สกสว. ร่วมแบ่งปันภารกิจด้านการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และเสนอแนวคิด BCG ของประเทศไทย ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของความร่วมมือ "ไทย - นครเซี่ยงไฮ้ " พร้อมเข้าพบคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ (STCSM) และเยี่ยมชมโรงงานบำบัดน้ำเสียใต้ดินแบบครบวงจร รวมถึงศูนย์วิจัยที่สนับสนุนข้อมูลด้านเคมี ที่ใหญ่ที่สุดในเซี่ยงไฮ้
เมื่อเร็วๆ นี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในฐานะผู้แทนผู้อำนวยการ สกสว. เข้าร่วมการประชุม Bangkok Shanghai Economic Conference (BSEC) ครั้งที่ 6 ณ สถานกงสุลใหญ่ นครเซี่ยงไฮ้ โดยได้รับเชิญให้บรรยายในหัวข้อ Introduction of Thailand Science Research and Innovation (TSRI) and BCG concept of Thailand เนื่องจาก สกสว.เป็นหน่วยงานที่มีส่วนสำคัญของความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสีเขียว และขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ BCG Economy Model
รอง ผอ. สกสว. กล่าวว่า สกสว. มีความร่วมมือ (MOU) กับคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ (Science and Technology Commission of Shanghai Municipality : STCSM) เพื่อร่วมกันสนับสนุนการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในมิติต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย 1.ด้านชีวเภสัชภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพ 2.ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร 3.ด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน 4.ด้านปัญญาประดิษฐ์และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และ 5.ธนาคารเทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology Bank) ทั้งในส่วนของการร่วมสนับสนุนโครงการวิจัย การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านนโยบายและมาตรการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สำคัญ เป็นต้น โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา และประธานคณะอนุกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม และ นาย กง เจิ้ง นายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้ ให้เกียรติเป็นสักขีพยานในพิธีลงนาม ณ Chinese Academy of Sciences Innovation Cooperation Center (Bangkok)
สำหรับ ความร่วมมือดังกล่าว สอดคล้องกับแผนด้าน ววน. ปี 2556-2570 ในยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ประเทศไทยยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy ) หรือ BCG เพื่อสนับสนุนส่งเสริมและขับเคลื่อนการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน โดยอาศัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม
ในการนี้ รองผู้อำนวยการ สกสว. ได้เข้าพบ คณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ เพื่อหารือการดำเนินงาน ตามที่ได้ลงนามร่วมกัน โดยหวังว่าความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนพันธกิจขององค์กรทั้งสอง พร้อมกับเยี่ยมชม Shanghai Chengtou Water Group โรงงานบำบัดน้ำเสียใต้ดินแบบครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งมีกำลังการผลิต 40,000 ลบ.ม. ต่อวัน เทียบได้กับโรงงานบำบัดน้ำเสียส่วนกลางที่มาบตาพุดประมาณ 30 เท่า ซึ่งมีกระบวนการบำบัดน้ำเสียที่มีการออกแบบและใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินการก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำในเมืองเซี่ยงไฮ้ ส่วนของเสียที่เป็นกากตะกอนที่เผาไหม้ได้จะถูกขนส่งไปยังเป็นเชื้อเพลิงยังโรงไฟฟ้า
ก่อนเยี่ยมชม Shanghai Research Institute of Chemical Industry ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนข้อมูลด้านเคมีให้กับอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 4 เทคโนโลยีหลัก คือ Advanced Material, Bio-medicine, Public Safety, Energy Conservation and environment Protection อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนผู้ประกอบให้สามารถเข้ารับบริการได้ตั้งแต่การประเมินด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาและการวิจัย การจัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาหรือเครื่องมือ ไปจนถึงการออกแบบและวางแผนการสร้างโรงงานเพื่อดำเนินการได้จริง ซึ่งทางศูนย์นี้ได้มีการดำเนินการเรื่องพัฒนาพลาสติกร่วมกับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน
นอกจากนี้ ยังได้เยี่ยมชม Green technology bank (GTB) หน่วยงานที่ไม่ใช่ธนาคาร แต่เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบ เข้าถึงการสนับสนุนของธนาคารได้เหมาะสม เช่นการลงทุนในกรีนเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วยดอกเบี้ยต่ำ หรือกลไกสนับสนุนการการเงินเพื่อการลงทุนอื่น ๆ ที่เหมาะสม ที่ทาง GTB ได้ให้การรับรองกับกรีนเทคโนโลยีที่ผ่านเกณฑ์ โดยการรวบรวมและจัดประเภทกรีนเทคโนโลยีไว้ในระบบข้อมูล เพื่อให้ผู้ประกอบการมั่นใจและเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง ทั้งนี้ ทาง GTB ได้เปิดสาขาในต่างประเทศที่สาขาแรก คือที่กรุงเทพมหานครอีกด้วย โดยคาดว่าจากการลงนามความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกันมากขึ้น
(วันที่ 17 เมษายน 2568) ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อาคารวิจัยโยธี ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ นางรวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) และ ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือสำหรับตรวจสอบ และรับรองพื้นที่ตามระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัด
นักเรียนไทยคว้ารางวัลนำเสนอโครงงาน จากเวทีประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ICYS 2025
—
นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาส...
วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...
วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...
โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า"
—
โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลด...
วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...
วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว."
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...
TCMA ร่วม Thailand CCUS สู่เป้าหมาย Net Zero 2050
—
นายนภดล รมยะรูป อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (Thai Cement Manufacturers Association: TCMA) ร...