ดูแลภาวะกระดูกพรุนในวัยทองด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

ภาวะกระดูกพรุนในวัยทอง (Postmenopausal Osteoporosis, PMO) เกิดขึ้นเนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในสตรีวัยทองมีปริมาณน้อยลง ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีหน้าที่ควบคุมความสมดุลของแคลเซียม ช่วยในการดูดซึมและลดการสลายตัวของแคลเซียม ซึ่งการลดลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลทำให้มวลกระดูกในร่างกายค่อย ๆ ลดน้อยลง จนท้ายที่สุดก่อให้เกิดภาวะกระดูกพรุนในวัยทอง

ดูแลภาวะกระดูกพรุนในวัยทองด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าผู้หญิงทั่วโลกมากกว่า 200 ล้านคน มีภาวะกระดูกพรุน จนกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับ 2 ของโลก รองจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด สำหรับประเทศไทยจากสำรวจพบว่า 1/3 ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนและอายุมากกว่า 60 ปีมีภาวะกระดูกพรุน ซึ่งถือเป็นจำนวนที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น แพทย์จีนจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุนในวัยทองในมุมมองของศาสตร์การแพทย์แผนจีน

สาเหตุและกลไกการเกิดโรคในทางการแพทย์จีน

ภาวะกระดูกพรุน จัดอยู่ในกลุ่ม "กู่ปี้(??)" "กู่เหว่ย(??)"  ในทางการแพทย์แผนจีนมีบันทึกในตำราสู้เวิ่น(??)ระบุว่า ไตมีความสัมพันธ์กับกระดูก ไตมีหน้าที่กักเก็บสารจิง ซึ่งสารจิงให้กำเนิดน้ำหล่อเลี้ยงและช่วยหล่อเลี้ยงบำรุงกระดูก หากชี่ไตมากสารจิงมีปริมาณเพียงพอหล่อเลี้ยงกระดูกก็จะทำให้กระดูกมีความแข็งแรง ในทางกลับกันหากชี่ไตพร่องสารจิงน้อยก็ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดน้อยลงก่อเกิดเป็นกู่เหว่ย(??)กระดูกพรุนได้

ปกติทั่วไปของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนตามหลักทฤษฎีเจ็ดเจ็ด(??) ในคัมภีร์โบราณระบุถึงการเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้หญิงไว้ว่า ผู้หญิงเมื่ออายุ 49 ปี เส้นลมปราณเริ่น(??)และเส้นลมปราณชง(??)พร่อง ส่งผลให้ไม่มีประจำเดือนและไม่สามารถให้กำเนิดบุตรได้ สารจิงในไตพร่อง เพราะสารจิงในไตมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนให้มีประจำเดือน อีกทั้ง ไตยังมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการระบบการสืบพันธุ์ ด้วยเหตุนี้ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนและมีภาวะกระดูกพรุน ล้วนสัมพันธ์กับอวัยวะไตเป็นหลักตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน

การวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการและวิธีการรักษาในทางการแพทย์จีน

สาเหตุหลักของการเกิดภาวะกระดูกพรุนในวัยทองมาจาก สารจิงของไตพร่องส่งผลให้ความแข็งแรงของกระดูกลดน้อยลงจนก่อให้เกิดเป็นภาวะกระดูกพรุนในที่สุด นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับอวัยวะตับ ม้าม และกระเพาะอาหาร ซึ่งมีหน้าที่กักเก็บเลือดและสร้างเลือดมาหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายรวมถึงสมดุลอินหยางในร่างกาย ดังนั้น วิธีการรักษาจะเน้นการบำรุงไตและปรับสมดุลร่างกายตามสภาวะอินและหยางที่เปลี่ยนแปลง

1. กลุ่มอาการสารจิงของไตพร่อง

  • อาการ:ปวดเอว ปวดหลัง ปวดหน้าขาและหัวเข่า อาการร่วมอื่น ๆ เช่น เวียนศีรษะ มีเสียงในหู ผมบาง ผมร่วง ฟันโยก ปัสสาวะเล็ด ลิ้นแดงอ่อน ฝ้าบางขาว ชีพจรเฉินซี่ม่ายและไม่มีแรง(?????)
  • วิธีการรักษา:บำรุงไตเพิ่มสารจิง
  • อาหารที่แนะนำ:งาดำ(???)ถั่วดำ(??)เห็ดหูหนูดำ(???)

2. กลุ่มอาการร้อนภายในจากอินพร่อง

  • อาการ:ปวดเอว ปวดหลัง หรือปวดส้นเท้า อาการร่วมอื่น ๆ เช่น ใจร้อน หงุดหงิดง่าย ฝ่ามือฝ่าเท้าร้อน กระวนกระวายใจ นอนหลับได้น้อย ปวดหัวเข่าไม่มีแรง ใบหน้าแดงร้อน มีเหงื่อออก ลิ้นแดงหรือแดงเข้ม ชีพจรซี่ซู่ม่าย(???)
  • วิธีการรักษา:บำรุงอินระบายความร้อน บำรุงไต
  • อาหารที่แนะนำ:เก๋ากี้(???) ฮ่วยซัว(??)

3. กลุ่มอาการอินและหยางทั้งสองอย่าง

  • อาการ:มือเท้าเย็น ปวดกระดูกบางครั้ง หรือปวดเอว ปวดหลัง หรือปวดส้นเท้า ปวดหัวเข่า อาการร่วมอื่น ๆ เช่น กลัวหนาว ชอบความอบอุ่น แขนขาเมื่อยล้าไม่มีแรง อ่อนเพลีย ลิ้นแดงอ่อน ชีพจรเฉินซี่ม่าย(???)
  • วิธีการรักษา:บำรุงไตเพิ่มหยาง เพิ่มน้ำหล่อเลี้ยงกระดูก
  • อาหารที่แนะนำ:กุ้ยช่าย(??)เก๋ากี้(???)เก๋าลัด(??)

4. กลุ่มอาการม้ามและไตพร่อง

  • อาการ:ปวดเอว ปวดหลัง ปวดหน้าขา และหัวเข่า อาการร่วมอื่น ๆ เช่น สีหน้าไม่ผ่องใส แขนขาเมื่อยล้าไม่มีแรง ทานอาหารได้น้อย อุจจาระเหลว ลิ้นแดงอ่อน ด้านข้างลิ้นมีรอยฟัน ฝ้าบางขาว ชีพจรซี่ม่าย(??)
  • วิธีการรักษา:บำรุงไตและม้าม
  • อาหารที่แนะนำ:กุ้ยช่าย(??)ไก่ดำ(??)ลูกเดือย(???)พุทราจีน(??)

วิธีการดูแลเบื้องต้น

  1. รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นมสด โยเกิร์ต นมถั่วเหลือง ฟองเต้าหู้ งาดำ ถั่วแดง ปลาตัวเล็กตัวน้อย ผักขม คะน้า ตำลึง ฟักทองและแครอท เป็นต้น
  2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอโดยเฉพาะช่วงเช้า เช่น รำมวยจีน การแกว่งแขน วิ่งเหยาะ ๆ เป็นต้น ซึ่งแสงแดดยามเช้าจะมีวิตามินดีช่วยในเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
  3. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ น้ำอัดลม
  4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • สอบถามข้อมูล หรือปรึกษาเรื่องสุขภาพได้ที่ "ทีมหมอจีน" คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว โทร 02 223 1111 
  • เปิดทำการทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 16:00 น.
  • LINE OA: @huachiewtcm
  • Facebook: หัวเฉียวแพทย์แผนจีนกรุงเทพ Huachiew TCM Clinic

 


ข่าวองค์การอนามัยโลก+องค์การอนามัยโลวันนี้

การต่อสู้กับวัณโรค: ทำไมการป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ

องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (TB) อาจกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักจากการติดเชื้อทั่วโลกจากเชื้อโรคตัวเดียว ซึ่งวัณโรคดื้อยาหลายชนิดยังคงเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อสุขภาพประชาชนและความมั่นคงด้านสุขภาพ โดยวันวัณโรคโลกนี้ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) คณะแพทยศาสตร์ในประเทศเกรนาดา หมู่เกาะเวสต์อินดีส เน้นย้ำถึงภาระของวัณโรคในประเทศไทยและบทบาทสำคัญของมาตรการป้องกันในการต่อสู้กับโรคนี้ วัณโรคยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากการติดเชื้อที่สำคัญทั่วโลก โดยคร่าชีวิต 1.5 ล้านคนในแต่ละปี ตามข้อมูลจาก

นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระท... สธ. จับมือภาคีหนุนส่งนมแม่ฟรี ดันเป้าเด็กแรกเกิดกินนมแม่ 6 เดือนแรก มากกว่าร้อยละ 50 — นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในโอกาสเ...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสาร... นมแม่มีประโยชน์ กรมอนามัย แนะ ทารก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ แนะ ทารกกินน...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. เตรียมพร้อมติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อหิวาตกโรค-แนะยึดหลัก "กินร้อน ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ" — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.)...

สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (ส... งานประกาศผลการประกวดคลิปสั้น The PAUSE Project : eyes up phone down เดินเท้าปลอดภัย — สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับองค์การอนามัยโล...

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (F... FAO จัดงาน World AMR Awareness Week Food Fair 2024 รวมพลังลดปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ — องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ร่วมกับ องค์การอนามั...

ข่าวธุรกิจของมาเก๊าเปิดเผยว่า เพื่อส่งเสร... "CEO-NV ร่วมตัดริบบิ้นก่อตั้งแพลตฟอร์มการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพการแพทย์ แผนจีน-ไทย-มาเก๊า" — ข่าวธุรกิจของมาเก๊าเปิดเผยว่า เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมด...