ปีนี้ฤดูหนาวของไทยเราจะเริ่มในปลายเดือนตุลาคม 2566 และสิ้นสุดปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2567 โดยกรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2566 พร้อมระบุว่าฤดูหนาวจะช้ากว่าปกติ 2 สัปดาห์ และจะมีอากาศเย็นน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ช่วงเวลาที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุด ประมาณต้นเดือนธันวาคม 2566 ถึงปลายเดือนมกราคม 2567
ในวันหยุดยาวฤดูหนาวดังกล่าว กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ขอเชิญชวนทุกท่านที่ยังไม่มีแพลนหรือมีแพลนมาเที่ยวที่จังหวัดนครราชสีมาหรือโคราช ณ สถานีวิจัยลำตะคอง (Lamtakhong Research Station) หน่วยงานในภูมิภาคของ วว. ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดเช็คอินของโคราช โดยเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่รวบรวมองค์ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ การเกษตร การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและแมลง
วว. จัดตั้งสถานีวิจัยลำตะคอง โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ให้เป็นพื้นที่สำหรับดำเนินการวิจัยทางด้านการเกษตรและการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนและสังคม มีภารกิจและเป้าหมายของสถานีฯ มุ่งวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึก การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านงานวิจัยเพื่อนำไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน
สถานีวิจัยลำตะคอง มีความสะดวกสบาย พร้อมต้อนรับทุกท่านด้วยที่จอดรถกว้างขวาง ห้องน้ำสะอาด อยู่ไม่ไกลจากเขาใหญ่ และที่สำคัญอยู่ใกล้เขื่อนลำตะคอง หนึ่งในลำน้ำสายโบราณที่เกิดขึ้นพร้อมกับการยกตัวของที่ราบสูงโคราชหรือแอ่งโคราช ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะหลายแอ่ง และยังมีภูเขาทั้งขนาดใหญ่ ขนาดย่อม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานธรณีโคราช (Khorat Geopark) ที่ได้รับการรับรองโดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นอุทยานธรณี (UNESCO Global Geopark) แห่งที่ 2 ของประเทศไทย
เมื่อเดินทางมาถึงสถานีวิจัยลำตะคอง ซึ่งตั้งอยู่ ณ เลขที่ 333 หมู่ที่ 12 ถนนมิตรภาพ ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ท่านจะได้พบกับพรรณไม้แปลกๆ ที่รวบรวมมาจากทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ ประกอบด้วยพรรณไม้หายาก เช่น
โมกราชินี (Wrightia sirikitiae) พืชถิ่นเดียวของไทยที่พบเฉพาะบนเขาหินปูนในภาคกลางของไทย
กล้วยคุนหมิงหรือกล้วยยูนนาน (Musella lasiocarpa) พืชใกล้สูญพันธุ์จากจีนตอนใต้
สร้อยสยาม (Phanera siamensis) พืชถิ่นเดียวจากภาคเหนือ
ปาล์มเจ้าเมืองถลาง (Kerriodoxa elegans) พืชถิ่นเดียวจากภาคใต้ เป็นต้น
จุดไฮไลท์ที่สถานีวิจัยลำตะคองภูมิใจนำเสนอ คือ มะหิ่งซำ (Glyptostrobus pensilis) พืชเมล็ดเปลือยในกลุ่มสนแปกลมซึ่งกำลังถูกคุกคามและจัดอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critical endanger) จากการประเมินของ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature : IUCN) คาดว่ามีจำนวนในธรรมชาติน้อยกว่า 250 ต้น
พืชอีกชนิดที่มีความโดดเด่นไม่แพ้กัน คือ ปิศาจทะเลทราย (Welwitschia mirabilis) หนึ่งในพืชปรากฎบนโลกมาตั้งแต่ปลายยุครุ่งเรืองของไดโนเสาร์ จนได้รับฉายาว่าฟอสซิลมีชีวิต (Living fossil) ในปัจจุบัน
กิจกรรมที่ทุกท่านพลาดไม่ได้ คือ ร่วมย้อนอดีดไปยังโลกยุคบรรพกาล เพื่อย้อนเวลาไปยังยุคที่โลกของเราเต็มไปด้วยพรรณไม้กลุ่มเฟิร์นและพืชเมล็ดเปลือยนานาชนิดใน ยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferus period) และพืชชนิดอื่นๆอีกหลากหลายในอาคารเฉลิมพระเกียรติ (เรือนกระจกหลังที่ 1) ซึ่งเป็นพื้นที่จัดแสดงวิวัฒนาการพรรณพฤกษา พืชดอกมหัศจรรย์ ความงามจากธรรมชาติ พืชหายากและพืชเฉพาะถิ่น สมุนไพรและเครื่องเทศ และพืชเครื่องดื่มต่างๆ ที่มีการใช้ประโยชน์มายาวนานควบคู่ไปกับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เช่น
โกโก้ (Theobroma cacao) พืชเครื่องดื่มขึ้นชื่อจากทวีปอเมริกาที่มีเรื่องราวมาพร้อมกับความรุ่งเรืองของอารยะธรรมมายา
กาแฟโรบัสตา (Coffea canephora) เครื่องดื่มยอดฮิตจากทวีปแอฟริกา
เฉาก๊วย (Platostoma palustre) พืชเครื่องดื่มและสมุนไพรจีนที่ขึ้นชื่อของภูมิภาคเอเชีย
และอีกหนึ่งจุดไฮไลท์สำคัญที่พลาดไม่ได้ในอาคารแห่งนี้ คือ "ไอยริศ" (Zingiber sirindhorniae) พรรณไม้พระราชทานนามจากเขาหินปูนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จะบานเพียงปีละครั้งระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม
นอกจากการชมพรรณไม้ต่างๆ แล้ว การเก็บภาพความประทับใจเป็นกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจ เช่น การถ่ายภาพคู่กับใบขนาดมหึมาของ ปาล์มเจ้าเมืองตรัง (Licuala peltata var. sumawongii) พืชหายากที่แทบจะไม่พบในธรรมชาติแล้วจากภาคใต้ เป็นต้น
ศูนย์อนุรักษ์แมลงเขตร้อน เป็นจุดศึกษาธรรมชาติที่สำคัญของสถานีวิจัยลำตะคอง โดยท่านจะได้สัมผัสแมลงที่มีชีวิต โดยเฉพาะเหล่าผีเสื้อ ที่มาบินโชว์อวดโฉมละลานตา หรือจะเป็นเหล่าแมลงนักล่าภายใต้หน้ากากที่สวยงาม อาทิ
ตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีชมพู แมลงที่พรางตัวได้อย่างแนบเนียนโดยใช้สีสันที่กลมกลืนไปกับกลีบดอกสีชมพูของกล้วยไม้
หรือขณะที่ท่านกำลังเที่ยวชมอยู่นั้น อาจจะต้องสังเกตเพิ่มเติมอีกนิด เพราะกิ่งไม้ที่ท่านเห็นอาจจะไม่ได้เป็นดังที่ท่านคิด ด้วยเป็นการพรางตัวที่แนบเนียนและตราตรึงผู้พบเห็นได้มากที่สุด นั่นก็คือ การจัดแสดง ตั๊กแตนกิ่งไม้และตั๊กแตนใบไม้ นอกจากนี้ยังมีแมลงอีกหลายชนิดที่แปลกและหาชมได้ยากกำลังรอทุกท่านได้เข้ามาเยี่ยมชมและทำความรู้จัก
สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการให้บุตรหลานมีกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่น่าสนใจในเวลาว่าง เพื่อเสริมทักษะ เปิดการเรียนรู้และประสบการณ์แปลกใหม่ นอกเหนือจากการเรียนรู้ในห้องเรียน ได้แก่ กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์เกษตร "Lamtakhong Science Camp" โดยน้องๆ จะได้ร่วมกิจกรรมที่หลากหลาย ท้าทายความสามารถและเปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง พร้อมมีทีมงานพี่เลี้ยงค่ายใจดี ที่พร้อมสนับสนุนน้องๆ ให้กล้าคิด กล้าทำ และกล้าเรียนรู้ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนที่น่าสนใจให้เที่ยวชม อาทิ แปลงสาธิตการปลูกผักเชิงระบบ แปลงรวบรวมผักพื้นบ้าน
สถานีวิจัยลำตะคอง...แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ยังมีห้องประชุมสัมมนาที่พร้อมรับรองการจัดกิจกรรมได้ถึง 150-200 คน และมีบริการห้องพักสำหรับรับรองจำนวน 100 เตียง ในราคาพิเศษเริ่มต้นเพียงหลักร้อยเท่านั้น พร้อมสัมผัสกับธรรมชาติ วิวเขื่อนลำตะคองที่สวยงาม พักดื่มเมนูกาแฟอาราบิกาหอมๆ จากพื้นที่เขายายเที่ยง เครื่องดื่มสมุนไพรน้ำมะขามป้อมสดๆ ปลอดสารพิษเพิ่มวิตามินซีให้ร่างกาย ชมบรรยากาศพระอาทิตย์ตกยามเย็นที่เขื่อนลำตะคอง และแวะปั่นจักรยานที่เขายายเที่ยง เพื่อสัมผัสกับธรรมชาติ ชมวิวริมเขื่อน พร้อมกังหันลมที่สวยงาม
พิกัดสถานีวิจัยลำตะคอง : https://maps.app.goo.gl/URQtGxsdWwXNkZop7
: ค่ายวิทยาศาสตร์ โทร. 081 467 4214 (คุณศักดิ์มงคล)
: ที่พัก ห้องประชุม โทร. 087 079 3330 (คุณอรุณวรรณ)
สถานที่ใกล้เคียง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (ศนอ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพิ่มมูลค่าสมุนไพร "ใบเตย" โดยการวิจัยและพัฒนาเป็น "สารสกัด" นำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเสริมสุขภาพในระบบกระดูกและข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย มุ่งเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค พร้อมเสริมแกร่งผู้ประกอบการด้วยผลงานมาตรฐานสากล ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. โดย
วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...
วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...
วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...
วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว."
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...
วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...
วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition
—
วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition จากผลงาน...
สถานีวิจัยลำตะคอง วว. บริการ จุดพักรถ…พักผ่อน เติมพลัง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ "8 - 15 เมษายน 2568"
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)...
วว. /สทนช./สวก. ผนึกกำลัง Kick off โครงการบำบัดและฟื้นฟูแหล่งน้ำในพื้นที่ชุมชนเหนือน้ำหนองกุดทิง จังหวัดบึงกาฬ
—
วว. /สทนช./สวก. ผนึกกำลัง Kick off โครงก...