กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (ศนอ.) ประสบผลสำเร็จในการวิจัยและพัฒนา "เครื่องทับกล้วยแผ่นบาง" สำหรับผู้ประกอบการ SMEs โดยพัฒนาต่อยอดจาก "เครื่องทับกล้วยแบบกึ่งอัตโนมัติ รุ่นที่ 1"
หลักการทำงาน เครื่องทับกล้วยแผ่นบาง เป็นนวัตกรรมที่สามารถทดแทนการใช้แรงงานคนในขั้นตอนการกดทับกล้วย ช่วยลดความเมื่อยล้า ช่วยเพิ่มอัตราการผลิต นอกจากนี้ยังได้ชิ้นกล้วยที่มีขนาดความบางสม่ำเสมอเท่ากันทุกแผ่น และสามารถปรับตั้งความหนา-บาง ของชิ้นกล้วยได้บางสุดถึง 1 มิลลิเมตร โดย วว. พัฒนา "เครื่องทับกล้วยแผ่นบาง" สำหรับให้เลือกใช้งานจำนวน 2 รุ่น ดังนี้
รุ่นเล็กแบบตั้งโต๊ะ
1) สำหรับทับกล้วย ครั้งละ 1-2 แผ่น อัตราการทำงาน 30-50 แผ่น/ชั่วโมง
2) ระบบแผ่นกดทับกล้วย แบบหมุนทับชิ้นงาน ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์แบบแกนชักเดี่ยว
3) ใช้พลังงานไฟฟ้า 50 W 220 V แรงกดสูงสุด 200 กิโลกรัม
4) ติดตั้งระบบ Safety Switch แบบปุ่มกดคู่ ป้องกันมือกดโดยไม่ตั้งใจ
รุ่นกลางแบบมีขาตั้ง
1) สำหรับทับกล้วย ครั้งละ 2-4 แผ่น อัตราการทำงาน 100-200 แผ่น/ชั่วโมง
2) ระบบแผ่นกดทับกล้วย แบบเคลื่อนที่ขึ้นทับชิ้นงาน ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์แบบแกนชักคู่
3) ใช้พลังงานไฟฟ้า 120 W 220 V แรงกดสูงสุด 500 กิโลกรัม
4) ติดตั้งระบบ Safety Switch แบบปุ่มกดคู่ ป้องกันมือกดโดยไม่ตั้งใจ
วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ มุ่งเน้นวิจัยและพัฒนา บริการ วิเคราะห์ ทดสอบ และให้คำปรึกษาด้านอาหารและเครื่องดื่มฟังก์ชั่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และสารสำคัญจากธรรมชาติในอาหาร โดยมีทีมนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา มีเครือข่ายความร่วมมือจากภายในประเทศและต่างประเทศ มุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานด้านผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ เสริมสร้างให้ผู้ประกอบการไทยนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และต่อยอดในเชิงพาณิชย์ สามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดโลก
วว. พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต "เครื่องทับกล้วยแผ่นบาง" สู่เชิงพาณิชย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call center โทร. 0 2577 9000 หรือที่ 0 2577 9133 (วีรยุทธ พรหมจันทร์)
กลุ่มอลิอันซ์ เปิดเผยบทวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกหลังนโยบายทรัมป์ ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เข้มข้นขึ้น หลังจากสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในวาระที่สอง ประกาศใช้มาตรการภาษีแบบตอบโต้ (reciprocal tariffs) โดยตั้งเป้าเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนสูงสุดถึง 130% ซึ่งถือเป็นระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1890 ความเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งผลให้ต้นทุนการค้าระหว่างประเทศพุ่งสูงขึ้นทันที โดยเฉพาะในภาคยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิต และอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ สหรัฐฯ
JMART เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ชุดใหม่ 5.50% ต่อปี ยันแผ่นดินไหวและสงครามการค้าไม่กระทบ ย้ำความมั่นใจเติบโตต่อเนื่อง
—
JMART เสนอขายหุ้นกู้ 2 ปี 6 เดือน เคาะดอก...
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
—
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณกา...
Standard Chartered Bank lowers Thailand's 2025 growth forecast, anticipates policy rate cut in April meeting
—
Standard Chartered Bank has lowered Thailan...
finbiz by ttb แนะ 5 เทรนด์การจ้างงานยุคใหม่ที่ตรงใจทั้งองค์กรและพนักงาน
—
ในยุคที่ตลาดแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และความต้องการพนักงานที่มีพรสวรรค...
ผู้ถือหุ้นไฟเขียว AUCT จ่ายเงินปันผลปี 2567 รวม 368 ล้านบาท
—
ที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท สหการประมูล จำกัด (มหาชน) หรือ AUCT เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2568 ที่ผ...
SCAP สุดปลื้ม! ฟิทช์จัดอันดับเครดิต 'A-(tha)' สะท้อนฐานะการเงินมั่นคง เพิ่มศักยภาพเข้าถึงแหล่งเงินต้นทุนต่ำ ช่วยเสริมแกร่งกลุ่ม SAWAD
—
บริษัท ศรีสวัสดิ์ ...
KGI เตรียมออก 3 DR ใหม่ โอกาสลงทุนหุ้นเทคจีนยักษ์ใหญ่ เทรด 17 เม.ย.นี้
—
KGI ปล่อย DR 3 หลักทรัพย์ใหม่ อ้างอิงหุ้นเทคฯ ยักษ์ใหญ่จากจีน ซึ่งมีศักยภาพการเติ...
ผอ.ใหญ่ ดีป้า แนะไทยเดินหน้าหาตลาดใหม่ เตรียมการรับมือมาตรการภาษีทรัมป์
—
ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า ชี้มาตรการภาษีทรัมป์เป็นการโยนหินถามทางเพื่อสังเกตท่าทีของ...