กลุ่ม 'Eastern Cancer Network' หรือ ECN เครือข่ายการรักษา
ผู้ป่วยมะเร็งในภาคตะวันออกของประเทศไทย โดย 4 สถานพยาบาล ได้แก่
โรงพยาบาลไทยนครินทร์, โรงพยาบาล
สำโรงการแพทย์,
โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา (CAH) และสห
คลินิกฉะเชิงเทรา(SCC) จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องใน
วันมะเร็งโลก (World Cancer Day 2024) สอดรับธีม 'Close The Care Gap' สร้างความตระหนักรู้ ใส่ใจความเสี่ยง เพื่อปิดช่องว่างและเติมเต็ม ทุกการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง พร้อมสร้างการรับรู้ทุกสิทธิรักษาพยาบาลสามารถเข้าถึงการ
รักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพได้ ผ่าน 4 สถานพยาบาลในเครือข่ายศ.คลินิก นพ.ทิพชาติ บุณยรัตพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลไทยนครินทร์ กล่าวว่า "มะเร็งคือโรคร้ายอันดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตคนมากมาย จำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะทุกคนมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งได้ ซึ่งกระบวนการรักษามะเร็งมีหลายขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด เคมีบำบัด ใช้ยามุ่งเป้า ยาภูมิคุ้มกัน และการฉายรังสีรักษา มะเร็งหลายชนิดจำเป็นต้องฉายรังสีรักษาเพื่อหยุดการลุกลาม และเพื่อป้องกันไม่ให้มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ ดังนั้นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าทันสมัย การที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษามะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความสำคัญมากในการต่อสู้กับโรคร้ายนี้ และเนื่องจากสิทธิการรักษาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงทำให้มีผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมาก ขาดโอกาสที่จะเข้าถึงการรักษามะเร็งที่สะดวกและมั่นใจ และมีสิทธิคุ้มครองการรักษาที่ดี โดยเฉพาะด้านรังสีรักษาโรงพยาบาลไทยนครินทร์ อยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดช่องว่าง และเติมเต็มการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง จึงเป็นที่มาของการลงนามบันทึกข้อตกลง 'Eastern Cancer Network' เครือข่ายการรักษาผู้ป่วยมะเร็งในภาคตะวันออกของประเทศไทยเพื่อการส่งต่อผู้ป่วย การใช้อุปกรณ์ร่วมกันให้มีประโยชน์สูงสุด คุ้มค่า และประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งเป็นความร่วมมือในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการระหว่างเครือข่าย โดยมี 4 สถานพยาบาลได้แก่ โรงพยาบาลไทยนครินทร์, โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์, โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา (CAH) และสหคลินิกฉะเชิงเทรา(SCC) วัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งสามารถเข้าถึงการรักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพได้ โดยใช้สิทธิรักษาพยาบาลของตนได้ ไม่ว่าจะเป็น การชำระเงินสด สิทธิประกันกลุ่ม สิทธิ์ประกันสังคม สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สิทธิ 30 บาท)และสิทธิข้าราชการ ไม่ว่าคุณจะมีสิทธิการรักษาพยาบาลแบบใด ก็สามารถเข้าถึงการรักษามะเร็งด้วยการฉายรังสีที่ทันสมัย ลดผลกระทบต่ออวัยวะข้างเคียง ทำให้เกิดผลลัพธ์การรักษาที่ดีได้ ตามเงื่อนไขของแต่ละสิทธิ์ ซึ่งตรงตาม Concept ของ UICC : Close the Care Gap Everyone deserves access to cancer care ทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษามะเร็งได้ครับ" พญ.วิภาวัลย์ วงศ์แพทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ กล่าวถึงการเข้าถีงการรักษามะเร็งด้วยสิทธิประกันสังคม " โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ เข้าร่วมโครงการกับสำนักงานประกันสังคม ดูแลผู้ประกันตนตั้งแต่เริ่มที่จะมีโครงการนี้เลย ณ เวลานี้เราดูแลผู้ประกันตนทั้งหมด 112,000คนสำหรับผู้ประกันตนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเราให้การดูแลอย่างครบวงจรทั้งการผ่าตัด ให้เคมีบำบัด และรังสีรักษา กรณีที่แพทย์ของสำโรงการแพทย์ วินิจฉัยว่าควรจะรับการรักษาด้วยรังสีรักษาเราจะจะส่งตัวผู้ป่วยมาที่ศูนย์รังสีรักษา โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ซึ่งเราเข้าร่วมเป็นเครือข่าย Eastern Cancer Network ด้วยกัน เบื้องต้นเราจะส่งประวัติคนไข้มาให้แพทย์รังสีรักษาประเมินและนัดคนไข้มาตรวจเบื้องต้น ผู้ประกันตนจะได้รับใบส่งตัวมาฉายแสงมาให้บริการรังสีรักษาที่ศูนย์รังสีรักษาของโรงพยาบาลไทยนครินทร์โดยที่ไม่ต้องรอคอย ไม่มีช่องว่าง ไม่มี Gap ได้รับการบริการอย่างสะดวกและรวดเร็ว และผู้ประกันตนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติมเลยค่ะ"ในส่วนของการรักษามะเร็งด้วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คุณสมพงษ์ ชื่นกิติญานนท์ ประธานบริษัทโรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ศรีราชา (CAH) กล่าวว่า "โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา มีประสบการณ์ในในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฉายแสง สิ่งที่เรามีเจอปัญหาและเป็นประเด็นก็คือเรื่องการรอคิว เมื่อเราได้วินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งแล้ว สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฉายแสง จึงเป็นปณิธานหนึ่งของทีมของเราที่ทำให้เกิดการก่อตั้งโรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา เพื่อที่จะทำให้การรักษาของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิ์ต่างๆ ที่อยู่ในภาคตะวันนออกของประเทศไทย สามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว ในโอกาสที่เราเป็นส่วนหนึ่งของ Eastern Cancer Network สิ่งนี้เป็นโครงการที่ดีมากที่จะทำให้เกิดการปิดช่องว่างที่เกิดขึ้นในที่เราประสบมาตลอดนั่นคือคิวของการรักษาและระบบการส่งต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิ์ต่างๆ ของผู้ป่วยไม่ว่าจะสิทธิ์ประกันสังคม สิทธิ์สปสช. หรือบัตรทอง สิทธิ์ข้าราชการ สิ่งต่างๆเหล่านี้ Eastern Cancer Network จะช่วยลดช่องว่างที่เกิดขึ้นและผมมั่นใจว่านี่ก็คือจะสิ่งที่ทำให้การรักษาโรคมะเร็งมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นนะครับ"ด้าน สหคลินิกฉะเชิงเทรา คลินิกสาขาแห่งแรกของโรงพยาบาลไทยนครินทร์ ร่วมปิดช่องว่างการเข้าถึงการรักษามะเร็งในจังหวัดฉะเชิงเทรา เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษา พร้อมให้คำปรึกษา และประสานงานส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเครือข่าย ECN ตามสิทธิ์ดร.นพ.พิชัย รัตนโรจน์สกุล ผู้บริหาร สหคลินิกฉะเชิงเทรา กล่าวว่า "สหคลินิกฉะเชิงเทรา เปิดคลินิกบริการตรวจรักษาโรคทั่วไป ตรวจสุขภาพ และบริการวัคซีนเพื่อป้องกันโรค นอกจากนี้เรายังต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการลดช่องว่างในการเข้าถึงการรักษามะเร็งของประชาชนในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยการให้คำปรึกษา รวมถึงการส่งต่อผู้ป่วยมะเร็งจากในพื้นที่ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีบริษัทและโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก สิทธิการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่จะเป็นสิทธิประกันกลุ่ม เป็นหนึ่งในสวัสดิการบริษัท นอกจากนี้ก็จะมีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิข้าราชการ สิทธิประกันสังคม และการชำระเงินเอง แต่ด้วยความที่สถานพยาบาลที่มีศักยภาพในการรักษามะเร็งมีไม่มาก ทำให้เกิดช่องว่างในการเข้ารับการรักษา เมื่อไม่ได้รับการรักษาก็อาจทำให้โรคที่เป็นลุกลาม รุนแรงขึ้น