ยาประเภทใหม่ช่วยป้องกันกลไกความชราในการปลูกถ่ายอวัยวะ

การศึกษาที่ค้นพบใหม่แสดงให้เห็นว่าเซโนลีติกส์ (Senolytics) ซึ่งเป็นยาประเภทใหม่นั้น มีศักยภาพในการป้องกันการถ่ายโอนการเสื่อมสลายของเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของความชราในผู้รับอวัยวะจากผู้บริจาคที่มีอายุมากกว่า

งานวิจัยบุกเบิกซึ่งนำเสนอในวันนี้ที่การประชุมของสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งยุโรป (European Society for Organ Transplantation Congress หรือ ESOT) ประจำปี 2566 แสดงให้เห็นช่องทางที่น่าจะประสบความสำเร็จในการขยายกลุ่มผู้บริจาคอวัยวะ และปรับปรุงผลลัพธ์ให้ผู้ป่วย

นักวิจัยจากโรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School) และมาโย คลินิก (Mayo Clinic) ได้ปลูกถ่ายอวัยวะของผู้บริจาคที่มีอายุมากกว่าให้ผู้รับที่อายุน้อยกว่า เพื่อศึกษาบทบาทของการปลูกถ่ายอวัยวะในการกระตุ้นให้เกิดการชราภาพ ซึ่งเป็นกลไกทางชีวภาพที่เชื่อมโยงกับความชราและโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุ นักวิจัยได้ทำการปลูกถ่ายหัวใจโดยแยกตามอายุที่ต่างกันจากหนูอายุน้อย (3 เดือน) และหนูอายุมาก (18-21 เดือน) ไปยังผู้รับที่อายุน้อยกว่า ผู้รับหัวใจจากหนูอายุมากแสดงความถี่ของเซลล์ชราที่เพิ่มขึ้นในการระบายต่อมน้ำเหลือง ตับ และกล้ามเนื้อ นอกเหนือจากการเพิ่มระดับดีเอ็นเอไมโทคอนเดรีย (mt-DNA) ในระบบ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้รับที่ได้รับการปลูกถ่ายจากหนูอายุน้อย จึงเห็นได้ว่าการปลูกถ่ายอวัยวะจากหนูอายุมากทำให้ผู้รับมีความบกพร่องทางร่างกายและการรู้คิดมากกว่าอย่างชัดเจน

การวิจัยยังได้ค้นพบวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้สำหรับกระบวนการนี้ ด้วยการใช้เซโนลีติกส์ ซึ่งเป็นยาประเภทใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อกำหนดเป้าหมายและกำจัดเซลล์เสื่อมสภาพ เมื่อผู้บริจาคสูงวัยได้รับการบำบัดด้วยเซโนลีติกส์ (ดาซาทินิบ (Dasatinib) และเควอซิทิน (Quercetin)) ก่อนการจัดเตรียมผ่าตัดอวัยวะ การถ่ายโอนความชราภาพจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากการสะสมของเซลล์เสื่อมสภาพและดีเอ็นเอไมโทคอนเดรียลดลง ผู้รับที่ได้รับอวัยวะจากผู้สูงวัยที่บำบัดด้วยเซโนลีติกส์มีสมรรถภาพทางกายที่ดีขึ้น ซึ่งเทียบได้กับผลจากการสังเกตในกลุ่มผู้รับที่ได้อวัยวะจากผู้บริจาคอายุน้อย

แม็กซิมิลเลียน เจ โรเซล (Maximillian J. Roesel) ผู้นำเสนอการศึกษาวิจัยนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้วิจัยที่โรงพยาบาลบริกแฮมและสตรี (Brigham and Women's Hospital) โรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้ความเห็นว่า "อายุของผู้บริจาคมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการปลูกถ่าย โดยผู้รับอวัยวะจากผู้ที่มีอายุมากกว่าต้องเผชิญกับผลลัพธ์ที่แย่ลง อย่างไรก็ตาม การใช้อวัยวะของผู้บริจาคที่มีอายุมากถือเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอวัยวะทั่วโลก และงานวิจัยนี้ให้ความกระจ่างถึงความท้าทายพื้นฐานและแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้สำหรับการใช้อวัยวะจากผู้ที่มีอายุมากกว่า"

สเตฟาน จี ทัลเลียส (Stefan G. Tullius) ผู้เขียนหลักของการศึกษาวิจัยนี้ กล่าวสรุปว่า "ในอนาคต เราจะตรวจสอบบทบาทที่เป็นไปได้ของเซโนลีติกส์ในการป้องกันการถ่ายโอนความชราภาพในมนุษย์ การวิจัยครั้งนี้น่าตื่นเต้นอย่างมากเนื่องจากอาจช่วยให้เราปรับปรุงผลลัพธ์ และยังทำให้อวัยวะต่าง ๆ มีพร้อมสำหรับการปลูกถ่ายมากขึ้น"

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ

ขอให้อ้างถึงงานประชุมอีเอสโอที คองเกรส (ESOT Congress) ประจำปี 2566 ในทุกครั้งที่เผยแพร่เนื้อหานี้


ข่าวบริจาคอวัยวะ+การประชุมวันนี้

สภากาชาดไทย ผนึกกำลัง เครือซีพี - ทรู เดินหน้ารณรงค์บริจาคอวัยวะและดวงตา ภายใต้โครงการ "Let Them See Love 2025" ต่อเนื่องเป็นปีที่ 19

แค่หนึ่งการให้…อาจเปลี่ยนทั้งชีวิตของใครหลายคน สภากาชาดไทย ผนึกกำลัง เครือซีพี ทรู เดินหน้ารณรงค์บริจาคอวัยวะและดวงตา ภายใต้โครงการ "Let Them See Love 2025" ต่อเนื่องเป็นปีที่ 19 ผ่านภาพยนตร์โฆษณา "ขอบคุณผู้ให้" พลังแห่งการกอด แทนคำขอบคุณที่ยิ่งใหญ่ สงกรานต์นี้ เริ่มต้นปีใหม่ไทยด้วยการให้… ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย โดย นายแพทย์วิศิษฏ์ ฐิตวัฒน์ ผู้อำนวยการ พร้อมด้วย ศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงลลิดา ปริยกนก ผู้อำนวยการ ร่วมกับ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และทรู คอร์ปอ

จัดเป็นประจำทุกไตรมาส สำหรับกิจกรรม บริจา... เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ จัดกิจกรรมบริจาคโลหิต อวัยวะและดวงตา หนึ่งคนให้ หลายคนรับ ครั้งที่ 15 — จัดเป็นประจำทุกไตรมาส สำหรับกิจกรรม บริจาคโลหิต อวัยวะและดวงต...

นางสาวศตกมล วรกุล (คนกลาง) ผู้อำนวยการอาว... เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ จัดกิจกรรมบริจาคโลหิต อวัยวะและดวงตา หนึ่งคนให้ หลายคนรับ ครั้งที่ 15 — นางสาวศตกมล วรกุล (คนกลาง) ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายสื่อสารองค์กร...