"สารสังเคราะห์" ยังคงมีบทบาทสำคัญ แม้กระทั่งยาสามัญประจำบ้านบางชนิดที่ทุกคนต้องรับประทานเวลาเจ็บไข้ ก็ยังต้องผลิตมาจากสารสังเคราะห์
รองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี สู้รักรัมย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และนักเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ ได้กล่าวถึงความปลอดภัยของยาที่ทำมาจากสารสังเคราะห์ว่า ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ "โครงสร้างเคมี" และ "สูตรของยา" ที่ใช้ว่าได้มีการ"ออกแบบ" ให้สามารถออกฤทธิ์ให้ส่งผลต่อร่างกายอย่างไรและเพียงใด
เมื่อเร็วๆ นี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี สู้รักรัมย์ ประสบความสำเร็จจากการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาวิธีการสังเคราะห์สารออกซินโดลที่มี "ฟลูออรีนอะตอม"
โดยในเบื้องต้นสังเคราะห์ได้ประมาณ 30 - 40 โครงสร้างภายใต้การสนับสนุนจากทุนช่วยเหลือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครั้งที่ 29 พ.ศ. 2565 มูลนิธิโทเรเพื่อส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยนี้ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ "The Journal of Organic Chemistry" เตรียมขยายผลสู่การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพโดยมุ่งเป้าไปที่สารต้นแบบที่มีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็ง
ด้วยองค์ความรู้ทางเคมีสามารถช่วยให้ประชาชนปลอดภัยจากผลข้างเคียงของยา จากการศึกษาโครงสร้างของตัวยาซึ่งมีสารสำคัญจากสารสังเคราะห์ที่พิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นอันตราย นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติจำเป็นที่เกี่ยวข้องต่างๆ อาทิ การละลายน้ำ การดูดซึม การกำจัดออกจากร่างกาย รวมถึงความเสถียรที่จะไม่ส่งผลให้ยาออกฤทธิ์เร็ว หรือช้าเกินไป
หลังจากที่ค้นพบและตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี สู้รักรัมย์ เตรียมขยายความร่วมมือเพื่อต่อยอดงานวิจัย เพื่อเป้าหมายคือสารต้นแบบรักษามะเร็ง ซึ่งการทำวิจัยที่ยั่งยืนจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย และจะเกิดประโยชน์สูงสุด หากทำเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของสังคม
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
อลิอันซ์ อยุธยา จับมือคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเวทีเสวนาระดับประเทศร่วมค้นหาแนวทางสร้างความยั่งยืนให้กับระบบสุขภาพไทย อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเสวนา Sustainability of Thailand's Healthcare System Forum เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจากไทยและสิงคโปร์ร่วมวิเคราะห์แนวโน้มเงินเฟ้อทางการแพทย์ การบริหารระบบสุขภาพแบบ Value-Based Care และอนาคตของประกันสังคม เพื่อหาแนวทางให้ระบบสาธารณสุขของไทยสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืนและตอบโจทย์ทุกภาคส่วน สถานการณ์
เสวนาทิศทางไลฟ์สไตล์เพื่อสังคมสู่ความยั่งยืน
—
อ.ภูรัตน์ โอสถานุเคราะห์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล...
"เมดีซ กรุ๊ป" สนับสนุนครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ให้แก่ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
—
นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ ด...
อธิการบดี ม.พะเยา เข้ารับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2566
—
อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ...
ม.มหิดลวิจัยส่งเสริมคุณค่าจากธรรมชาติสู้ภาวะโลกร้อน
—
ปรากฏการณ์น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้นตามภาวะโลกร้อน(Climate Change) ส่งผลต่อระบบนิเวศของชีวิตตามธรรมชา...
CHOW มอบหนังสือส่งเสริมความรู้ให้เยาวชน
—
บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ CHOW ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กแท่งยาว (Steel...
Group-IB ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ในประเทศไทย
—
กรุ๊ป-ไอบี (Group-IB) ผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยีความปลอดภัยไ...
'ถอดบทเรียน' พลิกวิกฤต สู่โอกาส เรียนรู้แผ่นดินไหว สู่การจัดการอย่างยั่งยืน กรมอนามัย-สบส.มหิดล-อุบลราชธานี
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย กรมสนับ...
' ถอดบทเรียน' พลิกวิกฤต สู่โอกาส เรียนรู้แผ่นดินไหว สู่การจัดการอย่างยั่งยืน กรมอนามัย-สบส.มหิดล-อุบลราชธานี
—
#ANAMAINEWS วันนี้ (10 เมษายน 2568) แพทย์หญ...
โครงการสัมมนาวิชาการ AI & Cyber Intelligence: The Future of Human-Machine Collaboration & Security
—
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัย...