ผลการศึกษาของซิสโก้ชี้ พนักงานส่วนใหญ่เชื่อว่าออฟฟิศไม่ตอบโจทย์การใช้งานอีกต่อไป

ความคาดหวังของพนักงานที่เปลี่ยนไป ทำให้ต้องพลิกโฉมพื้นที่ทำงานเพื่อตอบโจทย์ความต้องการและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ผลการศึกษาของซิสโก้ชี้ พนักงานส่วนใหญ่เชื่อว่าออฟฟิศไม่ตอบโจทย์การใช้งานอีกต่อไป
  • พนักงานในไทยเกือบครึ่งหนึ่ง (48%) เชื่อว่าออฟฟิศไม่ได้ช่วยให้พวกเขาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • พนักงานเชื่อว่าเลย์เอาต์ของออฟฟิศ การจัดที่นั่ง และห้องประชุมไม่เอื้อต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • แม้ว่าพนักงานจะได้รับแรงจูงใจให้กลับไปที่ออฟฟิศเพื่อทำงานร่วมกัน คิดค้นไอเดียใหม่ๆ ระดมความคิดกับเพื่อนร่วมงาน และส่งเสริมความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร แต่นายจ้างส่วนใหญ่ยังคงจัดสรรพื้นที่ออฟฟิศอย่างน้อยครึ่งหนึ่งสำหรับใช้เป็นพื้นที่ทำงานส่วนตัวของแต่ละคน

แม้ว่าพนักงานในไทยส่วนใหญ่ยินดีที่จะกลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศอย่างน้อยสองสามครั้งต่อสัปดาห์ แต่ผลการศึกษาล่าสุดของซิสโก้ชี้ว่าพนักงานมากกว่าครึ่งหนึ่งเชื่อว่าออฟฟิศไม่ตอบโจทย์การใช้งานตามวัตถุประสงค์ของตนเองอีกต่อไป จากรายงานการศึกษาดังกล่าวซึ่งตรวจสอบทัศนคติของพนักงานและนายจ้างเกี่ยวกับพื้นที่ทำงานหรือเวิร์กสเปซในปัจจุบัน พบว่าการออกแบบพื้นที่ทำงาน การจัดวางเลย์เอาต์ และเทคโนโลยีไม่สอดคล้องกับความคาดหวังของพนักงานที่เปลี่ยนแปลงไป ผลการศึกษาของซิสโก้ชี้ พนักงานส่วนใหญ่เชื่อว่าออฟฟิศไม่ตอบโจทย์การใช้งานอีกต่อไป

รายงานผลการศึกษาที่มีชื่อว่า "From Mandate to Magnet: The Race to Reimagine Workplaces and Workspaces for a Hybrid Future" (จากการบังคับสู่ความเต็มใจ: ความพยายามในการพลิกโฉมสถานที่ทำงานและเวิร์กสเปซเพื่อรองรับการทำงานแบบไฮบริดในอนาคต) ระบุว่า 66% ของบริษัทในไทยบังคับให้พนักงานกลับเข้าทำงานที่ออฟฟิศทั้งหมดหรือบางส่วน โดยปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญเป็นเรื่องของประสิทธิภาพการทำงาน การติดต่อสื่อสารภายในทีมงาน และแรงกดดันจากผู้บริหาร

ตรงกันข้ามกับความเชื่อโดยทั่วไปที่ว่าพนักงานส่วนใหญ่ลังเลที่จะกลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศ ผลการศึกษานี้พบว่าพนักงานในไทย 8 ใน 10 คน (84%) ตอบสนองเชิงบวกต่อคำสั่งขององค์กรที่ระบุให้กลับเข้าทำงานที่ออฟฟิศ และ 94% ของผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความต้องการที่จะกลับเข้าทำงานที่ออฟฟิศอย่างน้อยสองสามครั้งต่อสัปดาห์

ซานดีฟ เมห์รา กรรมการผู้จัดการฝ่ายขายด้านโซลูชั่นการทำงานร่วมกันของซิสโก้ เอเชีย-แปซิฟิก ญี่ปุ่น และจีน กล่าวว่า "ผลการศึกษาของเราเผยให้เห็นว่าพนักงานในภูมิภาคนี้เปิดรับการทำงานในรูปแบบไฮบริดและเต็มใจที่จะกลับเข้าทำงานที่ออฟฟิศบ่อยขึ้น แต่มีข้อแม้ว่าพื้นที่ทำงานจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับความต้องการและความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไปของพนักงาน ในยุคของการทำงานแบบไฮบริด เราต้องให้ความสำคัญกับวิวัฒนาการของพื้นที่สำนักงานและเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของพนักงาน เทคโนโลยีคือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เราตอบสนองความคาดหวังที่ว่านี้ พร้อมทั้งส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานและสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ใดก็ตาม"

แม้ว่าจะมีการตอบรับที่ดีเกี่ยวกับการกลับเข้าทำงานที่ออฟฟิศ แต่แรงจูงใจของพนักงานในการทำงานที่ออฟฟิศก็มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเหตุผลหลักที่พวกเขากลับเข้าออฟฟิศไม่ใช่เพื่อการทำงานส่วนตัว แต่เป็นเรื่องของการทำงานร่วมกันเป็นทีม (82%) การระดมความคิดและคิดค้นไอเดียกับเพื่อนร่วมงาน (70%) และการส่งเสริมความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร (52%) การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้บ่งบอกว่าพนักงานมีความคาดหวังและความต้องการที่เปลี่ยนไปเกี่ยวกับพื้นที่ทำงานของพวกเขา

พื้นที่ทำงานไม่ตอบโจทย์ความต้องการของพนักงานที่เปลี่ยนแปลงไป

พนักงานในไทย 48% เชื่อว่าออฟฟิศของพวกเขาไม่ตอบโจทย์การใช้งานและไม่ได้ช่วยให้พวกเขาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ที่จริงแล้ว เมื่อพูดถึงเรื่องเลย์เอาต์ของออฟฟิศและการจัดที่นั่ง พนักงาน 82% รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เอื้อต่อการทำงานร่วมกันและการระดมความคิด ขณะที่มีการให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันมากขึ้น แต่ 87% ของนายจ้างที่ตอบแบบสอบถามยังคงจัดสรรพื้นที่ออฟฟิศอย่างน้อยครึ่งหนึ่งให้เป็นพื้นที่ทำงานส่วนตัวของพนักงานแต่ละคน

รายงานการศึกษานี้ยังเน้นย้ำอีกว่าพื้นที่ทำงานในปัจจุบันยังไม่พร้อมสำหรับการทำงานรูปแบบใหม่นี้ โดยพนักงานรู้สึกว่าเวิร์กสเตชั่นส่วนบุคคล (54%) ห้องประชุมขนาดใหญ่ (56%) และห้องประชุมขนาดเล็ก (70%) ไม่ได้ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานในออฟฟิศ หรืออย่างมากก็ช่วยได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและการบูรณาการก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่ากังวลเช่นกัน กล่าวคือ ในบรรดาองค์กรที่พบว่าห้องประชุมไม่ได้ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานในออฟฟิศ สาเหตุหลักคือมีอุปกรณ์ด้านระบบเสียงและวิดีโอไม่เพียงพอ (75%) ประสบการณ์ด้านภาพและเสียงมีคุณภาพต่ำ (42%) ไม่มีอุปกรณ์ด้านระบบเสียงและวิดีโอที่รองรับการใช้งานสำหรับทุกคน (33%) และความไม่สอดคล้องกันของประสบการณ์สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมระยะไกลและผู้เข้าร่วมประชุมในออฟฟิศควรอยู่ที่ 8% โดยเฉลี่ยแล้ว มากกว่าครึ่งหนึ่ง (อยู่ระหว่างดำเนินการเก็บสถิติ) ของห้องประชุมในองค์กรต่างๆ ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ด้านวิดีโอและเสียง

อย่างไรก็ตามเมื่อมองในแง่บวก ผลสำรวจพบว่าองค์กรต่างๆ มีความคืบหน้าในการปรับเปลี่ยนพื้นที่สำนักงานของตน โดยนายจ้าง 9 ใน 10 ราย ได้ทำการเปลี่ยนแปลงแล้วหลังการแพร่ระบาด และ 90% มีแผนที่จะดำเนินการดังกล่าวในสองปีข้างหน้า ปัจจัยขับเคลื่อนหลักสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ได้แก่ การปรับตัวเพื่อให้ก้าวทันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (67%) การตอบสนองต่อความคาดหวังของพนักงานที่เปลี่ยนแปลงไปเกี่ยวกับพื้นที่ทำงาน (70%) และการรองรับการทำงานแบบไฮบริดที่ดียิ่งขึ้น (51%)

เมห์รา กล่าวเพิ่มเติมว่า "ความก้าวหน้าของนายจ้างในการปรับใช้เทคโนโลยีสำหรับการทำงานร่วมกันเพื่อรองรับการทำงานแบบไฮบริดนับเป็นสิ่งที่น่ายกย่อง แต่การจัดหาเครื่องมือเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ พนักงานส่วนใหญ่รู้สึกว่าตนเองไม่มีความพร้อมที่จะใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น มีพนักงานเพียง 38% เท่านั้นที่รู้สึกว่าตนเองมีความพร้อมที่จะใช้วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ และเพียง 26% รู้สึกว่าตนเองมีความพร้อมที่จะใช้เครื่องมือที่ก้าวล้ำ เช่น ระบบตรวจสอบฟุตพรินต์ หรือโปรแกรมผู้ช่วยอัจฉริยะสำหรับห้องประชุม เราจำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่การบูรณาการเครื่องมือเหล่านี้เข้ากับสถานที่ทำงาน เพื่อเพิ่มความสะดวกในการปรับเปลี่ยนไปสู่การทำงานรูปแบบใหม่อย่างราบรื่น และเพื่อให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้และเป็นมิตรกับผู้ใช้งานทุกคน"

รายงานการศึกษานี้อ้างอิงการสำรวจความคิดเห็นแบบปกปิดสองทางของพนักงานประจำ 9,200 คน และนายจ้าง 1,650 คน โดยทำการสำรวจในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 ผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ใน 7 ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่ ไทย ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินเดีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และเกาหลีใต้

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

  • From Mandate to Magnet: The Race to Reimagine Workplaces and Workspaces for a Hybrid Future

ข่าวo:editor+o:busวันนี้

TEGH ประกาศแปรสภาพ "TEBP" ขึ้นแท่น บ.มหาชน เดินหน้าเข้าตลาด mai เสริมทัพธุรกิจสร้างการเติบโต

บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ประกาศแปรสภาพบริษัทย่อย คือ บริษัท "ไทยอีสเทิร์น ไบโอ พาวเวอร์" หรือ "TEBP" เป็นบริษัท "มหาชน" เรียบร้อยแล้ว เตรียมความพร้อมเข้าตลาด mai เสริมทัพสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน และผลักดันการเติบโตในอนาคต นางสาวสินีนุช โกกนุทาภรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TEGH ผู้ผลิตและจำหน่ายยางธรรมชาติ และน้ำมันปาล์มดิบรายใหญ่ในภาคตะวันออก และผู้นำด้านการผลิตพลังงานทดแทนและรับบริหารจัดการกากอินทรีย์แบบครบวงจรรายใหญ่ในพื้นที่ EEC เปิด

Thailand's globally renowned festivals, S... Unlocking Thailand's Festival Potential: Boosting Tourism through Songkran and Loy Krathong — Thailand's globally renowned festivals, Songkran and Loy Kra...

Digital Marketing คืออะไร Digital Marketi... Digital Marketing คืออะไร? เข้าใจการตลาดออนไลน์สำหรับยุคดิจิทัล — Digital Marketing คืออะไร Digital Marketing หรือ การตลาดดิจิทัล คือการทำการตลาดผ่านช่องท...

แจกเสื้อกันฝนให้กับคนอยากแซ่บมาปกป้อง ป๊อ... KFC เล่นใหญ่รับสงกรานต์! ส่งเมนูฮิต 'ป๊อป บอมบ์ แซ่บ' พร้อมแคมเปญสุดกวน — แจกเสื้อกันฝนให้กับคนอยากแซ่บมาปกป้อง ป๊อป บอมบ์ แซ่บ ไม่ให้เปียกน้ำ สงกรานต์ปี ...