SRS เคาะราคาขาย IPO ที่หุ้นละ อุตสาหกรรม6 บ. เตรียมเปิดให้นักลงทุนจองซื้อวันที่ ซอฟต์แวร์ - 4 ต.ค.นี้ แต่งตั้ง CGS-CIMB เป็น Lead-Underwriter มั่นใจผลตอบรับดี จากปัจจัยพื้นฐานธุรกิจแข็งแกร่ง ความต้องการด้านซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้นสอดรับเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค และขับเคลื่อนการทำ Digital Transformation ทำให้ SRS หุ้นน้องใหม่ IT Consulting Service เนื้อหอม อยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต สะท้อนจากผลงาน ที่ผ่านมา ปีที่ผ่านมาโตกว่าเท่าตัว พร้อมนำเงินระดมทุนปลดล็อกศักยภาพการขยายทีม ขยายบริการ และขยายฐานลูกค้า ปักธงเทรด mai อุตสาหกรรมขับเคลื่อน ต.ค. นี้
โดยบริษัท สิริซอฟต์ จำกัด (มหาชน) หรือ SRS เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 40,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็นไม่เกิน 25% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งนี้ ได้แต่งตั้ง บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย พร้อมแต่งตั้ง ผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุน ประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัทหลักทรัพย์ เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ จำกัด
นายพัชระนนท์ ชีวเกรียงไกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย เปิดเผยว่า หลังจาก บมจ. สิริซอฟต์ หรือ SRS ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อเตรียมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 40 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็นไม่เกิน 25% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งนี้
ล่าสุดได้รับการอนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบไฟลิ่งมีผลบังคับใช้แล้ว จึงกำหนดราคาเสนอขาย IPO ที่ 16 บาทต่อหุ้น เตรียมเปิดให้นักลงทุนจองซื้อในวันที่ 2 - 4 ตุลาคม 2566 และคาดว่าจะนำหุ้น SRS เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในวันที่ 10 ตุลาคม 2566 ในหมวดธุรกิจเทคโนโลยี (Technology)
สำหรับราคาหุ้นสามัญที่เสนอขายหุ้นละ 16 บาท ถือเป็นระดับราคาที่เหมาะสม คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E) ที่ประมาณ 38.37 เท่า โดยคำนวณกำไรสุทธิต่อหุ้นจากผลการดำเนินงานในช่วง 4 ไตรมาสล่าสุด (ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2566) ทั้งนี้ SRS พิจารณานำ P/E ของคู่เทียบในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ในช่วง 30 วันทำการ นับจากวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ถึงวันที่ 22 กันยายน 2566 มาเป็นข้อมูลประกอบการเปรียบเทียบ ซึ่งมี P/E เฉลี่ยอยู่ที่ 51.76 เท่า
และมั่นใจว่า ภายหลังเสนอขายหุ้น IPO ของ SRS จะนำเงินไปใช้ขยายการเติบโต เพิ่มขีดความสามารถ SRS เป็นหนึ่งในผู้นำขับเคลื่อนการทำ Digital Transformation โดยนำเสนอบริการให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับองค์กร พัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพตอบโจทย์สังคมยุคดิจิทัล
นายสิริวัฒน์ ธนุรเวท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิริซอฟต์ จำกัด (มหาชน) (SRS) เปิดเผยว่า บริษัทฯ พร้อมขับเคลื่อนการเติบโตด้วยซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ และก้าวต่อไปอย่างมั่นคงสู่การเป็นบริษัทผู้ให้บริการ Information Technology Services รายใหญ่ของประเทศไทย ที่มีแนวทางการทำงานแบบ DevOps (Development & Operations) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง มุ่งสร้างผลประกอบการที่ดีในระยะยาว
การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในครั้งนี้ จึงเป็นการปลดล็อกข้อจำกัดต่างๆ ทั้งในด้านการบริหารทีมนักพัฒนา แหล่งเงินทุน และแผนการขยายตลาดเชิงรุก โดยเงินระดมทุนที่ได้จำนวนประมาณ 614.7 ล้านบาท (หลังหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง) จะนำไปใช้ การพัฒนาและปรับปรุงซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานภายในองค์กร 20 ล้านบาท ใช้ในการสรรหาและพัฒนาบุคลากรในการพัฒนาระบบหรือซอฟต์แวร์ รวมถึงการขยายพื้นที่สำนักงาน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ 280 ล้านบาท และ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ 314.7 ล้านบาท รองรับโอกาสการเติบโตในอนาคต
อย่างไรก็ดี ด้วยความแข็งแกร่งของธุรกิจ และ DevOps Culture คือหัวใจในการเติบโตต่อเนื่องตลอด 8 ปีที่ผ่านมา SRS จึงพร้อมมุ่งสู่เป้าหมายในการเป็นบริษัท IT Consulting Service ที่สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ดีๆ ให้แก่ประเทศ โดยในกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ก่อตั้ง มั่นใจในการเติบโต พร้อมใจกัน lock up หุ้นทั้งหมด 100% เป็นระยะเวลา 1 เดือน เพิ่มเติมจากหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดในการติด Silent Period ห้ามขายหุ้นในสัดส่วน 55% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน
นางสาวเดือนพรรณ ลีลาวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไพโอเนีย แอดไวเซอรี่ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวปิดท้ายถึงความน่าสนใจของ SRS เป็นบริษัทที่มีศักยภาพ และมีความน่าสนใจในหลายๆ ด้าน ด้วยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ High Code ซึ่งมีความต้องการสูงในอุตสาหกรรม ประกอบกับ DevOps Culture และการให้บริการออกแบบพัฒนาซอฟต์แวร์โดยใช้สถาปัตยกรรมแบบ Microservices ทำให้วันนี้ SRS มีความโดดเด่นในการนำเสนอซอฟต์แวร์ที่ดีให้แก่ลูกค้า สามารถส่งมอบงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ลูกค้าซึ่งมีแผนการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
สะท้อนมาที่การเติบโตของผลการดำเนินงานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2563 - 2565) SRS มีการเติบโตของรายได้ CAGR เฉลี่ย 137.37% เนื่องจากการขยายทีมนักพัฒนา ตอบโจทย์ลูกค้าองค์กรที่มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ และให้ความสำคัญในด้าน Digital Transformation เป็นอีกบทพิสูจน์ความไว้วางใจที่ลูกค้ามีต่อบริษัท และ ณ สิ้นมิถุนายน 2566 SRS มี Backlog อยู่ในระดับสูงราว 526 ล้านบาท กำหนดส่งมอบงานในปีนี้สูงถึง 297 ล้านบาท รวมทั้ง บริษัทมี Recurring Income สูงถึง 44% ส่งผลให้บริษัทมีรายได้ที่ต่อเนื่องและมั่นคง เป็นอีกปัจจัยสะท้อนความแข็งแกร่งทางการเงิน และการเติบโตที่โดดเด่นเมื่อเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรม จึงมั่นใจว่า เงินระดมทุนครั้งนี้ จะยิ่งสนับสนุนให้ SRS เติบโตตามแผนงานที่วางไว้
ทั้งนี้ สำหรับผลการดำเนินงานปี 2563 - 2565 SRS มีรายได้จากการขายและบริการ อยู่ที่ 72.91 ล้านบาท 187.03 ล้านบาท และ 410.81 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 14.39 ล้านบาท 25.47 ล้านบาท และ 68.69 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 19.73% , 13.51% และ 16.67% ของรายได้รวม ตามลำดับ ด้านผลการดำเนินงาน 6 เดือนแรกของปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้รวม 306.24 ล้านบาท มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 47.34 ล้านบาท มีอัตรากำไรขั้นต้น 35.46% และอัตรากำไรสุทธิ 15.47% อีกทั้ง มีพนักงานรวมทั้งสิ้น 238 คน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของฝ่ายพัฒนาซอฟต์แวร์ และฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นหลัก ซึ่งมีอยู่ที่ 124 คน
กรมการท่องเที่ยว ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และจากนโยบายรัฐบาลที่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อกระจายรายได้สู่ทุกภาคส่วน ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง ซึ่งปัจจุบันการท่องเที่ยวในประเทศ เริ่มมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งมีความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวที่เน้นความอิสระ การท่องเที่ยวที่มีความสงบเน้นท่องเที่ยวด้วยตัวเอง หรือเฉพาะกลุ่มเล็ก ๆ หรือการท่อง
มณฑลฝูเจี้ยนรวมพลังแหล่งมรดกโลก ขับเคลื่อนการพัฒนาวงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างมีคุณภาพ
—
คณะผู้จัดงานประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวมณฑ...
ดีพร้อมระดมพล ปั้นนักรบซอฟต์พาวเวอร์แฟชั่น ปักธงไทยในใจตลาดโลก!
—
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กระทรวงอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนนโยบาย Soft Powe...
SUBCON Thailand 2025 เปิดเวทีงานแสดงชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและจับคู่ธุรกิจ โดย BOI พร้อมพันธมิตรครบทุกภาพส่วน เสริมแกร่งภาคอุตสาหกรรมการผลิต
—
บีโอไอ ผนึกกำลัง...
หอการค้านานาชาติ (ICC) ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนทั่วโลก
—
หอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานใ...
คปภ. เปิดตัวระบบ Open Insurance ปลดล็อกอุตสาหกรรมประกันภัยไทยสู่ยุคดิจิทัล สร้างระบบนิเวศในการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้อย่างมีมาตรฐาน โปร่งใส และปลอดภัย
—
นายชูฉัตร ป...
ผลักดันไทยสู่ศูนย์กลางการเรียนรู้ไมซ์แห่งอาเซียน
—
ทีเส็บ จัดงาน MICE Academy Day 2025 ครั้งที่ 7 มุ่งยกระดับพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ เสริมความแข็งแ...
25 ปี "Pet Expo Thailand" กลไกใหม่กระตุ้นเศรษฐกิจ ขับเคลื่อน "อุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยง" ประเทศไทย
—
หากจะพูดถึงงานแสดงสินค้าและบริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงที่ย...