ภาวะนอนไม่หลับ รักษาได้ด้วยการฝังเข็ม โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

07 Dec 2023

ภาวะนอนไม่หลับ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนอนหลับเป็นปกติได้ มีความยากลำบากในการเข้านอน หลับไม่ต่อเนื่อง รวมไปถึงคุณภาพของการนอนหลับไม่ดี เช่น มีอาการเข้านอนยาก ตื่นบ่อยในช่วงเวลากลางคืน ฝันเยอะ ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น ส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการทำงาน

ภาวะนอนไม่หลับ รักษาได้ด้วยการฝังเข็ม โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยสถิติคนไทยที่เผชิญกับภาวะนอนไม่หลับมีมากถึง 40% ของประชากรทั้งหมด หรือราว 19 ล้านคน ซึ่งในปัจจุบันพบว่าภาวะนอนไม่หลับสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ และไม่ได้พบเจอเฉพาะแค่ในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่สามารถพบเจอในวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงานได้มากขึ้น

ผลสืบเนื่องที่เห็นชัดเจนจากภาวะนอนไม่หลับ เช่น เกิดความง่วงตลอดทั้งวัน ไม่กระปรี้กระเปร่า เหนื่อยง่าย ขอบตาและใบหน้ามองคล้ำ ความจำและความสามารถในการทำงานลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อระบบของร่างกายในอีกหลายด้านไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง เกิดการอักเสบหรือเป็นภูมิแพ้ผิวหนังง่ายขึ้น ระบบเผาผลาญและระบบย่อยอาหารผิดปกติ ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง ทำให้มีโอกาสพบโรคอื่น ๆ ตามมาในภายหลัง

ในมุมมองการแพทย์แผนจีนภาวะนอนไม่หลับมีชื่อเรียกว่า "ปู๋เม่ย (??)" "ปู้เต๋อว่อ (???)" "มู่ปู้หมิง (???)" มีตำแหน่งหลักของโรคอยู่ที่หัวใจ และมีความสัมพันธ์กับอวัยวะอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตับ ถุงน้ำดี ไต และม้าม อย่างใกล้ชิด

อาการของโรค (????)

เข้านอนลำบาก หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือตื่นในระหว่างคืนง่าย ตื่นแล้วไม่สามารถเข้านอนต่อได้ หากรุนแรงอาจถึงขั้นไม่สามารถนอนหลับได้ทั้งคืน มักพบอาการฝันเยอะ กระสับกระส่าย ปวดหนักบริเวณศีรษะ ใจสั่น ขี้หลงลืม หรือรู้สึกอ่อนเพลียไม่มีแรงร่วมด้วย เป็นต้น

สาเหตุของโรค (????)

การรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความเหนื่อยล้า ร่างกายอ่อนแอ หรืออาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้การทำงานของอวัยวะภายในร่างกายเสียสมดุล หยางไม่สามารถกลับเข้าสู่อินได้ ทำให้อิน-หยางในร่างกายเสียสมดุล และเกิดเป็นภาวะนอนไม่หลับ

การวินิจฉัยแยกแยะกลุ่มอาการ (????)

  1. กลุ่มอาการไฟตับรบกวนหัวใจ จะพบอาการนอนไม่หลับ ฝันเยอะ หากอาการรุนแรงอาจถึงขั้นนอนไม่หลับทั้งคืน กระสับกระส่าย โมโหง่าย เวียนหรือปวดตึงศีรษะ ตาแดง มีเสียงในหู ปากแห้งหรือปากขม ท้องผูก ลิ้นแดงฝ้าเหลือง ชีพจรตึงเร็ว
  2. กลุ่มอาการเสมหะร้อนรุนรานหัวใจ จะพบอาการหงุดหงิด นอนไม่หลับ แน่นหน้าอก เรอ ปากขม หนักศีรษะ ตาลาย ลิ้นแดงและฝ้าเหลืองเหนียว ชีพจรลื่นเร็ว
  3. กลุ่มอาการม้ามและหัวใจพร่อง จะพบอาการนอนหลับยาก ฝันเยอะ และตื่นบ่อย ใจสั่น ขี้หลงลืม รู้สึกอ่อนเพลีย  แขนและขาไม่มีแรง เบื่ออาหาร แน่นท้อง ถ่ายเหลว เวียนศีรษะและตาลาย ใบหน้าซีด ลิ้นซีดฝ้าบาง ชีพจรเล็กไม่มีแรง
  4. กลุ่มอาการหัวใจและไตทำงานไม่ประสานกัน รู้สึกกระสับกระส่าย นอนไม่หลับ เข้านอนลำบาก ใจสั่น ฝันเยอะ  ปวดเมื่อยเอวและเข่าอ่อน เหงื่อออกในเวลากลางคืน ฝ่ามือฝ่าเท้าและทรวงอกร้อน เวียนศีรษะ คอแห้ง เสียงในหูดัง อาจพบอาการฝันเปียกในผู้ชาย หรือประจำเดือนมาไม่ปกติในผู้หญิง ลิ้นแดงฝ้าบาง ชีพจรเล็กเร็ว 
  5. กลุ่มอาการชี่หัวใจและถุงน้ำดีพร่อง จะพบอาการนอนไม่หลับ ฝันร้าย ตื่นตกใจง่าย ขี้กลัวหรือขี้ตกใจ ใจสั่น หายใจสั้น เหงื่อออกง่าย มีความอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย ลิ้นซีด ชีพจรตึงเล็ก

แนวทางการรักษาโดยศาสตร์การแพทย์แผนจีน

ใช้วิธีปรับการทำงานของอวัยวะภายใน ให้อิน-หยางในร่างกายกลับมาสมดุล ด้วยการฝังเข็ม 

ในกลุ่มอาการพร่องจะเน้นการบำรุงในส่วนที่พร่อง กลุ่มอาการแกร่งจะเน้นการระบายในส่วนที่เกิน กลุ่มอาการที่มีทั้งพร่องและแกร่งปะปนกันจะเน้นใช้วิธีบำรุงร่วมกับการระบาย โดยการรักษาแบบระบายแกร่งบำรุงพร่อง และในขณะเดียวกันก็ใช้วิธีสงบเสินคุมจิตใจร่วมด้วย เช่น วิธีบำรุงเลือดสงบจิต ข่มจิตสงบเสิน ระบายไฟในหัวใจสงบเสินเป็นต้น ซึ่งเสินหมายถึงสมอง จิตใจ จิตวิญญาณรวมทั้งการแสดงออกต่าง ๆ ของร่างกาย

การนอนหลับที่ดีและมีคุณภาพเป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง ภาวะนอนไม่หลับจึงเป็นปัญหาที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาหรือป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียกับระบบอื่น ๆ ของร่างกายตามมาทีหลัง การฝังเข็มเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยรักษาและบรรเทาภาวะนอนไม่หลับได้ ซึ่งองค์การอนามัยโรค (WHO) ได้รองรับว่า "การฝังเข็มสามารถรักษาภาวะนอนไม่หลับได้ผลที่ดีอย่างชัดเจน" สามารถช่วยปรับอินหยางในร่างกายให้กลับมาสมดุล อีกทั้ง การฝังเข็มยังสามารถช่วยปรับสภาพจิตใจ คลายความวิตกกังวลและความเครียด ทำให้จิตใจผ่อนคลายขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นการช่วยเหลือทางด้านจิตใจได้อีกทางหนึ่งด้วย

การป้องกันโรค(????)

  1. ปรับอารมณ์และจิตใจให้ผ่อนคลาย
  2. ปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ปรับเวลาเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นระบบ
  3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณพอเหมาะ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • สอบถามข้อมูล หรือปรึกษาเรื่องสุขภาพได้ที่ "ทีมหมอจีน" คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว โทร 02 223 1111 
  • เปิดทำการทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 16:00 น.
  • LINE OA: @huachiewtcm
  • Facebook: หัวเฉียวแพทย์แผนจีนกรุงเทพ Huachiew TCM Clinic