ผู้แทนสื่อมวลชนและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ตลอดจนคณะทำงานระดับมันสมอง ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในเวทีประชุมย่อยด้านสื่อที่เมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ทางภาคตะวันออกของประเทศจีน เมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อร่วมกันหาแนวทางพัฒนาศักยภาพการสื่อสารกับนานาชาติ และยกระดับภาพลักษณ์และอิทธิพลของเมืองซูโจวในยุคสื่ออัจฉริยะ หรือสมาร์ทมีเดีย
การประชุมย่อยว่าด้วยอนาคตของสมาร์ทมีเดียนี้เป็นส่วนสำคัญของงานเอ็กซ์โปผลิตภัณฑ์ปัญญาประดิษฐ์และการใช้งานระดับโลก (Global AI Product & Application Expo) ประจำปี 2566 ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่เมืองซูโจว
คุณเฉิน เสว่หรง (Chen Xuerong) รองหัวหน้ากรมสารนิเทศ ภายใต้สังกัดคณะกรรมการเทศบาลแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเมืองซูโจว กล่าวปาฐกถาในการประชุมย่อยครั้งนี้ว่า ในท่ามกลางยุคสมัยแห่งสมาร์ทมีเดีย ซูโจวกำลังพยายามอย่างยิ่งที่จะค้นหาหนทางใหม่ ๆ ในการสื่อสารกับนานาชาติผ่านอินเทอร์เน็ต โดยใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบด้านทรัพยากรที่มีอยู่ และเพิ่มศักยภาพการสื่อสารกับนานาชาติของเมืองนี้
นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมท่านอื่น ๆ ก็ได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง และได้ร่วมแลกเปลี่ยนทรรศนะกับผู้เข้าร่วมประชุมเช่นกัน
คุณหรง จงเซีย (Rong Zhongxia) ผู้ช่วยผู้จัดการกรมข้อมูลข่าวสาร Xinhua Silk Road ในสังกัดสำนักงานบริการสารสนเทศเศรษฐกิจจีน (China Economic Information Service) หรือซีอีไอเอส (CEIS) ให้ข้อคิดเห็นว่า ควรจะมีความพยายามมากขึ้นในการปรับปรุงเนื้อหาและวิธีการสื่อสารกับนานาชาติ หาวิธีนำเสนอด้วยภาพและคำบรรยายที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศจีน และส่งเสริมการสื่อสารแบบบูรณาการหลากหลายวิธีการในเชิงลึกอย่างต่อเนื่อง
เพื่อจะได้เล่าเรื่องเมืองซูโจวได้ดียิ่งขึ้น ในการประชุมย่อยนี้จึงได้มีการเปิดเผยรายงานประจำปีเรื่องภาพลักษณ์ของเมืองซูโจวในโลกไซเบอร์ระดับโลก (ปี 2565-2566) ด้วย
รายงานฉบับนี้เปิดเผยโดยศูนย์ซีอีไอเอส สาขามณฑลเจียงซู รายงานมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศวิเคราะห์ข้อมูลสื่อกระแสหลักทั้งในและต่างประเทศ และนำเสนอเมืองซูโจวในโลกไซเบอร์ระดับโลกเป็นภาพสามมิติอย่างครอบคลุม ตลอดจนนำเสนอลักษณะการสื่อสาร ซึ่งทำให้ซูโจวได้มาตรการหลายอย่างที่สามารถนำไปใช้เสริมสร้างศักยภาพด้านการสื่อสารกับนานาชาติ ส่งเสริมภาพลักษณ์ของเมืองในโลกไซเบอร์ อีกทั้งนำไปต่อยอดสร้าง "หน้าต่างที่สวยที่สุด" เพื่อเปิดออกให้โลกได้เห็นถึงความทันสมัยของจีนต่อไป
ทั้งนี้ การประชุมย่อยซึ่งจัดโดยคณะบริหารไซเบอร์สเปซ (Cyberspace Administration) สังกัดคณะกรรมการเทศบาลแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเมืองซูโจวได้จัดขึ้นแล้ว 5 ครั้งตั้งแต่ปี 2561
ลิงก์ข่าวต้นฉบับ: https://en.imsilkroad.com/p/334740.html
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2140357/image_1.jpg
ต่อยอดความสำเร็จ MANUTECH Community สู่ครั้งที่ 3 พัฒนาศักยภาพ ตอบโจทย์ยุคดิจิทัลสำหรับบริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้หัวข้อ "Shaping the Future of Manufacturing" นำโดยคุณธีรพันธุ์ เหลืองนฤมิตชัย กรรมการผู้จัดการ ทีซีซี เทคโนโลยี พร้อมทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากทาง NECTEC ร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ ซึ่งภายในงานได้มุ่งเน้นถึงเทคโนโลยีที่เป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรม 4.0 เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระบบอัตโนมัติ และการผนวกเทคโนโลยีสารสนเทศและปฏิบัติการ (IT & OT) เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ
'XPENG Global Brand Night' - เปิดวิสัยทัศน์ระดับโลก พลิกโฉมอนาคตแห่งการขับเคลื่อน ด้วยกลยุทธ์ AI Tech Tree อัปเกรดใหม่
—
เอ็กซ์เผิง ผู้นำธุรกิจไฮ-เทคสมาร์...
PwC คาด AI agent จะพลิกโฉมธุรกิจและการจ้างงานในอีก 12 ถึง 24 เดือนข้างหน้า
—
PwC ประเทศไทย คาด 'AI agent' จะถูกนำมาใช้งานในธุรกิจไทยมากขึ้น หลังช่วยเพิ่มผ...
SO เดินเกมรุก ปักธง New S-Curve ดันโซลูชัน Workforce ผสาน AI เจาะตลาดพรีเมียม ตอกย้ำฐานะการเงินแกร่ง จ่ายปันผล 85% ของกำไร
—
บมจ.สยามราชธานี หรือ SO เดินห...
โครงการสัมมนาวิชาการ AI & Cyber Intelligence: The Future of Human-Machine Collaboration & Security
—
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัย...
ฟอร์ติเน็ต หนุนโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ อบรมฟรี "ปัญญาประดิษฐ์สำหรับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์" มอบใบเซอร์นักศึกษาและบุคคลทั่วไป
—
ฟอร์ติเน็ตให้การสนับสนุนหล...
ทีทีบี ขับเคลื่อนดิจิทัลด้วย Data และ AI ทรานส์ฟอร์มสู่ Hyper-Personalization มุ่งยกระดับประสบการณ์ทางการเงินให้ลูกค้ามีชีวิตการเงินที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง
—
ทีเอ็มบีธนช...
เทคโนโลยีเอไอ VS ภัยพิบัติ เอไอเข้ามามีบทบาทได้มากน้อยแค่ไหนในปัจจุบัน
—
ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ ตั้งแต่ไฟป่า แผ่...
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ SPU จับมือ BDI เปิดหลักสูตร 'Intermediate Data Science' รุ่น 1 อัปสกิลสู่มืออาชีพด้านวิเคราะห์ข้อมูล
—
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาล...