ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะผู้บริหาร นักวิจัย บุคลากร วว. ร่วมให้การต้อนรับ นางศศิธร ชาญประเสริฐ เกษตรจังหวัดปทุมธานี สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี นางสาววิไลวรรณ สอนพูล ผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านวิศวกรรมเกษตรจังหวัดชัยนาท พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร เกษตรอำเภอ เกษตรตำบล นักวิชาการ จังหวัดปทุมธานี ในโอกาสเยี่ยมชมศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานของ วว. พร้อมหารือเกี่ยวกับการนำผลงานวิจัยของ วว. สู่การพัฒนาพื้นที่จังหวัดปทุมธานี อาทิ การส่งเสริมการปลูกกล้วยต้นเตี้ย ถังขยายชีวภัณฑ์ชุมชน การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุทางการเกษตร และการสร้างนวัตกรรมให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่ เป็นต้น
เพื่อสนับสนุนการพัฒนาภาคการเกษตรของชุมชนและเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานของ วว. งานวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร เป็นกลไกขับเคลื่อนสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับจังหวัด ให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในการนี้ ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. ได้นำเสนอข้อมูลด้านเทคโนโลยีทางการเกษตร ภายใต้การดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากระดับจังหวัดปทุมธานี ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) พร้อมกันนี้คณะฯ ยังได้เยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วว. ได้แก่ โรงงานนำทางสายการผลิตอาหารแห้ง ศูนย์นวัตกรรมหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม 2 (สารชีวภัณฑ์) และโรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร (FISP) ในวันที่ 17 ตุลาคม 2566 ณ วว. เทคโนธานี ปทุมธานี
ทั้งนี้ รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. ได้กล่าวต้อนรับคณะเยี่ยมชมโดยสรุปว่า วว. มีบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนงานวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ และส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs วิสาหกิจชุมชน ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตรให้มีความเข้มแข็ง สามารถยกระดับและเพิ่มศักยภาพผลงานวิจัยทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีของ วว. เพื่อนำไปสู่การต่อยอดและขยายผลในระดับพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกมิติ ตลอดจนการพัฒนาผลงานวิจัยให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการบูรณาการด้านนโยบาย BCG Economy โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานของ วว. เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งอย่างมีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ภาคการเกษตรของชุมชนในพื้นที่ของประเทศร่วมกันต่อไป
ดูข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.tistr.or.th/PressCenter/news/8543/
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานมอบประกาศนียบัตรและร่วมแสดงความยินดีในโอกาสที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมโชว์ผลงาน "สารออกฤทธิ์ทุติยภูมิจากเห็ดหลินจือแดงสำหรับบรรเทาอาการของโรคไต: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตราเบต้าไลฟ์" จัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 "The 50th International Exhibition of Inventions Geneva" โอกาสนี้ ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. นางสาวอุบล ฤกษ์อ่ำ
วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...
วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...
วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว."
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...
วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...
วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition
—
วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition จากผลงาน...
สถานีวิจัยลำตะคอง วว. บริการ จุดพักรถ…พักผ่อน เติมพลัง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ "8 - 15 เมษายน 2568"
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)...
วว. /สทนช./สวก. ผนึกกำลัง Kick off โครงการบำบัดและฟื้นฟูแหล่งน้ำในพื้นที่ชุมชนเหนือน้ำหนองกุดทิง จังหวัดบึงกาฬ
—
วว. /สทนช./สวก. ผนึกกำลัง Kick off โครงก...
วว. / ธ.ก.ส. หารือแนวทางนำเทคโนโลยีเกษตร ชีวภาพ อาหาร ต่อยอดดำเนินงานร่วมกันในปี 2568
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแ...