ETDA จัดใหญ่ "DGT 2024: Digital Momentum for the Future"รมว.ดีอี พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการไทย มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล

30 May 2024

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดงานสุดยิ่งใหญ่ DGT 2024 (Digital Governance Thailand 2024) ชูแนวคิด "Digital Momentum for the Future" ที่ไม่เพียงยกทัพพาร์ทเนอร์ภาครัฐ เอกชน รวมถึง Tech Company ชั้นนำของไทยและต่างประเทศ รวมกว่า 120 องค์กร ยังเป็นโอกาสที่ทาง รมว.ดีอี ได้พูดคุยกับ Service Provider เพื่อร่วมหารือแนวทางการสนับสนุน ด้วยนโยบายรัฐบาลได้มีวิสัยทัศน์ที่ต้องการขับเคลื่อนไทยสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Hub) ซึ่งในงานจะมีทั้งเวทีแลกเปลี่ยนมุมมอง โชว์เคสนวัตกรรม พร้อมกิจกรรม Business Matching งานนี้จัดขึ้นสำหรับ SMEs หน่วยงานภาคธุรกิจ ภาครัฐที่ต้องการ Transform รวมถึงคนรุ่นใหม่ที่สนใจอัปเดต เข้าร่วมฟรีวันนี้ - 30 พฤษภาคม 2567 ที่ พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน

ETDA จัดใหญ่ "DGT 2024: Digital Momentum for the Future"รมว.ดีอี พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการไทย มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า หนึ่งในวิสัยทัศน์ที่สำคัญของรัฐบาล คือ "IGNITE THAILAND จุดพลังรวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง ยกระดับประเทศไทย สู่ศูนย์กลาง เมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก" ที่มุ่งมั่นให้ไทยเป็น "ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล" (Digital Economy Hub) ที่ตั้งเป้าในการดึงอุตสาหกรรมแห่งอนาคตได้มาขยายธุรกิจในประเทศไทย โดยเฉพาะเทคโนโลยี High Tech ต่าง ๆ ทั้งการลงทุนโรงงานผลิต Semiconductor, การตั้งศูนย์ Data Center รองรับ Cloud Computing, การวิจัยและนำ AI มาใช้งานในประเทศไทย รวมถึงการดึงบริษัท Deep Tech ให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทย โดยถือว่าตอนนี้ไทยมีความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน หรือ ASEAN Digital Hub และมี Tech Company ยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศหลายรายหันมาให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนด้านดิจิทัลในประเทศไทยจากการที่รัฐบาลจะมี Matching Fund ให้กับบริษัทที่มีศักยภาพ

ที่ผ่านมา กระทรวงดิจิทัลฯ ได้มีการดำเนินงานมีความเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาล ทั้งการสร้างรากฐานด้านความพร้อมดิจิทัล ผ่านโครงการบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐและพัฒนาระบบคลาวด์กลางด้านสาธารณสุขของประเทศ รวมทั้งผลักดันนโยบายการใช้บริการคลาวด์ภาครัฐ หรือ Cloud Frist Policy เพื่อให้เกิดบริการต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น บริการสำหรับระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) บริการสำหรับระบบงานขั้นสูง (GPU Cloud Computing) บริการสำหรับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII) บริการสำหรับการจัดเก็บข้อมูลสำคัญของหน่วยงาน และร่วมมือกับผู้ให้บริการภาคเอกชนในการฝึกอบรมบุคลากรภาครัฐให้มีความเชี่ยวชาญ พร้อมขับเคลื่อนการบูรณาการข้อมูลภาครัฐและจัดทำข้อมูลแบบเปิด (Open Data) นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยี AI ไปต่อยอด ผ่านนโยบาย "AI Agenda" ทั้งพัฒนาโครงสร้าง AI การเตรียมพร้อมสำหรับจริยธรรม การกำกับดูแล และการคำนึงถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ผ่านการทำงานกับหน่วยงานทั้งในไทยและต่างประเทศ พร้อมกับการผลักดันการใช้ Digital ID เพื่อให้กระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ที่ผนวกกับการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ (e-Service) นอกจากนี้สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการดำเนินงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ ผ่านศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ (1212 ETDA) ตลอด 24 ชม, สายด่วน AOC 1441 ที่มี One Stop Service สามารถระงับ และอายัดบัญชีได้ภายใน 1 ชม. รวมถึงการมีกฎหมายที่ช่วยในการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform Services หรือ DPS) ที่ ETDA ได้เข้ามากำกับดูแล ซึ่งทำให้เกิดการดำเนินงานที่มีความชัดเจน ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

 "ดังนั้น การจัดงาน DGT 2024 ครั้งนี้ ที่ผลักดันโดย ETDA ร่วมกับพาร์ทเนอร์ทั้งรัฐและเอกชน ถือว่าเป็นการร่วมจุดประกายในการขยายความร่วมมือ เพื่อให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประเทศที่ดียิ่งขึ้น และยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ตลอดจนยังส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลได้อย่างยั่งยืนต่อไป"

นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า เราเป็นประเทศที่อยู่ระดับแนวหน้าในโลกดิจิทัลทั้งการใช้ Mobile Banking การใช้ QR Payment ที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงปีสองปีนี้ เมื่อมองในภาพรวมแล้ว ยังมีการคาดการณ์ว่าในปี 2568 เศรษฐกิจดิจิทัลไทยจะมีมูลค่าสินค้ารวมเพิ่มขึ้นเป็น 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย 15% ต่อปี โดยมี e-Commerce หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอันดับต้น ๆ ที่มีการใช้บริการสูงสุด (รายงานจาก Google, Temasek และ Bain&Company) ด้วยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ส่งผลให้ไทยมีเป้าหมายในปี 2570 โดยมุ่งกระตุ้นการลงทุนและขับเคลื่อนความเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ไทยมีมูลค่าเพิ่มของเศรษฐกิจดิจิทัลและคาดว่าจะขยายตัวสูงถึง 30% ของ GDP ประเทศไทย จากการเติบโตในมิติต่างๆ สิ่งที่มาควบคู่กันคงหนีไม่พ้นจะเป็นการเผชิญกับภัยคุกคามอย่างเลี่ยงไม่ได้ การดำเนินงานของ AOC 1441 ได้มีการอายัดบัญชีไปแล้วกว่า 160,000 บัญชี ตกวันละเกือบพันบัญชี มียอดอายัดบัญชีไปแล้วกว่า 4,700 ล้านบาท ที่ปัญหาส่วนใหญ่มาจากการหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการทางออนไลน์ การหลอกลวงหารายได้พิเศษ และการหลอกลงทุน ดังนั้น กระทรวงดิจิทัลฯ ภายใต้การนำของท่านรัฐมนตรีฯ มุ่งส่งเสริม สนับสนุนให้ประเทศเกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมั่นคงปลอดภัย สร้างเกราะป้องกันคนไทยจากอาชญากรรมและภัยออนไลน์ทุกรูปแบบ ภายใต้การทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังเตรียมขยายผลเพิ่มความเข้มข้นการตรวจสอบก่อนเปิดบัญชีใหม่ โดยเพิ่มกระบวนการพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง Customer Due Diligence หรือ CDD โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ที่ธนาคารต้องตรวจสอบให้เข้มงวดก่อนเปิดบัญชี พร้อมมีแอปพลิเคชัน

แจ้งเตือนหมายเลขเสี่ยงให้คนไทย รวมถึงยกระดับการดูแลบริการของแพลตฟอร์มดิจิทัล ภายใต้กฎหมาย DPS (Digital Platform Services) เพื่อให้การซื้อขายของออนไลน์และการใช้บริการมั่นใจขึ้น เป็นต้น

"เพราะเราเชื่อว่าการพัฒนาดิจิทัลในทุกมิติ ไม่เพียงแต่ทำให้ชีวิตของประชาชนดียิ่งขึ้น แต่ยังเป็น Momentum สำคัญที่จะขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้พร้อมรองรับสู่โลกดิจิทัล ดังนั้น งาน DGT2024 จะเป็นอีกโอกาสสำหรับต่อยอดและขยายเครือข่ายการดำเนินงาน และการพัฒนาทักษะดิจิทัลของประชาชนในทุกกลุ่ม"

ด้าน นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า ETDA จากบทบาททั้งในด้านการกำกับดูแลธุรกิจบริการดิจิทัล ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนเกิดความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย และรู้เท่าทัน ซึ่งการปักหมุดการทำงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายของกระทรวงฯ ทั้งในด้านการส่งเสริมการใช้ Digital ID ให้มากขึ้น โดยเฉพาะ e-Service ของบริการภาครัฐที่สำคัญ พร้อมต่อยอดการใช้งาน Digital ID เพื่อการพิสูจน์และยืนยันตัวตนในกลุ่ม "คนต่างด้าว-นิติบุคคล" การเดินหน้าสร้างความเชื่อมั่นในการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัล ให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองมากขึ้น ภายใต้กลไกของกฎหมาย DPS (Digital Platform Services) รวมถึงการส่งเสริมให้องค์กร หน่วยงาน เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI อย่างมีธรรมาภิบาล ผ่านศูนย์ AIGC (AI Governance Center by ETDA) และผลักดันให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ SMEs มีการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก เตรียมพร้อมสำหรับการค้าข้ามพรมแดน ที่ปัจจุบัน SMEs คิดเป็น 95% ของจำนวนธุรกิจทั้งหมด สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 6.1 ล้านล้านบาท ถือเป็นกลุ่มที่สำคัญต่อมูลค่า Digital GDP ของประเทศสัดส่วนมากถึง 35% ดังนั้น ถ้าถามว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่า อะไรคือตัวแปร หรือ Momentum ที่เราคนไทยต้องโฟกัสให้ชัดขึ้น นี่ถือเป็นโจทย์ที่ ETDA ภายใต้กระทรวงดิจิทัลฯ เดินหน้าเร่งเครื่องทำงานมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับงาน DGT2024 หรือ Digital Governance Thailand 2024 ที่ปีนี้จัดภายใต้แนวคิด "Digital Momentum for the Future" ในช่วง 2 วันนี้ (29-30 พ.ค.) ETDA จัดขึ้นเพื่อเป็นแลนด์มาร์กของการสร้างโอกาสและปรากฏการณ์ทางดิจิทัล ที่รวมพล หน่วยงาน Partner สำคัญทั้งรัฐและเอกชน ตลอดจน Tech Company, Service Provider ชั้นนำของไทยและต่างประเทศ กว่า120 องค์กร ที่อยากให้คนไทยที่สนใจ หน่วยงานต่างๆ SMEs ที่กำลังหา Solution ใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ ตลอดจนคนทำงานทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ คนทำงาน นิสิตนักศึกษา จะได้มาร่วมเปิดมุมมองความรู้จากผู้เชี่ยวชาญชื่อดัง พร้อมทั้ง Showcase มากกว่า 50 หน่วยงานรวมถึงการเปิดพื้นที่สำหรับกิจกรรม Business Matching จากบริษัทชั้นนำ มากกว่า 80 บริษัท ที่มาพร้อมดีล โปรโมชั่นพิเศษ และอีกหลากหลายกิจกรรมที่น่าสนใจเพื่อคน SMEs และคนดิจิทัลทุกคน

"ETDA มีความตั้งใจกับการร่วมสร้างโอกาสเพื่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนในมุมทิศทางการดำเนินงานภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ผ่านงาน DGT 2024: Digital Momentum for the Future ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29-30 พฤษภาคม เพื่อให้เกิดอีกหนึ่ง Momentum สะท้อนความร่วมมือจากพาร์ทเนอร์ทั้งรัฐและเอกชนที่พร้อมจะปรับและเปลี่ยนสู่อนาคตอย่างรู้เท่าทัน ซึ่งจะส่งผลต่อแรงกระเพื่อมของการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ในระยะยาว"

งานนี้ ETDA ได้รับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์คนสำคัญ อาทิ Google, ธนาคารกรุงไทย, Meta Platforms, Inc., บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด, NT cloud and Fortinet powered by AWS,  มหาวิทยาลัยบูรพา, องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) อพท., สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa), DGA หรือ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน), สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล (DiSDA), กรมสุขภาพจิต, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI), ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.), สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.), สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.), การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย, นิตยสาร Business+ ในเครือบริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน), บริษัท เด็กดี อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด, บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน), บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), บริษัท โซเชียลแล็บ จำกัด, สปริงนิวส์, บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด, บริษัท เทลสกอร์ จำกัด, The Story Thailand เป็นต้น

สำหรับ SMEs นิสิตนักศึกษาและประชาชน ที่สนใจ สามารถร่วมงานได้ ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00-18.30 น. ที่ พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน ลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ https://dgt2024.com/

HTML::image(