เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด (His Royal Highness Prince Mohammed bin Salman bin Abdulaziz Al Saud) มกุฎราชกุมาร นายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการโครงการพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์ เป็นผู้ให้การอุปถัมภ์โครงการริเริ่มด้านขีดความสามารถของมนุษย์ (HCI) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการวิสัยทัศน์ซาอุฯ 2การประชุมนานาชาติ3การประชุมนานาชาติ (Saudi Vision 2การประชุมนานาชาติ3การประชุมนานาชาติ) ทั้งนี้ HCI ชุดแรกจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-29 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติคิงอับดุลอะซีซ ในกรุงริยาด
ภายใต้ธีม "ความพร้อมในอนาคต" (Future Readiness) HCI จะรวบรวมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีอำนาจตัดสินใจมากกว่า 6,000 คน พร้อมด้วยวิทยากรหลักระดับนานาชาติมากกว่า 150 คน จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงผลกำไร ตลอดจนคลังสมองจากกว่า 50 ประเทศ เพื่อสำรวจการอภิปรายที่มีอิทธิพล เสริมสร้างการทำงานร่วมกัน และคว้าโอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์ทั่วโลก
HCI จะมุ่งเน้นไปที่การยกระดับระบบนิเวศการพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์ ส่งเสริมการออกแบบนโยบายที่เป็นนวัตกรรมและโซลูชันที่สร้างสรรค์ และนำเสนอเรื่องราวความสำเร็จของการพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์และผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความพยายามร่วมกันนี้จะมีส่วนสนับสนุนวาระระดับโลกที่ยั่งยืน ซึ่งบุกเบิกโซลูชันสำหรับความสามารถของมนุษย์ในทุกกลุ่มอายุ และจุดประกายความคิดริเริ่มเชิงรุกที่คาดการณ์ถึงความท้าทายของวันพรุ่งนี้ และจะช่วยสร้างอนาคตที่สดใสสำหรับทุกคน
ฯพณฯ ยูเซฟ อัล-เบนยาน (Yousef Al-Benyan) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและประธานคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์ กล่าวว่า "การประชุมครั้งนี้คือเวทีความร่วมมือระดับโลกแห่งแรกที่จะช่วยกระตุ้นความร่วมมือระดับนานาชาติ และยกคุณค่าการเจรจาระดับโลกในด้านการพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์ และมีส่วนช่วยในการพัฒนาทักษะของมนุษย์และเศรษฐกิจโลกให้เจริญรุ่งเรือง" พร้อมเสริมว่า "การประชุมจะหารือเกี่ยวกับความท้าทายที่ต้องเผชิญในการพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์ในบริบทของการเปลี่ยนแปลงระดับโลก และทักษะที่สำคัญที่สุดที่จำเป็นในตลาดแรงงานโลกในอนาคต นอกจากนี้ยังรวมถึงการหารือเรื่องผลกระทบของการพัฒนาอย่างรวดเร็วในภาคดิจิทัลและเศรษฐกิจที่มีต่อความสามารถของมนุษย์"
นอกจากนี้แล้ว ฯพณฯ ยูเซฟ อัล-เบนยาน ยังเน้นย้ำว่า "หัวข้อที่ครอบคลุมของ HCI นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนการสนทนาใหม่ ๆ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ความร่วมมือ และการเป็นพันธมิตรกันระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคส่วนที่สาม ตลอดจนการลงทุนในระดับโลกในการพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์ ซึ่งจะมีส่วนช่วยสร้างเศรษฐกิจที่มีความเข้มแข็งและยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับความท้าทายในอนาคต"
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ HCI:
https://humancapabilityinitiative.org
- เว็บไซต์ HCI: https://humancapabilityinitiative.org
- โซเชียลมีเดีย HCI:
- เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ซาอุฯ 2030:
ภายใต้การนำของผู้อารักขามัสยิดศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง วิสัยทัศน์ซาอุฯ 2030 (Saudi Vision 2030) ริเริ่มโดยเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรี วิสัยทัศน์ดังกล่าวมาพร้อมกับแผนงานที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างอนาคตของซาอุดีอาระเบียที่เจริญรุ่งเรืองและสดใสผ่านสังคมที่มีชีวิตชีวา เศรษฐกิจที่เติบโต และประเทศชาติที่มีความมุ่งมั่นทะเยอทะยาน วิสัยทัศน์นี้ได้รับการจัดลำดับเป็นวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินการอย่างมีประสิทธิผลผ่านโครงการบรรลุเป้าทางวิสัยทัศน์ (Vision Realization Programs)
https://www.vision2030.gov.sa
- เกี่ยวกับโครงการพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์ (HCDP):
โครงการพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์ (Human Capability Development Program) เป็นหนึ่งในโครงการบรรลุเป้าทางวิสัยทัศน์ซาอุฯ 2030 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มั่นใจว่าพลเมืองชาวซาอุฯ จะมีขีดความสามารถที่จำเป็นในการแข่งขันระดับโลกด้วยการปลูกฝังค่านิยม การพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานและทักษะแห่งอนาคต รวมถึงการยกระดับความรู้ โครงการนี้มุ่งเน้นไปที่การสร้างรากฐานการศึกษาที่แข็งแกร่งสำหรับพลเมืองทุกคนเพื่อปลูกฝังค่านิยมตั้งแต่อายุยังน้อย และเตรียมความพร้อมเยาวชนสำหรับตลาดทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลกในอนาคต นอกจากนี้แล้ว โครงการนี้ได้อุทิศไปที่การยกระดับทักษะของพลเมืองผ่านโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิต การสนับสนุนนวัตกรรม การส่งเสริมวัฒนธรรมของผู้ประกอบการ และการพัฒนานโยบายเพื่อให้มั่นใจได้ว่าซาอุดีอาระเบียจะมีความสามารถในการแข่งขัน
https://www.vision2030.gov.sa/v2030/vrps/hcdp/
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2281808/Human_Capability_Development.jpg
นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) และนักเรียนโรงเรียนกำเนิดวิทย์ คว้ารางวัลเหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง และรางวัลต่าง ๆ จากการนำเสนอโครงการในจัดการประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (International Conference of Young Scientists : ICYS) ครั้งที่ 31 หรือ ICYS 2025 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน ณ จังหวัดระยอง รศ.ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวว่า ตามที่ประเทศไทยเป็น
'ต้น สกลกรย์' เข้าร่วมงาน NVIDIA GTC 2025 แสดงความเห็นเกี่ยวกับอนาคตของประเทศไทยในยุค AI
—
คุณสกลกรย์ สระกวี ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ...
เพอเซ็ปทรา โชว์ศักยภาพ AI ทางการแพทย์ในงานประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล (PMAC) 2025
—
คณะผู้บริหารและทีมงานจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยา...
กรมพัฒนาที่ดิน เตรียมจัดเฉลิมฉลองงานวันดินโลก 2567 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 ของวันดินโลก 5 ธันวาคม
—
วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐม...
นักศึกษา วทอ. มจพ. คว้า 2 รางวัลชนะเลิศ จากการแข่งขันควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติ
—
ทีมนักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกลวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหา...
การท่องเที่ยวฟิลิปปินส์ ผลักดันอุตสาหกรรม M.I.C.E. ฟิลิปปินส์สู่เวทีโลก พร้อมสร้างยอดขายเติบโตกว่า 1 พันล้านบาท
—
คณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวฟิลิปปินส...
การประชุมนานาชาติว่าด้วยการท่องเที่ยวภูเขาและกีฬากลางแจ้ง ประจำปี 2567 เปิดฉากขึ้นที่มณฑลกุ้ยโจว ประเทศจีน
—
การประชุมนานาชาติว่าด้วยการท่องเที่ยวภูเขาและ...
ก.ค.ศ. เปิดเวทีประชุมนานาชาติว่าด้วยการพัฒนาวิชาชีพครู ปี 67 ชูประเด็น “ภาวะผู้นำร่วม : กุญแจความสำเร็จการเรียนรู้แห่งอนาคต”
—
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะก...