โคเวสโตร ฉลองหลักชัยบรรลุแผนขยายกำลังการผลิ ตวัสดุโพลีคาร์บอเนตรีไซเคิลทั้งในไทยและจีน

17 Nov 2023

โคเวสโตร เริ่มเปิดดำเนินงานโรงงานผลิตโพลีคาร์บอเนตรีไซเคิลแบบเชิงกล (Mechanical Recycling: MCR) แห่งแรกของบริษัทที่โรงงานในเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน โดยไลน์การผลิตนี้ตั้งเป้าหมายในการผลิตวัสดุโพลีคาร์บอเนตคุณภาพระดับพรีเมียมและวัสดุผสมที่ประกอบด้วยวัสดุรีไซเคิลให้ได้มากกว่า 25,000 ตันต่อปี เพื่อตอบสนองความต้องการพลาสติกรีไซเคิลจากสิ่งเหลือทิ้งหลังบริโภค (Post-consumer-Recycled: PCR) ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะการใช้งานในภาคธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และสินค้าอุปโภคบริโภค

โคเวสโตร ฉลองหลักชัยบรรลุแผนขยายกำลังการผลิ ตวัสดุโพลีคาร์บอเนตรีไซเคิลทั้งในไทยและจีน

"การเปิดตัวสายการผลิต MCR ของเรา ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญบนเส้นทางสู่เป้าหมายด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและการดำเนินงานเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2035" สุเชตา โกวิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการพาณิชย์ โคเวสโตร กล่าว "การรีไซเคิลขยะพลาสติกถือเป็นหัวใจสำคัญในการบรรลุถึงวิสัยทัศน์นี้ และด้วยการขยายกำลังการผลิตพลาสติกรีไซเคิล เรามุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนความยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างครอบคลุม"

การเพิ่มกำลังการผลิตโพลีคาร์บอเนตในไทยและเอเชียแปซิฟิก

โคเวสโตรกำลังดำเนินงานขั้นตอนสุดท้ายของแผนการเพิ่มกำลังการผลิตโพลีคาร์บอเนตทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยในช่วงปลายเดือนกันยายน 2023 ที่ผ่านมา บริษัทประสบความสำเร็จในการเพิ่มขีดความสามารถและกำลังการผลิตของสายการผลิตหลายสายของโรงงานที่มาบตาพุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการบริหารของกลุ่มธุรกิจพลาสติกเชิงวิศวกรรม แผนงานนี้มุ่งเน้นที่ 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การเพิ่มกำลังการผลิตและการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในอนาคต นอกจากนี้ ยังครอบคลุมถึงการเพิ่มสายการผลิตใหม่ของโรงงานในเซี่ยงไฮ้และกวางโจว ประเทศจีน รวมถึงที่เกรทเตอร์ นอยดา ประเทศอินเดียในช่วงที่ผ่านมา ปัจจุบัน โรงงานทุกแห่งมีกำลังการผลิตรวมมากกว่า 100,000 เมตริกตันต่อปี ซึ่งกว่า 40% ของจำนวนนี้มาจากโรงงานในมาบตาพุด โดยแผนงานเชิงกลยุทธ์ซึ่งมุ่งเป้าที่การเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายการผลิต

ระดับภูมิภาคนี้ ขับเคลื่อนด้วยการใช้เครื่องมือดิจิทัล ซึ่งช่วยลดงบประมาณการลงทุนลงได้อย่างชัดเจน

"ด้วยแนวทางการดำเนินงานนี้ เราไม่เพียงสามารถตอบสนองความต้องการโพลีคาร์บอเนตที่เพิ่มขึ้นในเอเชียได้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้ลูกค้าของเราได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดีขึ้นอีกด้วย" ดร.นิโคลัส สต็อกเคล หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจพลาสติกเชิงวิศวกรรม กล่าว "เรายังสามารถอัปเกรดคุณภาพวัสดุโพลีคาร์บอเนตที่ผลิตแบบเดิมและจากการรีไซเคิลแบบผสมได้โดยขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าของเรา"

การนำเสนอวัสดุที่ยั่งยืนเพื่อตอบโจทย์ดีมานด์ตลาดโคเวสโตรมุ่งมั่นสู่การจัดหาวัสดุโพลีคาร์บอเนตรีไซเคิลให้ได้ปริมาณ 60,000 ตันต่อปี สำหรับการใช้งานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกภายในปี 2026 เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่เติบโตสูง โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทยังได้มีการปรับเปลี่ยนสายการผลิตวัสดุคอมปาวด์ที่โรงงานมาบตาพุดในประเทศไทยเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตโพลีคาร์บอเนตรีไซเคิลแบบเชิงกลได้อีกด้วย

"การลงทุนครั้งนี้ทำให้เราสามารถตอบสนองความต้องการวัสดุโพลีคาร์บอเนตรีไซเคิลที่เพิ่มสูงขึ้นได้ ผ่านการเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพไปพร้อมกัน ซึ่งด้วยกำลังการผลิตรูปแบบใหม่หรือที่ถูกปรับปรุงอยู่ในขณะนี้ ทำให้เราอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบในการสนับสนุนลูกค้าของเราในการก้าวเดินไปบนเส้นทางสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนมากขึ้น พร้อมเร่งการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมไปสู่อนาคตแห่งเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นกลางทางคาร์บอนอย่างแท้จริง" ลิลลี่ หวัง ผู้บริหารสูงสุดกลุ่มธุรกิจพลาสติกเชิงวิศวกรรม บริษัท โครเวสโตร (ประเทศไทย) กล่าว

ความต้องการวัสดุดังกล่าวมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก โดยได้แรงหนุนจากข้อริเริ่มด้านกฎระเบียบต่างๆ เช่น ข้อเสนอของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับยานพาหนะที่สิ้นอายุการใช้งาน (ELV Directive) ซึ่งมีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่เข้มงวดในการใช้พลาสติกรีไซเคิล นอกจากนี้ ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้บริโภค ก็มีแนวโน้มความต้องการวัสดุรีไซเคิลที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีการใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นจำนวนมาก

การเคลื่อนไหวของสภาพตลาดในปัจจุบัน ช่วยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาครั้งล่าสุดของโคเวสโตรในการจัดหาวัสดุโพลีคาร์บอเนตรีไซเคิล โดยในช่วงต้นปีที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดตัววัสดุโพลีคาร์บอเนตที่มาจากวัสดุรีไซเคิลถึง 90% วัสดุเกรดนี้ไม่เพียงมีความขาวที่โดดเด่นและให้สีสันที่มีความอิ่มตัวสูงเท่านั้น หากยังนำเสนอคุณสมบัติด้านความยั่งยืนอีกด้วย โดยสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงถึง 70% เมื่อเทียบกับการผลิตพลาสติกบริสุทธิ์ที่ทำจากฟอสซิล ความสำเร็จอันสำคัญยิ่งนี้ต้องอาศัยการคัดเลือกวัสดุรีไซเคิลคุณภาพสูงอย่างพิถีพิถัน และการปรับสัดส่วนองค์ประกอบของวัสดุที่เหมาะสมในขั้นตอนการผสมอย่างแม่นยำ

นอกจากนี้ โคเวสโตรยังมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการบุกเบิกกระบวนการรีไซเคิลเชิงเคมีของวัสดุโพลีคาร์บอเนต โดยหลังจากประสบความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการใหม่ในห้องปฏิบัติการ วันนี้บริษัทได้เริ่มดำเนินการทางเทคนิคเพื่อนำความก้าวหน้านี้เข้าสู่การดำเนินงานธุรกิจนำร่องอย่างเป็นรูปธรรม

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit