วันที่ 5 ม.ค. 67 นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และพลเรือเอก เกรียง ชุณหชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือประธานกรรมการพัฒนาอาชีพทหารกองประจำการกองทัพเรือ ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่ทหารกองประจำการและก่อนปลดประจำการ ระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กับกองทัพเรือ เพื่อส่งเสริมการมีงานทำให้กับทหารหลังปลดประจำการ ณ ห้องรับรองชาวต่างชาติ กรมข่าวทหารเรือ กองบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยภายหลังลงนามความร่วมมือดังกล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการตอกย้ำความสำเร็จและต่อยอดความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงานกับกระทรวงกลาโหม ที่ร่วมกันส่งเสริมการมีงานทำให้กับทหารกองประจำการอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้มีอาชีพหลักและอาชีพเสริม ที่ผ่านมาได้ร่วมกับกองทัพเรือจัดฝึกอบรมให้แก่ทหารกองประจำการหลายหลักสูตร เช่น ช่างเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ ช่างสีอาคาร ช่างปูกระเบื้อง การขับรถโพล์คลิฟท์ เป็นต้น โดยระหว่างปี 2564 - 2566 มีทหารเรือเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 349 คน และผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมนำความรู้ไปประกอบอาชีพ ร้อยละ 69.53 มีรายได้เฉลี่ย 9,794 บาท/คน/เดือน สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 28 ล้านบาทต่อปี เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของทหารเรือหลังปลดประจำการให้ดีขึ้น
นางสาวบุปผา กล่าวต่อไปว่า สำหรับความร่วมมือระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงานกับกองทัพเรือ โดยคณะกรรมการพัฒนาอาชีพทหารกองประจำการกองทัพเรือ มีแผนการฝึกอบรมในหลักสูตรอื่น ๆ เพิ่มเติมที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน อาทิ ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ช่างเครื่องปรับอากาศ ช่างเชื่อม การเขียนแบบ AutoCAD โดยจะจัดฝึกอบรมนำร่องในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ ระยอง จันทบุรี นครพนม เชียงราย กระบี่ พังงา และสงขลา นอกจากนี้ ยังร่วมกันจัดทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติและประเมินความรู้ความสามารถให้อีกด้วย รวมถึงพัฒนาหลักสูตรและพัฒนาทักษะให้แก่ครูฝึกของทหารกองประจำการ เพื่อเป็นวิทยากรต้นแบบในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่กลุ่มทหารกองประจำการต่อไป
"การพัฒนาทักษะฝีมือให้กับทหาร ส่งผลดีหลายด้านเพราะนอกจากการสร้างกำลังแรงงานที่มีวินัยและความรับผิดชอบสู่สถานประกอบกิจการแล้ว ทหารก่อนปลดประจำการ ยังสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของกองทัพเรือ และช่วยเหลือประชาชนได้อีกด้วย" อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวในท้ายสุด
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยสถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA) ชลบุรี เปิดฝึกอบรมด้านหุ่นยนต์ ตลอดเดือนเมษายน ถึงมิถุนายน 2568 11 หลักสูตร นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันแรงงานที่มีทักษะและความรู้ด้านเทคโนโลยีอัตโนมัติที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์ เครื่องจักรกลยังขาดแคลนอยู่ แรงงานจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและยกระดับทักษะดังกล่าวโดยด่วนเพื่อรองรับยุคสมัยของเทคโนโลยีที่พัฒนาล้ำสมัยขึ้นทุกวัน นายเดชา กล่าวต่อไปว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึง
นักศึกษามทร.กรุงเทพคว้าเหรียญฝีมือยอดเยี่ยมสาขาไม้เครื่องเรือน ในการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30
—
รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทค...
นักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานีคว้าเหรียญทอง การแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ระดับประเทศ
—
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้จัดการแข่งขันฝีมือแรงง...
โฮมโปร ร่วมสนับสนุนการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30 มุ่งยกระดับมาตรฐานแรงงานไทยสู่ระดับสากล
—
โฮมโปร ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน...
"พิพัฒน์" เปิดศูนย์ทดสอบฝีมือแรงงานด้าน EV สงขลา พร้อมดัน "เครดิตแบงค์" ยกระดับช่างซ่อมบำรุงรถยนต์ไฟฟ้า
—
กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เดินหน้าพัฒ...
การเคหะแห่งชาติเดินหน้าชู "บ้านเอื้ออาทรเมืองใหม่บางพลี" ต้นแบบพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพผู้อยู่อาศัย ลดความเหลื่อมล้ำเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
—
การเคหะแห่งชาติ ก...
กรมพัฒน์ จัดเต็ม คิกออฟ "อ่างทองโมเดล" เปิดศูนย์เรียนรู้ ปลูกเมล่อนไฮโดรฯ เพิ่มมูลค่าสินค้า หนุนเศรษฐกิจไทย
—
นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแร...
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ยกระดับทักษะพนักงานนวดและสปา มุ่งตอบโจทย์ตลาดต่างประเทศ
—
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรม-ทดสอบฯ พนักงานนวดและสปา การันตีฝีมือตอบโจทย์ตลาดต่า...
สจล. ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มุ่งยกระดับฝีมือแรงงาน สอดคล้องความต้องการในอนาคต
—
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดย รศ. ดร.คมสัน...