สภามหาวิทยาลัยพะเยามีมติอนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ปีการศึกษา 2565 ผู้สร้างคุณประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมประเทศชาติมาอย่างต่อเนื่อง เป็นแบบอย่างที่ดี ตามรายนามดังต่อไปนี้ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสถิติProfessor Timothy E. O'Brien, Ph.D.ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์นางบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ศาสตราจารย์พิเศษ ทันตแพทย์หญิง ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุชในการนี้ อาจารย์ดีเด่นด้านการสอน จำนวน 2 ราย เข้ารับพระราชทานโล่รางวัล ได้แก่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิงจันทิมา ชูรัศมีผู้ช่วยศาสตราจารย์นรินธน์ นนทมาลย์และนักวิจัยดีเด่น เข้ารับพระราชทานโล่รางวัล จำนวน 9 ราย ได้แก่รองศาสตราจารย์ เภสัชกรสุรศักดิ์ เสาแก้วผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรสุกฤษฎิ์ กาญจนสุระกิจรองศาสตราจารย์อัยเรศ เอี่ยมพันธ์อาจารย์วารัชต์ มัธยมบุรุษรองศาสตราจารย์ลือชา ลดาชาติรองศาสตราจารย์ผณินทรา ธีรานนท์ผู้ช่วยศาสตราจารย์พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชาอาจารย์วิทวัส สัจจาพงศ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์สมชาติ ธนะมหาวิทยาลัยพะเยา มีปณิธาน "ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน" และวิสัยทัศน์ "มหาวิทยาลัยสร้างปัญญา เพื่อนวัตกรรมชุมชน สู่สากล อย่างยั่งยืน" ตามพันธกิจที่ครอบคลุมทั้งด้านการเรียนการสอน
การวิจัยและนวัตกรรม การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อยกระดับศักยภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนและสังคม สู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCGมหาวิทยาลัยพะเยา ได้รับอนุมัติให้เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น (Area-based and Community Engagement) อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยได้พัฒนาสู่การยอมรับในระดับสากล โดยมหาวิทยาลัยพะเยา ได้รับการจัดอันดับจากสถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกในระดับที่สูงขึ้น ได้แก่ THE Impact Rankings, Scimago Institutions Rankings, UI GreenMetric World University Rankingsอีกทั้งมหาวิทยาลัยพะเยามีอัตราการชำระหนี้โครงการ กยศ. ดีที่สุด เป็นลำดับที่ 1 ของสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ และได้รับใบประกาศเกียรติคุณเป็น "สถาบันการศึกษาดีเด่น ด้านส่งเสริมธรรมาภิบาล" ประจำปี 2566ผลการดำเนินงานเกิดขึ้นภายใต้การผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายจากสภามหาวิทยาลัยและการสนับสนุนจากจังหวัดและชุมชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนความมุ่งมั่นและทุ่มเทในการทำงานของผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร และนิสิต ทำให้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมีความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย นำจังหวัดพะเยาไปสู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต Phayao Learning City ซึ่งได้รับการรับรองจาก UNESCO เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องในการนี้ องคมนตรี ให้โอวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาความว่า"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ข้าพเจ้ามาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยพะเยาประจำปีการศึกษา 2565
ในวันนี้ ขอแสดงความชื่นชมต่อผู้ทรงคุณวุฒิและบัณฑิตทุกคน ที่ได้รับเกียรติและความสำเร็จการเป็นบัณฑิตแท้ จะต้องเพียบพร้อมด้วยภูมิรู้และภูมิธรรม ที่เรียกว่า "ภูมิ" นั้น หมายความว่า
มีสิ่งนั้น ๆ เป็นพื้นฐาน กล่าวคือ ภูมิรู้ หมายถึง มีพื้นฐานความรู้ที่หนักแน่น กว้างขวาง ลึกซึ้ง ในสาขาวิชาที่ได้ศึกษามา ส่วนภูมิธรรม หมายถึง มีพื้นฐานจิตใจที่หนักแน่นในคุณธรรมความสุจริต จึงขอให้บัณฑิตทุกคนได้พิจารณาสำรวจตนเอง ว่าเป็นผู้มีภูมิรู้และภูมิธรรม สมกับความเป็นบัณฑิตแท้หรือไม่ หากยังบกพร่องในด้านใดอยู่ จะได้เร่งสร้างเสริมให้เพิ่มพูนขึ้น แล้วนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตและประกอบกิจการงาน เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญมั่นคงให้แก่ตนเองและชาติบ้านเมืองสืบไปในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขออวยพรให้บัณฑิตทุกคนประสบความสุข มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ทั้งขอให้ทุกท่านที่มาประชุมพร้อมกันในพิธีนี้ มีความผาสุกสวัสดีโดยทั่วกัน"ทั้งนี้ในปีการศึกษา 2565 มีผู้ได้รับอนุมัติปริญญาในระดับต่าง ๆ ดังนี้ บัณฑิตศึกษา 289 ราย ปริญญาตรี 3,028 ราย คู่ขนาน / ตรีควบโท 1,086 ราย รวมทั้งสิ้น 4,457 ราย ซึ่งพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีการศึกษา 2565 กำหนดจัดขึ้น ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567ณ หอประชุมพญางำเมือง มหาวิทยาลัยพะเยา
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit