ท่ามกลางอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก มะเร็งที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงอย่างมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกกำลังเป็นเรื่องที่น่ากังวลมากที่สุด ทั้งที่ปัจจุบันการเข้าถึงการตรวจวินิจฉัย และการรักษามีความก้าวล้ำไปอย่างมาก แต่เหตุใดยังมีผู้หญิงที่ยังเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเหล่านี้ ในปี 2องค์การอนามัยโลก2องค์การอนามัยโลก มีผู้ป่วยด้วยมะเร็งเต้านมสูงขึ้นอันดับหนึ่งแซงหน้ามะเร็งปอด ขณะที่มะเร็งปากมดลูกมีอัตราการเสียชีวิตสูงสุดเป็นอันดับสอง องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงได้กำหนด 2 กลยุทธ์ระดับโลก Global Breast Cancer Initiative ซึ่งตั้งเป้าที่จะลดอัตราการเสียชีวิตของมะเร็งเต้านมลง 2.5% ต่อปี ภายในปี 2องค์การอนามัยโลก4องค์การอนามัยโลก และกลยุทธ์ทั่วโลกสำหรับการกำจัดมะเร็งปากมดลูกผ่านเป้าหมาย 3 ประการภายในปี 2องค์การอนามัยโลก3องค์การอนามัยโลก คือ ฉีดวัคซีน HPV 9องค์การอนามัยโลก% การตรวจคัดกรอง 7องค์การอนามัยโลก% และการรักษา 9องค์การอนามัยโลก%
ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้ประเทศต่างๆ ทราบข้อมูลเจาะลึกเกี่ยวกับภาระ เส้นทางการดูแลรักษา และสภาพแวดล้อมเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก Economist Impact จึงได้เปิดตัว ไวท์เปเปอร์ (White Paper) ฉบับใหม่ ซึ่งจัดทำโดย Asia-Pacific Women's Cancer Coalition (APAC WCC) โดยการสนับสนุนจากบริษัท Roche (โรช) ในหัวข้อ "Impact and opportunity: the case for investing in women's cancers in Asia Pacific" (ผลกระทบและโอกาส: การลงทุนและการดำเนินการเร่งด่วนที่จำเป็น เพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งของผู้หญิงในเอเชียแปซิฟิก) เป็นการศึกษาใน 6 ประเทศใน APAC ได้แก่ ไทย อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
รายงานระบุว่า ในเอเชียมีผู้หญิงที่เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านม 45% จากจำนวนผู้ป่วยหญิงทั่วโลก 2.3 ล้านราย ขณะเดียวกัน มีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก 58% ในเอเชีย ซึ่งอัตราการเสียชีวิตด้วยมะเร็งเต้านมยังเพิ่มขึ้นในทุกประเทศของภูมิภาค อุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมในเอเชียคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 20.9% ระหว่างปี 2029 ถึง 2030 และมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 27.8% ขณะที่อุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 18.9% และอัตราการเสียชีวิต 24.9% ที่สำคัญคือ ผู้หญิงในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางมีผลลัพธ์ที่ไม่ดีในเรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก เนื่องมาจากความตระหนักรู้น้อย และการขาดการเข้าถึงบริการตรวจคัดกรอง การตรวจวินิจฉัย การรักษา และการดูแลที่มีคุณภาพและทันท่วงที
เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิชาการและผู้ที่ขับเคลื่อนเรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ได้รวมตัวในงานสัมมนาในหัวข้อ "Empower Her: Advancing Women's Cancer Care in Asia Pacific" โดย อาเหม็ด เอลฮุสไซนี Area Head โรช ฟาร์มาซูติคอล เอเชีย แปซิฟิก กล่าวว่า มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเป็นความเสี่ยงด้านสุขภาพที่ผู้หญิงในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ต้องเผชิญโดยไม่อาจปฏิเสธได้ ด้วยเหตุนี้ APAC WCC ในฐานะผู้ที่มีความมุ่งมั่นแก้ไขปัญหานี้ จึงได้ริเริ่มทำไวท์เปเปอร์ฉบับนี้เพื่อระบุแนวทางที่ชัดเจนในการจัดการกับมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
"ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ประเทศต่าง ๆ จะต้องจัดลำดับความสำคัญด้านสุขภาพของผู้หญิง ด้วยการเสริมสร้างนโยบายทางการเมือง จัดทำแผนและมาตรการที่แข็งแกร่ง ส่งเสริมการคัดกรองและป้องกัน และปรับปรุงการเข้าถึงการดูแลรักษาให้เท่าเทียมกัน นอกจากนั้น ต้องมีการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างขีดความสามารถและเงินทุน ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ และให้ความสำคัญกับผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก"
ผลกระทบจากโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกไม่เพียงส่งผลต่อผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงครอบครัว และสังคมในวงกว้างด้วย ดังนั้น การให้เงินทุนสำหรับโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ถือว่าเป็นภาระและค่าใช้จ่ายที่สำคัญสำหรับรัฐบาล เนื่องจากเงินทุนเกี่ยวกับเรื่องนี้ใน 6 ประเทศยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก
ดร. โซเมช กุมาร์ ผู้อำนวยการประจำประเทศของ Jhpiego อินเดีย และผู้อำนวยการผู้อาวุโสฝ่ายความเป็นผู้นำด้านเทคนิคและนวัตกรรม ของ Jhpiego, MD/US กล่าวว่า "มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกมีความท้าทายหลายมิติ ทั้งด้านระบบสุขภาพและสังคม การให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้จากทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนความพร้อมของเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะทำให้การตรวจคัดกรองมะเร็งในสตรีเกิดขึ้นได้เร็วและเท่าเทียมกันมากขึ้น ซึ่งจะช่วยยกระดับความพยายามในการป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดในภูมิภาคเอเชียไปสู่อีกระดับหนึ่ง"
แม้ปัจจุบันจะมีความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการรักษาที่น่าทึ่ง แต่กลับพบว่าผู้ป่วยบางรายกลับมาเป็นซ้ำอีกในระยะยาว ซึ่งเป็นเหตุผลว่าที่จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลมะเร็งเต้านมตั้งแต่เนิ่น ๆ และเพิ่มการดำเนินการให้มากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้โรคพัฒนาไปสู่ระยะลุกลาม ระยะที่รักษาไม่หาย ซึ่งจะยิ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนทางการรักษาทั้งทางตรง และทางอ้อม โดยรายงาน Impact and opportunity: the case for investing in women's cancers in Asia Pacific (ผลกระทบและโอกาส: การลงทุนและการดำเนินการเร่งด่วนที่จำเป็น เพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งของผู้หญิงในเอเชียแปซิฟิก) ได้ระบุขั้นตอนสำคัญหลายประการ เพื่อช่วยให้ประเทศต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมของ WHO ดังนี้
แลนซ์ ลิตเติ้ล กรรมการผู้จัดการ โรช ไดแอกโนสติกส์ เอเชีย แปซิฟิก กล่าวเสริมว่า ความจำเป็นในภาระ ค่าใช้จ่าย และการดำเนินการเพื่อรับมือกับแนวโน้มที่น่าตกใจของโรคมะเร็งในสตรีนั้นปรากฏชัดเจนในรายงาน Impact and opportunity: the case for investing in women's cancers in Asia Pacific (ผลกระทบและโอกาส: การลงทุนและการดำเนินการเร่งด่วนที่จำเป็น เพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งของผู้หญิงในเอเชียแปซิฟิก)
"การร่วมมือกันระหว่างพันธมิตรในระบบนิเวศด้านการดูแลสุขภาพจะช่วยลดช่องว่างและประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อผู้หญิงหลายแสนคนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็ง และโรชจะยังคงเดินหน้าช่วยปกป้องผู้หญิงจากภัยคุกคามของโรคมะเร็งในปีต่อ ๆ ไป"
องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (TB) อาจกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักจากการติดเชื้อทั่วโลกจากเชื้อโรคตัวเดียว ซึ่งวัณโรคดื้อยาหลายชนิดยังคงเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อสุขภาพประชาชนและความมั่นคงด้านสุขภาพ โดยวันวัณโรคโลกนี้ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) คณะแพทยศาสตร์ในประเทศเกรนาดา หมู่เกาะเวสต์อินดีส เน้นย้ำถึงภาระของวัณโรคในประเทศไทยและบทบาทสำคัญของมาตรการป้องกันในการต่อสู้กับโรคนี้ วัณโรคยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากการติดเชื้อที่สำคัญทั่วโลก โดยคร่าชีวิต 1.5 ล้านคนในแต่ละปี ตามข้อมูลจาก
สธ. จับมือภาคีหนุนส่งนมแม่ฟรี ดันเป้าเด็กแรกเกิดกินนมแม่ 6 เดือนแรก มากกว่าร้อยละ 50
—
นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในโอกาสเ...
นมแม่มีประโยชน์ กรมอนามัย แนะ ทารก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ แนะ ทารกกินน...
"Check PD" แอปพลิเคชันตรวจหาความเสี่ยงเป็นพาร์กินสัน รู้เร็ว รักษาไว เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี
—
หากเอ่ยถึง "โรคพาร์กินสัน" ภาพการรับรู้ของหลายคนจะม...
กทม. เตรียมพร้อมติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อหิวาตกโรค-แนะยึดหลัก "กินร้อน ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ"
—
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.)...
งานประกาศผลการประกวดคลิปสั้น The PAUSE Project : eyes up phone down เดินเท้าปลอดภัย
—
สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับองค์การอนามัยโล...
องค์การอนามัยโลกจับมือประเทศไทย และ 194 ประเทศ เร่งสร้างฉันทมติดันความเสมอภาคสุขภาพช่องปากเป็นวาระโลก
—
ประเทศไทย โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุม...
กรมอนามัยลงพื้นที่จังหวัดสงขลา มอบรางวัลเชิดชูเกียรติเมืองสุขภาพดีระดับประเทศ และรางวัลเครือข่ายเมืองสุขภาพดีระดับภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก (SEAR)
—
วานนี้ (25 ...
FAO จัดงาน World AMR Awareness Week Food Fair 2024 รวมพลังลดปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ
—
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ร่วมกับ องค์การอนามั...
"CEO-NV ร่วมตัดริบบิ้นก่อตั้งแพลตฟอร์มการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพการแพทย์ แผนจีน-ไทย-มาเก๊า"
—
ข่าวธุรกิจของมาเก๊าเปิดเผยว่า เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมด...