อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ เป็นประธานเปิดพิธีการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ World Robot Olympiad 2องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ23 พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ บุณยรักษ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ผู้บริหาร และ อาจารย์ ได้เข้าร่วมชมการแข่งขันพร้อมให้กำลังใจนักเรียนในการแข่งขัน ซึ่งในครั้งนี้ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ บริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด และมหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ ระดับภูมิภาค ภาคเหนือ ประจำปี 2566 เพื่อเป็นเวทีให้เยาวชนไทยได้แสดงศักยภาพด้านการออกแบบและเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงจุดประกายความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทยให้ก้าวไกลต่อไปในอนาคตตามนโยบาย ประเทศไทย 4.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยหัวข้อการแข่งขันประเภทหุ่นยนต์อัตโนมัติ (ROBOMISSION) คือ Connecting The World
การแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ ระดับภูมิภาค ภาคเหนือ มีทีมเข้าร่วมกว่า 98 ทีม หรือ 400 คน จากหลายจังหวัดในภาคเหนือ การแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 รุ่น คือรุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี จำนวน 33 ทีม รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี จำนวน 23 ทีม และ รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี จำนวน 42 ทีม โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องเขียนโปรแกรมและออกแบบหุ่นยนต์ เพื่อทำภารกิจที่กำหนดในสนาม ผู้ชนะการแข่งขันในแต่ละรุ่นจะได้รับสิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับชิงแชมป์ประเทศและเพื่อเฟ้นหาสุดยอดเยาวชนไทย เข้าชิงแชมป์การแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ระดับโลก ณ สาธารณรัฐปานามา ต่อไป
สำหรับโครงการแข่งขันโอลิมปีกหุ่นยนต์ (WRO 2023: World Robot Olympiad 2023) ในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐฯ และเอกชน อาทิ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยพะเยา และ บริษัท อิชิตัน กรุป จำกัด (มหาชน) การแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ ระดับภูมิภาค ภาคเหนือ จัดขึ้นในวันที่ 28-29 กรกฎาคม 2566 ณ หอประชุมพญางำเมือง มหาวิทยาลัยพะเยา
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งกับ นางสาวยอดขวัญ อาจทะนงค์ นิสิตสาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับรางวัล "นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น" ในโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20 (Young Thai Science Ambassador, YTSA#20) ซึ่งจัดโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับหน่วยงานภาคี นางสาวยอดขวัญ ได้แสดงศักยภาพและความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ได้อย่างยอดเยี่ยม จนได้รับการคัดเลือกและได้รับรางวัลนี้ โดยมี ดร.สืบกุล กาญจนสุกร์
กรมวิทย์ฯ บริการ จับมือ อพวช. หนุนบุคลากร "พัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์" เสริมพลังการสื่อสารสร้างการรับรู้ เข้าใจ และเข้าถึงประชาชน
—
กรมวิทยาศาสตร์บริ...
อพวช. ชวนเที่ยวงาน "ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ 2568"
—
อพวช. ชวนเที่ยวงาน "ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ 2568" ภายใต้แนวคิด "Little Scien...
เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 20 เริ่มแล้ว
—
สสวท. จับมือสถาบันเกอเธ่ และหน่วยงานเครือข่ายพาชมฟรีหนังวิทย์ชั้นดีนานาชาติ หัวข้อ "การป...
NSM ร่วมเปิดงาน Sustainability Expo 2024 (SX2024) มหกรรมความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ชวนร่วมค้นคำตอบเพื่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืนใน "ยุคโลกเดือด"
—
ดร.กรรณิการ...
NSM X EGAT ส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมสู่สังคม
—
ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ...
NSM เปิดตัว "ScIAM Meta Museum" โฉมใหม่ ชวนสัมผัสโลกเมตาเวิร์ส ผจญภัยการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สุดมหัศจรรย์
—
เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2567 ที่ ศูนย์แสดงสินค้าแ...
EGCO Group ผนึกกำลัง NSM ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงาน วิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม
—
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO Group ผนึกกำลัง องค์การพิพิธ...
EGCO Group โดย ศูนย์เรียนรู้โรงไฟฟ้าขนอม เปิดนิทรรศการ “Climate Tech เด็กเปล่งแสง ลดโลกเดือด” ในมหกรรมวิทย์ฯ ปี 67
—
EGCO Group โดย ศูนย์เรียนรู้โรงไฟฟ้าข...