วทอ. เปิดบ้านให้ความรู้และประสบการณ์การใช้สารทำความเย็นที่ติดไฟในห้องปรับอากาศ

12 Dec 2023

รศ.ดร. สมิตร ส่งพิริยะกิจ คณบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวต้อนรับคุณศิริพร ภาวิขัมภ์ หัวหน้าโครงการ GCI III จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมัน (GIZ) ประเทศไทย และตัวแทนองค์กรที่เข้าร่วมรับฟังผลการดำเนินงานโครงการ "การเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีของการใช้สารทำความเย็นธรรมชาติในห้องปรับอากาศ" จากอาจารย์กรวิก บัวคำ หัวหน้าโครงการและคณะทำงาน R Training Thailand พร้อมด้วย รศ.ดร.ฉัตรชาญ ทองจับ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา ที่ปรึกษาโครงการกล่าวรายงานความเป็นมาโครงการ

วทอ. เปิดบ้านให้ความรู้และประสบการณ์การใช้สารทำความเย็นที่ติดไฟในห้องปรับอากาศ

และได้เชิญคุณศิริพร ภาวิขัมภ์ ตัวแทนผู้ให้ทุนจาก GIZ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน Open House เพื่อเยี่ยมชมการทดสอบและสาธิตในการใช้งานของเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็นธรรมชาติ R290 ในอาคาร 64 วทอ. โดยจัดงานในวันที่ 8 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุมปาล์มแก้ว ชั้น 1 อาคาร 63

วทอ. สืบเนื่องจากสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการทำความเย็นและการปรับอากาศ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องต้นกำลัง วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้ดำเนินโครงการวิจัยร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เรื่อง "การเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีของการใช้สารทำความเย็นธรรมชาติในห้องปรับอากาศ" เพื่อสาธิตและทดสอบการใช้งานเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R290 ในอาคาร พร้อมรายงานข้อมูลจากติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็นที่ติดไฟ เพื่อสร้างความมั่นใจการใช้สารทำความเย็นนี้ นำองค์ความรู้ที่ได้จากการทดสอบ การติดตั้งและการจัดการฝึกอรม ทำการสาธิตและแสดงโอกาสของการรั่วไหลของสารทำความเย็นที่ติดไฟภายในห้องปรับอากาศให้กับตัวแทนองค์กรที่เข้าร่วมรับฟังเป็นบุคลากรในกลุ่มอุตสาหกรรม เครื่องปรับอากาศ

รวมทั้งพัฒนาศักยภาพให้กับเครือข่ายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการใช้สารความเย็น R290 ให้เกิดความรู้ในการจัดการสารทำความเย็นที่ติดไฟได้มากขึ้น รวมถึงได้จัดเวทีนำเสนอข้อมูลแสดงผลจากการใช้งาน รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมรับฟัง พร้อมมีการเสนอแนะแนวทางด้านความปลอดภัยในด้านต่างๆ กระบวนการทดสอบและการสาธิตนี้ ได้ต่อยอดมาจากโครงการทดสอบการรั่วไหลของสารทำความเย็น R290 ภายในห้องปรับอากาศในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2563 ที่ได้ทำงานร่วมกับ Mr. Daniel ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจากเยอรมันที่ได้ทำการทดสอบ และจำลองวิธีทดสอบการรั่วไหลไว้ในตู้คอนเทนเนอร์ ตามมาตรฐาน EN-378-2: 2016 และ EN-60079-10-1: 2015 บริเวณหน้าสาขาวิชา อาคาร 64 วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ผู้ที่สนใจ สามารถเข้าเยี่ยมชมและติดต่อสอบถามได้ที่ สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการทำความเย็นและการปรับอากาศ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องต้นกำลัง วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ 6434 หรือที่เพจ Facebook : R290 Training Thailand

วทอ. เปิดบ้านให้ความรู้และประสบการณ์การใช้สารทำความเย็นที่ติดไฟในห้องปรับอากาศ