'ไทยทิชชูคัลเจอร์ฯ' เอสเอ็มอีต้นแบบสัมมาชีพ ธุรกิจเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ดันรายได้เกษตรยั่งยืน

จากจุดเริ่มต้นธุรกิจ ต้องการนำนวัตกรรมมา "เพิ่มผลผลิตพันธุ์พืช" ในเวลาอันรวดเร็ว แทนการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีอื่นๆ "การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ" ได้สร้างโอกาสให้กับเอสเอ็มอีจาก จ. มหาสารคามให้เติบโต จนสามารถส่งออกได้ถึง 30% ของยอดขาย

'ไทยทิชชูคัลเจอร์ฯ' เอสเอ็มอีต้นแบบสัมมาชีพ ธุรกิจเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ดันรายได้เกษตรยั่งยืน

ส.ต.อ.อนุวัช และสาวิตรี อินปลัด  คือสามีภรรยา ผู้ก่อตั้งบริษัทไทยทิชชูคัลเจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายต้นกล้าพันธุ์พืชที่เกิดจากการขยายพันธุ์ด้วยเทคนิค "การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ"ไม้ประดับ พืชไร่ พืชสวน ไม้ผลและไม้เศรษฐกิจ ในชื่อแบรนด์ TTCI จำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ 'ไทยทิชชูคัลเจอร์ฯ' เอสเอ็มอีต้นแบบสัมมาชีพ ธุรกิจเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ดันรายได้เกษตรยั่งยืน

จากคุณภาพต้นกล้าจากการเพาะเนื้อเยื่อซึ่งมีคุณสมบัติเด่นหลายประการ เช่นสามารถผลิตต้นกล้าได้ปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็ว ไม่กลายพันธุ์ และทนทานต่อโรค ทำให้ธุรกิจแขนงนี้สามารถเติบโตได้ดี

ขณะเดียวกัน ความเชี่ยวชาญยังทำให้บริษัทสามารถเพาะเลี้ยงสายพันธุ์พืชต่างประเทศขึ้นในไทย ช่วยทดแทนการนำเข้า สร้างรายได้และลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรไทย

แนวทางการพัฒนาธุรกิจดังกล่าว จึงมีส่วนส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรให้เป็นอาชีพที่มั่นคง เหมาะกับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม

นอกเหนือจากความสามารถทางธุรกิจแล้ว บริษัทยังมีส่วนช่วยดูแลการสร้างอาชีพให้ชุมชน ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม จึงเป็นที่มาของการได้รับรางวัลเอสเอ็มอีต้นแบบสัมมาชีพ ประจำปี 2566 ที่มูลนิธิสัมมาชีพมอบให้

"ธุรกิจจะเติบโตได้ จะต้องโตไปพร้อมกับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ผมรู้สึกดีใจที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ จะทำให้ผู้คนทั้งในประเทศและต่างประเทศรู้จักและเห็นถึงความสำคัญของธุรกิจนี้มากขึ้นว่า มีส่วนทำให้อาชีพด้านเกษตรกรรมของไทย เข้มแข็งขึ้นได้อย่างไร" ส.ต.อ.อนุวัช เผย

ทว่า ก่อนธุรกิจจะประสบความสำเร็จในวันนี้ได้ ต้องเผชิญกับการล้มลุกคลุกคลานมาไม่น้อย

"อนุวัช" เล่าว่า พืชชนิดแรกที่เริ่มต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คือ กล้วยน้ำว้าและกล้วยหอม เนื่องจากในขณะนั้น (ช่วงโควิดระบาด ในปี 2564) ต้นอ่อนมีราคาแพง อีกทั้งยังมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เขาจึงหาวิธีที่จะให้ได้ต้นพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพราะสามารถเพิ่มปริมาณจากต้นไม้ต้นเดียวเป็นจำนวนมากกว่าเท่าตัวในเวลาไม่นานนัก และยังได้ต้นกล้าที่มีคุณภาพให้ผลผลิตสูง แข็งแรง ปลอดเชื้อ ทำให้เกษตรกรเข้าถึงกล้าพันธุ์ได้เร็วขึ้น

"แรกเริ่มธุรกิจ เรายังไม่มีความรู้เรื่องการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาก่อน จึงไปเรียนรู้กับมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กลับมาสร้างศูนย์เกษตรเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แต่เนื่องจากขาดทักษะ จึงลองผิดลองถูก  ทำให้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อครั้งนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ มีต้นทุนการดำเนินการที่สูงขึ้น จนต้องหาทุนเพิ่มด้วยการนำผลไม้ (ลำไยและแก้วมังกร) ไปจำหน่าย เพื่อนำมาเป็นทุนซื้อสารเคมีและวัสดุต่างๆ เรียกว่า ทดลองแล้วทดลองเล่า ไปบ่มเพาะความรู้เพิ่มเติมจาก สวทช. (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) จนมีความชำนาญ รู้ถึงกระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้พืชเจริญเติบโต ตอนนี้ บริษัทฯ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมากกว่า 190 สายพันธุ์แล้ว" ส.ต.อ.อนุวัช เล่า  

เขายังให้ข้อมูลว่า จุดเด่นซึ่งถือเป็นวัตกรรมของบริษัทฯ อยู่ที่การพัฒนาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจได้หลายสายพันธุ์ ทั้งพืชเศรษฐกิจไทยและต่างประเทศ และยังคิดค้นนวัตกรรมสารเคมีที่ใช้เพาะเลี้ยงให้ต้นกล้าสมบูรณ์ โดยนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาปรับใช้ เช่น นำนุ่นมาทดแทนวุ้นในอาหารสังเคราะห์ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ยังช่วยให้ต้นกล้าเติบโตได้ดี

นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีในการอนุบาลต้นกล้าพืช ทำให้เจริญเติบโตได้ดีในหลายสภาวะอากาศตามแต่ภูมิภาคของประเทศ

"ปัจจุบันเราสามารถพัฒนาสายพันธุ์แอปเปิ้ลพืชให้ปลูกได้ในไทย เพื่อลดการนำเข้า โดยที่ผ่านมาไทยนำเข้าแอปเปิ้ลปีละ 4,000 ล้านบาท ถ้าสามารถปลูกได้เองในประเทศ รายได้ในส่วนนี้ก็จะตกเป็นของเกษตรกรไทย นอกจากนี้เรายังพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลังป้องกันโรคระบาด (ไวรัส หรือโรคใบด่าง) ทำให้เกษตรกรได้ต้นพันธุ์ที่ดี และยังลดต้นทุนที่เกิดจากค่ายาปราบศัตรูพืชและจากผลผลิตเสียหาย ทำให้รายได้เกษตรกรดีขึ้น ทำให้เกิดความยั่งยืนด้านรายได้"

ส.ต.อ.อนุวัช ยังประเมินว่า ในอีก 5 ปีจากนี้ ภาพรวมธุรกิจเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในประเทศไทย จะเป็นที่รู้จักของตลาดในไทยและต่างประเทศมากขึ้นและเติบโตสูง จากขณะนี้ที่บริษัทมีสัดส่วนการส่งออกอยู่ที่ 30% ของยอดขายราว 40  ล้านบาทต่อปี  โดยตลาดส่งออกหลักจะเป็น เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ เคนยา  ซาอุดิอาระเบีย และแอฟริกา

เขาจึงวางแผนขยายงานรองรับ โดยจะรับคนงานเพิ่มขึ้นปีละ 100-200 คน ซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ จ.มหาสารคาม อันเป็นที่ตั้งของบริษัทแห่งนี้ และมีส่วนทำให้แรงงานคืนถิ่น กลับมาสร้างรายได้ในชุมชน ดูแลครอบครัวตัวเอง มีสัมมาชีพ และมีความสุขในชีวิต

นี่คือเรื่องราวความมุ่งมั่นของเอสเอ็มอีรายหนึ่ง ที่ไม่เพียงมองการแสวงหารายได้เพื่อสร้างความอยู่รอดให้กับองค์กรตัวเองเท่านั้น แต่ยังออกแบบธุรกิจให้เกื้อกูลสังคม ชุมชน ไปด้วยกัน


ข่าวอินเตอร์เนชั่นแนล+เกษตรยั่งยืนวันนี้

มิสทิน ร่วมกับ ทช. เดินหน้าโครงการยกเลิกการใช้สารที่เป็นอันตรายต่อปะการัง

มิสทิน ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เดินหน้าโครงการยกเลิกการใช้สารที่เป็นอันตรายต่อปะการังในผลิตภัณฑ์กันแดดปลูกจิตสำนึก อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน มิสทิน ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) นำโดย ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (อทช.) พร้อมด้วยคณะให้การต้อนรับคุณปราการ สท้านโยธิน กรรมการผู้จัดการ และคณะผู้บริหาร บริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด และ และ บริษัท เบทเตอร์เวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในนามผู้จัดจำหน่าย

พีดีเฮ้าส์ ยกระดับมาตรฐานรับสร้างบ้านมืออ... พีดีเฮ้าส์ ยกระดับมาตรฐานรับสร้างบ้านจับมือ TOSTEM สร้างบ้านปลอดภัย — พีดีเฮ้าส์ ยกระดับมาตรฐานรับสร้างบ้านมืออาชีพ ผนึก TOSTEM แบรนด์ชั้นนำญี่ปุน ผู้ผลิต...