วว. /บพท. /มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขับเคลื่อนโมเดลแก้จนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี นำร่องพัฒนาอาชีพเลี้ยงแพะแบบครบวงจร

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มอบนโยบายขับเคลื่อนเชิงพื้นที่สนับสนุนให้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พัฒนาและออกแบบโมเดลกระบวนการแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดปัตตานี ใน 2 พื้นที่ คือ ฟาร์มตัวอย่าง ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านปิยา ตำบลปิยามุมัง และในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวใหม่ ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี โดยการสนับสนุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) พร้อมนำร่องการพัฒนาอาชีพเลี้ยงแพะแบบครบวงจร ตามมาตรฐานสากล ตอบโจทย์ผู้บริโภค/ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตครัวเรือนอย่างยั่งยืน ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

วว. /บพท. /มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขับเคลื่อนโมเดลแก้จนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี นำร่องพัฒนาอาชีพเลี้ยงแพะแบบครบวงจร

การพัฒนาและออกแบบโมเดลดังกล่าว จะแก้ปัญหาการเลี้ยงแพะของครัวเรือนยากจนในพื้นที่เป้าหมาย (กว่า 30 ครัวเรือน) ซึ่งมีระบบการเลี้ยงที่ปล่อยให้แพะหากินเองตามธรรมชาติเป็นหลัก เนื่องจากครัวเรือนยากจนยังไม่มีศักยภาพในการสร้างที่เลี้ยงแพะ รวมทั้งผลิตอาหารเลี้ยงแพะที่มีคุณภาพ ทำให้ส่งผลเสียต่อปริมาณและคุณภาพหรือน้ำหนักตัวของแพะ รวมถึงเกิดปัญหาแก่ชุมชนหรือพื้นที่สาธารณะ เช่น แพะขับถ่ายมูลตามพื้นที่ อีกทั้งยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุตามท้องถนนเป็นอันตรายทั้งกับประชาชนและแพะ มีผลต่อชีวิตและทรัพย์สินประชาชน รวมทั้งลดการขัดแย้งในการที่แพะเข้าไปในพื้นที่ส่วนบุคคล เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นโจทย์ที่สำคัญในการพัฒนาโมเดลฯ เพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวถึงการดำเนินงานตามโมเดลฯ ว่า ประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1) การเลี้ยงแพะแบบครบวงจร โดย วว. พัฒนา "ระบบหนุนเสริมงาน" เพื่อให้ครัวเรือนมีพื้นที่เลี้ยงแพะและมีอาหารเลี้ยงแพะที่มีคุณภาพ ด้วยการจัดหาพ่อพันธุ์แพะเนื้อสายพันธุ์แองโกลนูเบียนและสายพันธุ์บอร์ รวมจำนวน 6 ตัว เพื่อเป็นพ่อพันธุ์แพะสายเลือดดีประจำพื้นที่ และพัฒนาแปลงปลูกพืชอาหารสัตว์ ณ ฟาร์มตัวอย่างบ้านปิยามุมัง ขนาด พื้นที่ 4 ไร่ และในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวใหม่ ตำบลแหลมโพธิ์ จำนวน 20 ไร่ ในการปลูกหญ้ากินรี ปลูกมันสำปะหลัง สำหรับเป็นอาหารสัตว์และสามารถปลูกได้ผลผลิตดีในสภาพดินทรายจัดที่มีความเค็มสูง พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและใช้อาหารหมักคุณภาพสูงสำหรับแพะเนื้อ ที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ ได้แก่ เชื้อราสายพันธุ์ Rhizopus เชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Lactobacillus และเชื้อยีสต์สายพันธุ์ Saccharomyces จากแหล่งผลิตภัณฑ์อาหารในพื้นที่ รวมทั้งพัฒนาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบเม็ดจากมูลแพะเคลือบด้วยจุลินทรีย์ประจำถิ่นจากแหล่งดินสมบูรณ์ พัฒนาคอกเลี้ยงแพะแก้ปัญหาแพะออกไปหากินหรือเดินไปตามพื้นที่สาธารณะและช่วยให้แพะมีการเลี้ยงที่ถูกสุขลักษณะ

"...การดำเนินงานดังกล่าวทำให้เกษตรกรมีองค์ความรู้ มีทักษะในกระบวนการผลิต มีสถานที่เหมาะสมสำหรับการผลิต ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเลี้ยง ยกระดับทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิตแพะเนื้อด้วย วทน. ตอบโจทย์การสร้างอาชีพการเลี้ยงแพะแบบครบวงจรในพื้นที่ แก้ไขปัญหาความยากจน โดยมีเครือข่ายร่วมในพื้นที่บูรณาการดำเนินงาน ได้แก่ ฟาร์มตัวอย่างบ้านปิยามุมัง ฟาร์มตัวอย่างบ้านสีปาย สำนักงานปศุสัตว์อำเภอยะหริ่ง สำนักงานเกษตรอำเภอยะหริ่ง สถานีพัฒนาที่ดินปัตตานี องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมโพธิ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยการอาชีพจังหวัดปัตตานี สหกรณ์การเกษตรปิยาราตา นทพ. จำกัด สหกรณ์แพะและแกะ จำกัด เพื่อให้งานของพื้นที่เป็นความร่วมมือที่เกิดจากศักยภาพของพื้นที่ (Collaborative governance) ตามองค์ประกอบและภาพของการทำงานเชิงพื้นที่ของจังหวัดปัตตานี ที่ทาง บพท. ได้กำหนดไว้..." ผู้ว่าการ วว. กล่าว

กิจกรรมที่ 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงสมุนไพรแกงกูตุ๊ เป็นการเพิ่มมูลค่าพัฒนาอาหารทางวัฒนธรรมท้องถิ่น โดย วว. ดำเนินการที่ปรึกษาในการพัฒนากระบวนการผลิตเครื่องแกงกูตุ๊ ซึ่ง "แกงกูตุ๊" เป็นอาหารหลักของพื้นที่และชาวมุสลิม โดยเน้นการใช้ภูมิปัญญาสมุนไพรและเครื่องเทศของพื้นที่ เป็นจุดเริ่มต้นในการหากระบวนการสร้างรายได้ ประกอบด้วย การศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิต การวิเคราะห์ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ การออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และมาตรฐานความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหาร โดยการใช้เทคโนโลยีปลอดเชื้อแบบสเตอร์ริไรซ์ และผลิตที่โรงงานแปรรูปอาหาร ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ได้มาตรฐาน GMP และฮาลาล รวมทั้งวิเคราะห์สารสำคัญในผลิตภัณฑ์เครื่องแกงกูตุ๊ ซึ่งมีปริมาณสารฟีนอลิคและฟลาโวนอยด์สูง มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูอิสระด้วยการยับยั้งอนุมูลอิสระของกลไก Oxygen radical absorbance capacity สูงที่สุด และไม่มีสารก่อให้เกิดโรคในทางเดินอาหาร โดยผลิตภัณฑ์เครื่องแกงที่พัฒนาสำเร็จ สามารถพกพาสะดวก เหมาะกับการเดินทางไกล เช่น เดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนา พิธีฮัจญ์ เป็นต้น สามารถนำไปปรุงผสมกับเนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะเนื้อวัวหรือเนื้อแพะ จะทำให้อาหารไม่มีกลิ่นสาบ มีรสชาติเผ็ดร้อน และถูกต้องตามหลักศาสนา โดยทางมหาวิยาลัยในพื้นที่มีความสามารถเชื่อมโยงการจัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมายครัวเรือนยากจนในพื้นที่ เพื่อให้เป็นรูปแบบของธุรกิจชุมชนในอนาคตต่อไป


ข่าวสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย+จ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถวันนี้

วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (ศนอ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพิ่มมูลค่าสมุนไพร "ใบเตย" โดยการวิจัยและพัฒนาเป็น "สารสกัด" นำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเสริมสุขภาพในระบบกระดูกและข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย มุ่งเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค พร้อมเสริมแกร่งผู้ประกอบการด้วยผลงานมาตรฐานสากล ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. โดย

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว." — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...

วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร... วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition — วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition จากผลงาน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยลำตะคอง วว. บริการ จุดพักรถ…พักผ่อน เติมพลัง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ "8 - 15 เมษายน 2568" — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)...