"ศุภมาส" มอบ วว. ขับเคลื่อนโมเดลโครงการแก้จน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม สร้างธุรกิจใหม่ Up Skill รายได้เพิ่มขึ้น

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัย หน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่ ดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาและออกแบบโมเดลโครงการแก้จน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ "ปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส" ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ภายใต้ "โครงการการประเมินและพัฒนาศักยภาพผลผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่นำร่องจังหวัดยากจน" ตามนโยบายรัฐบาลและนโยบาย นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. "วิจัย-นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ" ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

"ศุภมาส" มอบ วว. ขับเคลื่อนโมเดลโครงการแก้จน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม สร้างธุรกิจใหม่ Up Skill รายได้เพิ่มขึ้น

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อต่อยอดการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัย เครือข่ายในพื้นที่ ด้านการถ่ายทอดความรู้สู่ trainer นักวิจัยของมหาวิทยาลัยในพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate technology) กับบริบทในพื้นที่ รวมทั้งยกระดับมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ สถานที่ผลิต เพื่อให้เข้าสู่มาตรฐานระดับสากล พร้อมเข้าสู่ตลาดอย่างยั่งยืน "ศุภมาส" มอบ วว. ขับเคลื่อนโมเดลโครงการแก้จน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม สร้างธุรกิจใหม่ Up Skill รายได้เพิ่มขึ้น

เป้าหมายการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับกลุ่มคนจนเป้าหมาย ให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยี และขยายไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า การดำเนินโครงการของ วว. และพันธมิตรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 2 แนวทางหลักในการนำองค์ความรู้ วทน. เข้าไปขับเคลื่อน คือ 1) Ready technology เทคโนโลยีพร้อมใช้ ที่ได้ผ่านการวิจัย พัฒนา ทดสอบและใช้งานเห็นผลสำเร็จจริง มีระดับเทคโนโลยีที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และ 2) Appropriate technology เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสม แก้ปัญหา - ตอบโจทย์ สามารถนำไปปรับใช้ และถ่ายทอดองค์ความรู้/เทคโนโลยีกับพื้นที่หรือครัวเรือนยากจน เพื่อการพัฒนาอาชีพ โดยประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานเป็นรูปแบบ โมเดลแก้จน คือ "สร้างธุรกิจใหม่ - Up Skill - รายได้เพิ่มขึ้น" ดังนี้

จังหวัดปัตตานี วว. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ดำเนินการในพื้นที่ อ. ยะหริ่ง ได้แก่ 1) การเลี้ยงแพะแบบครบวงจร โดยพัฒนา "ระบบหนุนเสริมงาน" ให้ครัวเรือนมีพื้นที่เลี้ยงแพะและมีอาหารเลี้ยงแพะที่มีคุณภาพ ด้วยการจัดหาพ่อพันธุ์แพะเนื้อ สายพันธุ์แองโกลนูเบียนและสายพันธุ์บอร์ พัฒนาแปลงปลูกพืชอาหารสัตว์ ณ ฟาร์มตัวอย่างบ้านปิยามุมัง ขนาดพื้นที่ 4 ไร่ และแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ต.แหลมโพธิ์ จำนวน 20 ไร่ ในการปลูกหญ้ากินนี มันสำปะหลัง สำหรับเป็นอาหารสัตว์ พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและใช้อาหารหมักคุณภาพสูงสำหรับแพะเนื้อ พัฒนาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบเม็ดจากมูลแพะเคลือบด้วยจุลินทรีย์ประจำถิ่นจากแหล่งดินสมบูรณ์ พัฒนาคอกเลี้ยงแพะที่ถูกสุขลักษณะ ทำให้เกษตรกรมีองค์ความรู้ มีทักษะและเทคโนโลยีในการประกอบอาชีพกว่า 20 ครัวเรือน มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายลูกแพะ แพะเนื้อ ต้นพันธุ์อาหารสัตว์ หญ้าสด อาหารหมักและปุ๋ยอินทรีย์แบบเม็ดจากมูลแพะ

2) พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงสมุนไพรแกงกูตุ๊ ดำเนินการเพิ่มมูลค่าพัฒนาอาหารทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งเป็นอาหารหลักของพื้นที่และชาวมุสลิม เน้นการใช้ภูมิปัญญาสมุนไพรและเครื่องเทศที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ ในกระบวนการสร้างรายได้และสร้างธุรกิจใหม่จากการแปรรูปผักสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องแกงเพื่อสุขภาพ โดยการวิเคราะห์คุณภาพและปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ การแปรรูประดับกึ่งอุตสาหกรรม การออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และมาตรฐานความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารตามมาตรฐาน อย. สร้างทักษะนักธุรกิจระดับท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพชุมชนได้กว่า 15 ครัวเรือน ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต็อยญิตาลีอายร์ ต. ตาลีอายร์ โดยผลิตภัณฑ์เครื่องแกงที่พัฒนาสำเร็จ ถูกหลักโภชนาการ มีรสชาติเผ็ดร้อน ถูกต้องตามหลักศาสนา สามารถพกพาสะดวก เหมาะกับการเดินทางไกล เช่น เดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนา พิธีฮัจญ์ เป็นต้น อีกทั้งสามารถนำไปปรุงผสมกับเนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะเนื้อวัวหรือเนื้อแพะ ทำให้อาหารไม่มีกลิ่นสาบ

จังหวัดยะลา ดำเนินงาน 4 กิจกรรม ดังนี้ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำนวน 2 กิจกรรม ได้แก่ 1) การพัฒนาปัจจัยการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีเพื่อการปลูกข้าวโพดหวาน ณ ต.ตาเนาะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา โดยใช้เทคโนโลยีด้านปัจจัยการผลิต (เกษตรต้นน้ำ) เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหวานสำหรับข้าวโพด เพื่อพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบในพื้นที่ เริ่มจากการปรับปรุงดิน และพัฒนาสูตรปุ๋ยหวานเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพและเพิ่มปริมาณผลผลิต โดยกลุ่มเกษตรกรได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะ และนำไปใช้จริงในพื้นที่ พร้อมนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการปลูกพืชผักสวนครัวอื่นๆ เช่น แตงกวา ถั่วฟักยาว พริกขี้หนูสวน มะเขือ ตะไคร้หยวกขาว ขมิ้นเกษตร สำหรับประกอบอาหารเพื่อยังชีพในครอบครัวและจำหน่ายในชุมชน

2) การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวโพดเสริมคุณค่าทางโภชนาการสำหรับนักเรียน และการปรับปรุงโรงเรือนการผลิตน้ำนมข้าวโพดพาสเจอไรซ์ ในพื้นที่ อบต.ตาเนาะปูเต๊ะ กว่า 20 ครัวเรือน พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ต่อยอดจากน้ำนมข้าวโพดของมหาวิทยาลัยพื้นที่เพื่อเสริมคุณค่าทางโภชนาการสำหรับนักเรียน โดยการวิเคราะห์ฉลากโภชนาการของผลิตภัณฑ์ พัฒนาสูตรน้ำนมข้าวโพดเสริมวิตามินและแคลเซียม สำหรับต่อยอดสู่นมโรงเรียน พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ สนับสนุนอุปกรณ์แยกกากข้าวโพด วัตถุเจือปนอาหาร คือ วิตามินและแร่ธาตุให้มหาวิทยาลัยพื้นที่นำไปพัฒนาต่อยอด ปรับปรุงโรงเรือนการผลิตน้ำนมข้าวโพดพาสเจอไรซ์ตามมาตรฐาน สำหรับใช้เป็นครัวกลางในแปรรูปน้ำนมข้าวโพด รวมทั้งออกแบบสายการผลิต ปรับปรุงสถานที่ให้เป็นไปตามมาตรฐาน และการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

3) ส่งเสริมการปลูกผักน้ำเบตง วว. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตำรวจตระเวนชายแดน และกรมส่งเสริมการเกษตร ส่งเสริมพัฒนาการปลูกเลี้ยงผักน้ำในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา โดยเพาะเลี้ยงได้แม่พันธุ์ปลอดโรคก่อนนำกลับไปสู่แปลงปลูกของเกษตรกร ส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์โดยคัดแยกจากเชื้อในพื้นที่ เพื่อให้ทนต่อสภาพแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาสารละลายธาตุอาหารทางใบ ที่เหมาะกับการเพาะเลี้ยงผักในธารน้ำไหล และวิเคราะห์สารสำคัญ คุณค่าทางโภชนาการของผักน้ำ และวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อให้ผักน้ำมีอายุการเก็บรักษาที่นานขึ้น เกษตรกรได้นำความรู้ทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์ไปปรับใช้ในกระบวนการผลิตผักเชิงพาณิชย์ ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถผลิตผักน้ำที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น

4) พัฒนาสายพันธุ์เบญจมาศ ในพื้นที่ จ. ยะลา โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) และสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา ทำการรวบรวมสายพันธุ์เบญจมาศมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและขยายพันธุ์ต้นกล้าพันธุ์ปลอดโรคให้แก่เกษตรกร ส่งเสริมการผลิตให้เป็นที่ต้องการของตลาด โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพการใช้รังสีแกมมาพัฒนาให้ได้สายพันธุ์ใหม่ ที่มีลักษณะดอกซ้อนออกเป็นช่อ มีสีสันสวยงาม พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตและปรับปรุงพันธุ์แก่เกษตรกรผู้ผลิตเบญจมาศ รวมทั้งกระบวนการผลิตต้นพันธุ์ปลอดโรค การใช้สารชีวภัณฑ์ในการะบวนการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิต ควบคุมโรคในดินและทางอากาศ การใช้เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมี ช่วยประหยัดต้นทุนในการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรจากการปลูกตัดดอกขายได้ราคากิโลกรัมละ 170 บาท สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์

จังหวัดนราธิวาส วว. และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ร่วมดำเนินงาน 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) การปรับปรุงกระบวนการผลิตปลาส้มอย่างมีมาตรฐาน ในพื้นที่ ต.กาวะ กับกลุ่มผู้ผลิตปลาส้มกว่า 60 ครัวเรือน ประกอบด้วย การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโดยเชื้อจุลินทรีย์ (ดี) ที่ช่วยลดระยะเวลาการหมักได้ 20 วัน จากเดิมใช้เวลา 30 วัน โดยผลิตภัณฑ์ยังมีรสชาติคงเดิม รวมทั้งวิเคราะห์ทดสอบคุณค่าทางโภชนาการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต และทดสอบความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ ทำให้กลุ่มฯ สามารถเพิ่มผลผลิตในการป้อนสินค้าเข้าสู่ตลาดและวางแผนการผลิตได้ 2) การพัฒนาโรงเรือนเพื่อให้ได้มาตรฐานการผลิตอาหาร โดยการปรับปรุงอาคารสถานที่ผลิตปลาส้มตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระบุ และถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการจัดทำระบบมาตรฐานโรงเรือนการผลิต (GMP) การแปรรูปอาหาร และการยืดอายุการเก็บผลิตภัณฑ์อาหาร และ 3) การพัฒนากระบวนการทดสอบฤทธิ์ที่ดีต่อสุขภาพของน้ำผึ้งชันโรง วว. มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำ Standard Operating Procedure (SOP) สำหรับใช้เป็นแนวทางและคู่มือสำหรับอาจารย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือชาวบ้าน ในการสร้างอาชีพจากการเลี้ยงผึ้งชันโรงและศึกษาคุณสมบัติน้ำผึ้งชันโรงในพื้นที่ อ.สุไหงปาดี สำหรับเป็นข้อมูลในการยกระดับผลิตภัณฑ์และเป็นจุดขายในการสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ พร้อมพัฒนาน้ำผึ้งชันโรงเกรดพรีเมี่ยมที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าน้ำผึ้งทั่วไปและเป็นอัตลักษณ์ในพื้นที่ ทำให้เกิดประโยชน์ในการสร้างมูลค่าและความได้เปรียบในพื้นที่

ความสำเร็จของ วว. และพันธมิตรในการดำเนินโครงการดังกล่าว เป็นความภาคภูมิใจที่เป็นรูปธรรมอีกวาระหนึ่งในการนำองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม เข้าไปส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ยั่งยืน ก่อเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ หล่อเลี้ยงพี่น้องประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นและมีความยั่งยืนตลอดไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและรับบริการจาก วว. ได้ที่ โทร. 0 2577 9000 โทรสาร 0 2577 9009 เว็บไซต์ www.tistr.or.th อีเมล [email protected] หรือที่ "วว. JUMP" https://tistrservices.tistr.or.th/

 

 


ข่าวo:member+o:finวันนี้

อลิอันซ์ เปิดบทวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกหลังนโยบายทรัมป์ ชี้ทุกประเทศยังคงเผชิญแรงสั่นสะเทือน คาดไทยได้รับผลกระทบปานกลาง

กลุ่มอลิอันซ์ เปิดเผยบทวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกหลังนโยบายทรัมป์ ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เข้มข้นขึ้น หลังจากสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในวาระที่สอง ประกาศใช้มาตรการภาษีแบบตอบโต้ (reciprocal tariffs) โดยตั้งเป้าเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนสูงสุดถึง 130% ซึ่งถือเป็นระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1890 ความเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งผลให้ต้นทุนการค้าระหว่างประเทศพุ่งสูงขึ้นทันที โดยเฉพาะในภาคยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิต และอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ สหรัฐฯ

ในยุคที่ตลาดแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรว... finbiz by ttb แนะ 5 เทรนด์การจ้างงานยุคใหม่ที่ตรงใจทั้งองค์กรและพนักงาน — ในยุคที่ตลาดแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และความต้องการพนักงานที่มีพรสวรรค...

ที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท สหการประมูล จำก... ผู้ถือหุ้นไฟเขียว AUCT จ่ายเงินปันผลปี 2567 รวม 368 ล้านบาท — ที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท สหการประมูล จำกัด (มหาชน) หรือ AUCT เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2568 ที่ผ...

KGI ปล่อย DR 3 หลักทรัพย์ใหม่ อ้างอิงหุ้น... KGI เตรียมออก 3 DR ใหม่ โอกาสลงทุนหุ้นเทคจีนยักษ์ใหญ่ เทรด 17 เม.ย.นี้ — KGI ปล่อย DR 3 หลักทรัพย์ใหม่ อ้างอิงหุ้นเทคฯ ยักษ์ใหญ่จากจีน ซึ่งมีศักยภาพการเติ...

ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า ชี้มาตรการภาษีทรัมป... ผอ.ใหญ่ ดีป้า แนะไทยเดินหน้าหาตลาดใหม่ เตรียมการรับมือมาตรการภาษีทรัมป์ — ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า ชี้มาตรการภาษีทรัมป์เป็นการโยนหินถามทางเพื่อสังเกตท่าทีของ...