัดสุพรรณบุรี ภาคีเครือข่าย และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโลกยิ้ม เข้าร่วมกิจกรรม รวมจำนวน 172 คน ปลูกต้นไม้ รวมจำนวน 172 ต้น พร้อมการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสำนักงานธนานุเคราะห์ กับ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการสร้างความสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และนโยบายเศรษฐกิจ BCG มาเป็นแนวทาง พัฒนาความรู้ สร้างเศรษฐกิจเข้มแข็งของชุมชน และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของประเทศไทย และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 สามารถตอบสนองต่อการขับเคลื่อนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGsนายประสงค์ พันลิมา ผู้อำนวยการสำนักงานธนานุเคราะห์ กล่าวว่า ได้กำหนดโครงการ "เพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจ (Eco-Efficiency)" ถวายเป็นพระราชกุศล และเป็นการป้องกันรักษาทรัพยากรป่าไม้ที่เหลือให้คงอยู่ และการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ที่เสื่อมโทรมให้ฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์สร้างความชุ่มชื้น รวมทั้งยังปลูกจิตสำนึกสร้างความตระหนัก ให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม ในการดูแลรักษาป่าและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ เพิ่มออกซิเจนในอากาศ และลดสภาวะโลกร้อนและยังเป็นการสนับสนุนช่องทางแหล่งทำรายได้ให้แก่ประชาชน และการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกันดังกล่าว มีเป้าหมายสำคัญเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมดำเนินธุรกิจที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการพัฒนาชุมชนเชิงนิเวศ ส่งเสริมการทำอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และพัฒนาองค์ความรู้เชิงอนุรักษ์ในพื้นที่สีเขียวนอกเขตอนุรักษ์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนผ่านคุณค่าจากบริการระบบนิเวศ (Ecosystem Services) และนโยบายเศรษฐกิจ BCG ในการสร้างเศรษฐกิจเข้มแข็งของชุมชนอย่างต่อเนื่องทุก ๆ ปี นำสู่การเกิดความยั่งยืนในสังคมไทย ซึ่งนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ หรือ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 และเป็นการสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชปณิธาน การพัฒนางานด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร ป่าไม้ อีกทั้งเป็นการสร้างบุคลากรหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. ให้เป็นจิตอาสาพระราชทาน รวมถึงความห่วงใยต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและมวลมนุษยชาติอย่างรุนแรง ที่มีความเสี่ยงจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่แต่เดิมรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้น้อย เนื่องจากร้อยละ 75 ของคนยากจนในพื้นที่ชนบทต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิต ในสภาพปัจจุบันทรัพยากรป่าไม้ถูกใช้ประโยชน์มาอย่างยาวนานและรุนแรง ทำให้เกิดภาวะเสื่อมโทรม
ทั้งจากการบุกรุกแผ่วถางเพื่อทำเกษตร การเผาป่าเพื่อเก็บหาของป่าและล่าสัตว์ป่า ใช้ที่ดินไม่เหมาะสมตามสมรรถนะของที่ดินป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและแหล่งทรัพยากรต่าง ๆ เมื่อเสื่อมสภาพทำให้เกิดภาวะฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดน้ำแล้งในฤดูร้อน น้ำหลาก น้ำท่วมในฤดูฝน สภาพวะอุณหภูมิโลกสูงขึ้น "จำเป็นต้องมีการปลูกทดแทน ฟื้นฟูให้สภาพป่าไม้กลับสู่สภาพสมบูรณ์ "เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและที่อยู่ อาศัยของสัตว์ป่าทั้งชาวบ้านรอบพื้นที่ป่าใช้ประโยชน์เป็นแหล่งอาหารและยาสมุนไพร สามารถเพิ่มช่องทางการหารายได้ให้แก่ชุมชน จึงได้มีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. ขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาด้าน Climate Change ให้ พม. พร้อมรับ ปรับตัว ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักงาน
ธนานุเคราะห์ ได้บูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)กำหนดแผนรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้การขับเคลื่อนการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาองค์ความรู้ สร้างเศรษฐกิจเข้มแข็งของชุมชน และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนทั้งภายในองค์กรและเครือข่ายชุมชนทั้งนี้ สธค. มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ภารกิจการดำเนินงานการจัดกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และเป็นการป้องกันรักษาทรัพยากรป่าไม้ที่เหลือให้คงอยู่ และการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ที่เสื่อมโทรมให้ฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์สร้างความชุ่มชื้น รวมทั้งยังปลูกจิตสำนึกสร้างความตระหนักให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม ในการดูแลรักษาป่าและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ เพิ่มออกซิเจนในอากาศ และลดสภาวะโลกร้อน รวมถึงการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาองค์ความรู้ สร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชุมชน และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ระหว่าง สำนักงานธนานุเคราะห์ กับ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ซึ่งการบูรณาการความร่วมมือครั้งนี้ จะสามารถสร้างความสมดุลระหว่าง สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน ต่อไป
HTML::image(