วว. ให้บริการเครื่องไอโซโทปเรโซแมสสเปคโตรเมตรี บ่งชี้แหล่งผลิตความเป็นของแท้/การปลอมปนในผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) ในส่วนของ ห้องปฏิบัติการชีวเคมีและจุลชีววิทยา ได้ทำการติดตั้ง เครื่องไอโซโทปเรโชแมสสเปคโตรเมตรี Elemental analyser isotope ratio mass spectrometry (EA-IRMS) และ Gas-chromatography isotope ratio mass spectrometry (GC-IRMS) พร้อมเปิดให้บริการวิเคราะห์ทดสอบหาอัตราส่วนไอโซโทปของธาตุ (Stable Isotope Ratios Analysis) ในอาหารและเครื่องดื่ม โดยเปิดให้บริการในรายการ Stable carbon isotope ratio (13C-IRMS), Stable oxygen isotope ratio (18O-IRMS), Stable hydrogen isotope ratio (2H-IRMS) คิดค่าบริการ 5,000 บาทต่อตัวอย่าง และค่าบริการ 3,000 บาทต่อตัวอย่าง ( ในกรณีมากกว่า 5 ตัวอย่างต่อหนึ่งคำขอบริการ )

วว. ให้บริการเครื่องไอโซโทปเรโซแมสสเปคโตรเมตรี บ่งชี้แหล่งผลิตความเป็นของแท้/การปลอมปนในผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า เครื่องไอโซโทปเรโซแมสสเปคโตรเมตรีชนิด IRMS เป็นเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนของไอโซโทปที่เสถียรของธาตุต่างๆ ในตัวอย่าง ใช้สำหรับการหาความแตกต่างของอัตราส่วนไอโซโทปที่แตกต่างกันของจำนวนนิวตรอนในนิวเคลียส โดยเทคนิคนี้สามารถให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับแหล่งที่มา แหล่งผลิต แหล่งของวัตถุดิบ อายุของตัวอย่าง โดยมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในด้านชีววิทยา ธรณีวิทยา นิติวิทยาศาสตร์ งานอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อบ่งชี้แหล่งผลิตความเป็นของแท้ (Authenticity) และการตรวจจับการปลอมปน (Adulteration) เช่น การใช้ 13C values ในการตรวจจับการปลอมปนน้ำตาลในน้ำผลไม้ 100% โดยอาศัยหลักการเรื่องการสังเคราะห์แสงของพืช C3 และ C4 หรือ CAM เป็นต้น วว. ให้บริการเครื่องไอโซโทปเรโซแมสสเปคโตรเมตรี บ่งชี้แหล่งผลิตความเป็นของแท้/การปลอมปนในผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม

ดร.วดี วิชัยดิษฐ์ ผอ.ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา วว. กล่าวว่า ไอโซโทปเรโชแมสสเปคโตรเมตรีเป็นเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์หาอัตราส่วนไอโซโทป (Isotope ratio) ของธาตุต่างๆในตัวอย่าง ทั้งคาร์บอน-13C/12C, ไนโตรเจน-15N/14N, ไฮโดรเจน-2H or D/1H, ออกซิเจน-18O/16O และ กำมะถัน-34S/32S การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและชีวภาพของตัวอย่างในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ตัวอย่างชนิดเดียวกันหรือสารตัวเดียวกันมีอัตราส่วนไอโซโทปของธาตุต่างๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เปรียบเสมือนลายนิ้วมือ (Isotopic fingerprints) ที่มีความเฉพาะเจาะจง ทำให้การวิเคราะห์อัตราส่วนไอโซโทปของธาตุถูกนำไปใช้ในงานด้านต่างๆ อย่างแพร่หลาย อาทิ งานด้านนิติวิทยาศาสตร์ งานด้านความมั่นคง วิทยาศาสตร์การแพทย์ เภสัชวิทยา พฤษศาสตร์ ปิโตรเคมี สิ่งแวดล้อม อาหารและเครื่องดื่ม

โดยการตรวจสอบเพื่อบ่งชี้ความเป็นของแท้ของผลิตภัณฑ์และการตรวจสอบการปลอมปน (Authenticity and Adulteration) นอกจากเป็นการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์แล้ว ยังสามารถใช้เป็นการบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในการสร้างอัตลักษณ์ของสินค้า เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับสินค้า ซึ่งปัญหาการปลอมปนในปัจจุบันพบทั้งการเติมสารเติมแต่งและน้ำในผลิตภัณฑ์ เช่น การเติมสารให้ความหวานในน้ำผลไม้ 100% การเติมน้ำตาลอ้อยในน้ำผึ้ง การเติมสารให้ความหวานและน้ำในไวน์ รวมถึงการระบุแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง (mislabeling) เช่น การระบุแหล่งที่มาของเมล็ดกาแฟ หรือการระบุชนิดของน้ำตาลระหว่าง cane sugar กับ beet sugar เป็นต้น

นางสุภาพร จิรไกรโกศล ผอ.ห้องปฏิบัติการชีวเคมีและจุลชีววิทยา วว. กล่าวว่า การวิเคราะห์อัตราส่วนไอโซโทปของธาตุต่างๆ ในตัวอย่างด้วยเครื่องไอโซโทปเรโชแมสสเปคโตรเมตรี (IRMS) จะเริ่มจากการเปลี่ยนธาตุต่างๆ ได้แก่ ธาตุไฮโดรเจนให้กลายเป็นแก๊สไฮโดรเจน ธาตุคาร์บอนให้กลายเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ธาตุออกซิเจนให้กลายเป็นแก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์ ธาตุไนโตรเจนให้กลายเป็นแก๊สไนโตรเจน และธาตุซัลเฟอร์ให้กลายเป็นแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ การเปลี่ยนรูปสารประกอบต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์ หลังจากนั้นจะทำการวิเคราะห์หาอัตราส่วนไอโซโทปของธาตุต่างๆ ในตัวอย่าง โดยการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคนี้อาจแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบทั้งหมดในตัวอย่างรวมกัน (bulk analysis) โดยทั้งตัวอย่างที่เป็นของแข็งหรือของเหลวจะเปลี่ยนเป็นแก๊สต่างๆ ด้วยความร้อนสูง ซึ่งมีด้วยกัน 2 แบบ คือ Combustion กับ Pyrolysis และแบบแยกแต่ละองค์ประกอบที่มีในตัวอย่าง

(Specific compound analysis) โดยเริ่มต้นจากการแยกสารประกอบในตัวอย่างออกจากกันด้วยเทคนิคโครมาโทรกราฟที่เหมาะสม ก่อนนำเข้าสู่เครื่อง IRMS ผลการวัดที่ได้จะรายงานในรูปของความแตกต่างระหว่างอัตราส่วนไอโซโทปเสถียรของตัวอย่างเทียบกับอัตราส่วนไอโซโทปเสถียรของสารอ้างอิงมาตรฐาน โดยแสดงในรูปสัญลักษณ์ delta และหน่วยเป็น ? อ่านว่า per mil หรือ pasts per thousand

วิธีมาตรฐานการทดสอบอัตราส่วนไอโซโทปของธาตุในงานอาหารและเครื่องดื่ม เป็นวิธีที่องค์กรระดับประเทศและนานาชาติเลือกนำมาใช้ เช่น AIJN, EU, IFU, Codex เป็นต้น

ตัวอย่างการนำเครื่องไอโซโทปเรโชแมสสเปคโตรเมตรีไปใช้ ดังนี้

1) การตรวจสอบแหล่งที่มาของอาหารด้วยการวิเคราะห์อัตราส่วนไอโซโทปของธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน การเจริญเติบโตของพืชในแต่ละแหล่งเพาะปลูก สภาพแวดล้อมแหล่งน้ำและพื้นดิน ส่งผลให้พืชมีองค์ประกอบของสารเคมีที่มีความเฉพาะตัว ดังนั้นการวิเคราะห์หาอัตราส่วนไอโซโทปของธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน จึงสามารถนำมาใช้ยืนยันแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ได้ เช่น การหาแหล่งที่มาของเมล็ดกาแฟ เป็นต้น

2) การตรวจสอบการปลอมปนของผลิตภัณฑ์ด้วยการวิเคราะห์อัตราส่วนไอโซโทปของธาตุคาร์บอน พืช C3 และพืช C4 มีวิธีการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อมาสร้างเป็นอาหารแตกต่างกัน ส่งผลให้อัตราส่วนไอโซโทปของธาตุคาร์บอน-13 ต่อ คาร์บอน-12 แตกต่างกัน โดยพืช C3 มีค่าอยู่ในช่วง -33 ? to -22 ? และพืช C4 มีค่าอยู่ในช่วง -16 ? to -8 ? และจากความแตกต่างนี้ ทำให้สามารถใช้อัตราส่วนไอโซโทปของธาตุคาร์บอน ตรวจสอบการปลอมปนที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเติมสารให้ความหวานกลุ่มพืช C4 ลงในผลิตภัณฑ์ เช่น การเติม corn syrup ในน้ำมะพร้าว 100% หรือการเติมน้ำตาลอ้อยในน้ำผึ้ง เป็นต้น

3) การตรวจสอบและยืนยันการเพาะปลูกแบบออร์แกนิค โดยอาศัยความแตกต่างของอัตราส่วนไอโซโทปของธาตุไนโตรเจนของปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมี ในการยืนยันการเพาะปลูกแบบออร์แกนิคที่ห้ามใช้ปุ๋ยเคมี โดยปุ๋ยอินทรีย์ (organic fertilizers) จะมีค่า ?(_ ^15)N อยู่ในช่วง +8? ถึง +20? และปุ๋ยเคมี (synthetic fertilizers) อยู่ในช่วง +3? ถึง +6?

ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา วว. มีภารกิจในการเป็นหน่วยร่วมขับเคลื่อนส่งเสริมสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมให้เข้มแข็ง ดังนี้

1) บริการทดสอบ /วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและวัตถุดิบ เพื่อการผลิตในระบบคุณภาพตามมาตรฐาน การขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์

2) บริการทดสอบ /วิเคราะห์อาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารและยา

3) บริการสอบเทียบมาตรฐาน เครื่องมือวัดทางมาตรวิทยาอุตสาหกรรม เครื่องทดสอบ ทั้งภายในและภายนอกสถานที่

4) บริการตรวจสอบการทำผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม หมวดสาขาบริภัณฑ์ส่องสว่าง ไฟฟ้ากำลัง เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์

5) บริการฝึกอบรมและบริการที่ปรึกษาในการวิเคราะห์/ทดสอบ สอบเทียบ และการจัดทำระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025

6) บริการเป็นหน่วยงานผู้จัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญตามระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17043

7) เปิดเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทุกวันพุธที่ 3 ของเดือน

8) บริการรับ-ส่ง เครื่องมือที่มีปริมาณมาก

สอบถามรายละเอียดและติดต่อรับบริการจาก ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา วว. ได้ที่ โทรศัพท์ 0 2323 1672-80 โทรสาร 0 2323 9165 E-mail : [email protected] (ณิชกุล) E-mail : [email protected] (กิตติ) หรีอที่ "วว. JUMP" https://tistrservices.tistr.or.th/

 


ข่าวสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย+วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวันนี้

วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (ศนอ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพิ่มมูลค่าสมุนไพร "ใบเตย" โดยการวิจัยและพัฒนาเป็น "สารสกัด" นำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเสริมสุขภาพในระบบกระดูกและข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย มุ่งเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค พร้อมเสริมแกร่งผู้ประกอบการด้วยผลงานมาตรฐานสากล ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. โดย

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว." — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...

วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร... วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition — วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition จากผลงาน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยลำตะคอง วว. บริการ จุดพักรถ…พักผ่อน เติมพลัง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ "8 - 15 เมษายน 2568" — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)...