หัวเว่ยชูโซลูชัน eLTE ยกระดับความสามารถด้านการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าบุยในกานา

องค์การพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (IRENA) คาดการณ์ว่า กำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนของแอฟริกาอาจสูงถึง 3พลังงานหมุนเวียนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กิกะวัตต์ภายในปี 2573 ส่งผลให้แอฟริกาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำด้านการผลิตพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าบุย (Bui Power Authority หรือ BPA) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานพลังน้ำในประเทศกานา กำลังก้าวสู่ความเป็นผู้นำในภูมิภาคทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า โดยมีความพร้อมด้านบริการการสื่อสารและการจัดการการดำเนินงานที่จำเป็นผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์ eLTE ของหัวเว่ย

ดร. แมทธิว โอโปกู เพรมเปห์ (Matthew Opoku Prempeh) รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของกานา ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของระบบไอซีทีในการจัดการพลังงานอัจฉริยะที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิตไฟฟ้า การดำเนินงานของโรงไฟฟ้า และการจ่ายไฟฟ้า ระบบเหล่านี้ช่วยให้สามารถผสานพลังงานหมุนเวียนเข้ากับโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อการเข้าถึงและอุปทานที่เชื่อถือได้และมีเสถียรภาพ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของประเทศในการเข้าถึงไฟฟ้าอย่างทั่วถึงภายในปี 2568

ดร. เพรมเปห์กล่าวถ้อยแถลงหลังจากที่โรงไฟฟ้าบุยเริ่มดำเนินการเครือข่ายบรอดแบนด์ส่วนตัวที่สร้างโดยหัวเว่ย ณ สถานีผลิตกำลังไฟฟ้าภายในโรงไฟฟ้าบุย

ดร. เพรมเปห์ กล่าวว่า "ในขณะที่กานากำลังก้าวสู่การกระจายไฟฟ้าอย่างทั่วถึงภายในปี 2568 จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเราที่จะต้องอาศัยพลังแห่งระบบไอซีทีในการเพิ่มประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าให้เหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานหมุนเวียน และสร้างความมั่นใจว่าครัวเรือนทั่วประเทศจะมีไฟฟ้าใช้อย่างเสถียรและคุ้มค่า"

โรงไฟฟ้าบุยจึงร่วมกับหัวเว่ย สร้างเครือข่ายบรอดแบนด์ส่วนตัว eLTE ที่สามารถเจาะทะลุกำแพงคอนกรีตและโครงสร้างพื้นฐานของโรงไฟฟ้าบุยในประเทศกานา นับเป็นครั้งแรกที่หัวเว่ยนำโซลูชัน eLTE มาใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าพลังน้ำ โดยเครือข่ายนั้นประกอบด้วยบริการเสียง วิดีโอ และดาต้า ช่วยให้สามารถสื่อสารได้ทันทีระหว่างห้องควบคุมและเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงรอบ ๆ โรงงาน ครอบคลุมพื้นที่ทำงานในร่มและกลางแจ้ง โดยไม่ต้องเดินสายและติดตั้งเกินความจำเป็น รวมถึงถนนภายในเขื่อน ห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และพื้นที่อยู่อาศัยของพนักงานในบริเวณใกล้เคียง

นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในรูปแบบใหม่ ๆ

ด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ เช่นการกดเพื่อพูด และการโทรแบบกลุ่มสำหรับทั้งเสียงและวิดีโอ เครือข่ายส่วนตัวจึงช่วยให้การบำรุงรักษาตามปกติและการจัดการเหตุฉุกเฉินของโรงไฟฟ้าเป็นไปได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

"ปัจจุบันพนักงานสามารถสื่อสารผ่านวิดีโอคอลเพื่อแก้ไขปัญหาการบำรุงรักษาได้ในเวลารวดเร็ว" วิศวกรของหัวเว่ยกล่าว "การสร้างเครือข่ายที่ทันสมัยยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเติบโต ส่งผลให้ไซต์งานนี้พลิกโฉมสู่ความเป็นดิจิทัลได้อย่างชาญฉลาด"

ระบบไฮบริดพลังงานน้ำ-แสงอาทิตย์

พลังงานสะอาดมีความสำคัญมากขึ้นในสัดส่วนพลังงานของประเทศกานา เนื่องจากแผนพลังงานแห่งชาติของกานามีเป้าหมายที่จะบรรลุการเข้าถึงพลังงานทดแทนที่ 10% ภายในปี 2573 บทบาทของโรงผลิตไฟฟ้าบุยในฐานะผู้ให้บริการไฟฟ้าพลังน้ำที่สำคัญของประเทศจึงได้รับการยกระดับและเสริมความแข็งแกร่ง ด้วยการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

การก่อสร้างเฟสแรกของโครงการขนาด 250 เมกะวัตต์ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2562 ด้วยการพัฒนาโรงงานไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าบุยยังได้เปิดการใช้งานโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำขนาด 5 เมกะวัตต์แห่งแรกในภูมิภาคทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า และจ่ายพลังงานผ่านลานไกไฟฟ้าบุย (Bui Switchyard) ไปยังระบบจ่ายพลังงานส่วนกลางของประเทศ (National Interconnected Transmission System หรือ NITS)

ขับเคลื่อนการพัฒนาในภาคเหนือของกานา

โรงไฟฟ้าบุยผลิตไฟฟ้าพลังน้ำได้ 404 เมกะวัตต์ และเพิ่มเติมอีก 50 เมกะวัตต์จากการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ในบริเวณโรงงาน โดยกำลังการผลิตไฟฟ้าหมุนเวียนทั้งหมดคิดเป็นประมาณ 6-7% ของพลังงานทั้งหมดที่ผลิตในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 47,000 ตันต่อปี

ทั้งนี้ กานามีความจริงจังที่จะใช้ประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำที่สร้างขึ้นโดยโรงไฟฟ้าบุย เพื่อส่งเสริมการตกปลาในอ่างเก็บน้ำ และดูแลการชลประทานในพื้นที่ปลูกพืชผลการเกษตร เช่น ข้าวโพด มะม่วงหิมพานต์ และอ้อย รวมกว่า 30,000 เฮกตาร์

โรงไฟฟ้าบุยกำลังร่วมมือกับนักลงทุนเอกชนเชิงกลยุทธ์ เพื่อดำเนินการโรงงานแปรรูปมะม่วงหิมพานต์และโรงงานน้ำตาลในบริเวณบุย โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาการเกษตรในกานา ส่งเสริมการจ้างงาน และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น


ข่าวโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์+โรงไฟฟ้าพลังงานแสงวันนี้

บี.กริม เพาเวอร์ กดปุ่ม COD โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 14 เมกะวัตต์ ในประเทศญี่ปุ่น รุกขยายพอร์ตพลังงานทดแทนทุกภูมิภาคทั่วโลก มุ่งสู่เป้าหมาย Net-Zero

ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัท Odakura Kuchinashi Solar Park LLC ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ Lohas ECE Spain Gifu Co., Ltd. ถือหุ้น 100% ประกาศเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ (COD) ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน กำลังการผลิตติดตั้ง 14 เมกะวัตต์ในประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่นิชิชิราคาวะ จังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับบริษัท

TMI จับมือ บริษัท เจียมพัฒนาพลังงาน อินเต... TMI จับมือ "เจียมพัฒนาพลังงานฯ" รุกยุโรป ลุยธุรกิจ "โซลาร์ฟาร์ม" กำลังผลิต 130 MW — TMI จับมือ บริษัท เจียมพัฒนาพลังงาน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ลงนาม MOU ...

TMI จับมือ "เจียมพัฒนาพลังงานฯ" รุกยุโรป ลุยธุรกิจ "โซลาร์ฟาร์ม" กำลังผลิต 130 MW

TMI จับมือ บริษัท เจียมพัฒนาพลังงาน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ลงนาม MOU พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) กำลังการผลิต 130 เมกะวัตต์ ในทวีปยุโรป มูลค่าเงินลงทุน 4,000-5,000 ล้านบาท...

จีนผลักดันโครงการโซลาร์เซลล์ในทะเลทราย หนุนรายได้เกษตรกร

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของสำนักข่าวซินหัวสาขามองโกเลียใน เมื่อมองจากมุมสูง โซลาร์เซลล์สีฟ้าจำนวน 196,000 แผง ก่อตัวกันเป็นรูปม้าที่กำลังวิ่งฝ่าทะเลทรายคูปู้ฉี เมื่อเดินชมรอบ ๆ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้านไฉเติงของ...

บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน) น... พรีเมียร์ โพรดักส์ สร้างปรากฏการณ์ในงาน SETA 2024 เปิดตัวนวัตกรรมพลังงานสะอาดล้ำสมัย — บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน) นำโดยคุณ ธิติพัทธ์ อดิลักษณ...