มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) โดยคณะวิทยาศาสตร์ เผยค้นพบพืชวงศ์กระดังงา 2 ชนิดใหม่ของโลก ได้แก่ "บุหงาเซิงเบตง" มีลักษณะเด่นดอกสีเหลือง มีสีเขียวบริเวณโคนกลีบ กับ "บุหงาเซิงฮาลา" มีใบประดับขนาดใหญ่รูปไข่กว้าง กลีบดอกสีเหลือง ที่ ป่าฮาลา-บาลา จ.ยะลา โชว์ผลงานตีพิมพ์ในวารสาร Phytotaxa ระดับนานาชาติฐาน WOS ระดับ Quartile 3 ตอกย้ำระบบนิเวศน์สมบูรณ์ที่มีผลจากการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ
รศ.ดร.จรัล ลีรติวงศ์ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ได้ร่วมกับ Prof. Dr. David M. Johnson: Biological Science Department, Ohio Wesleyan University, Delware, Ohio, U.S.A ดร.จิรัฐิ สัตถาพร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และนายสุเนตร การพันธ์ สถานีวิจัยสัตว์ป่า ป่าพรุ ป่าฮาลา-บาลา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ร่วมค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลบุหงาเซิง (Friesodielsia Steenis) ของพืชวงศ์กระดังงา (Annonaceae) จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ บุหงาเซิงเบตง: Friesodielsia betongensis Leerat และบุหงาเซิงฮาลา: Friesodielsia chalermgliniana Leerat ที่ป่าฮาลา-บาลา ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา จังหวัดยะลา
การค้นพบพืชวงศ์กระดังงา 2 ชนิดใหม่ของโลก (New species) ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติฐาน WOS ระดับ Quartile 3 ชื่อวารสาร Phytotaxa ฉบับที่ 589 (1) ปี ค.ศ. 2023 โดยพืชสกุลบุหงาเซิง จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ บุหงาเซิงเบตง: Friesodielsia betongensis Leerat เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยหรือไม้เถาเนื้อแข็ง มีลักษณะเด่นคือมีดอกสีเหลือง โดยมีสีเขียวบริเวณโคนกลีบ กลีบดอกชั้นนอกมีลักษณะภาคตัดตามขวางเป็นรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกชั้นในมีความยาวมากกว่าความยาวครึ่งหนึ่งของกลีบดอกชั้นนอก ขึ้นอาศัยในบริเวณป่าดิบเขา อยู่ระดับความสูงเหนือระดับทะเล 1,000-1,200 เมตร โดยจะออกดอกและผลช่วงเดือนพฤษภาคม สำหรับที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์เป็นการตั้งชื่อให้กับสถานที่ที่มีการค้นพบพืชชนิดนี้ในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา
สำหรับพืชบุหงาเซิงฮาลา: Friesodielsia chalermgliniana Leerat เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ลักษณะเด่นมีใบประดับขนาดใหญ่รูปไข่กว้าง กลีบดอกสีเหลือง มีกลีบดอกชั้นนอกที่มีลักษณะภาคตัดตามขวางเป็นรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกชั้นในมีความยาวมากกว่าความยาวครึ่งหนึ่งของกลีบดอกชั้นนอก ขึ้นอาศัยในบริเวณป่าดิบชื้น อยู่เหนือความสูงเหนือระดับทะเลประมาณ 500 เมตร ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม โดยที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ให้เป็นเกียรติแก่ ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้เชี่ยวชาญพิเศษจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) มีความเชี่ยวชาญในการศึกษาและวิจัยพืชวงศ์กระดังงาของประเทศไทย และเป็นผู้ให้ความรู้นำทีมทำการสำรวจภาคสนาม
รศ. ดร.จรัล กล่าวว่า การค้นพบพืชชนิดใหม่ทั้ง 2 ชนิดของโลก ตอกย้ำระบบนิเวศน์สมบูรณ์ของป่าฮาลา-บาลา จากผลของการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ทุกคนตระหนักและให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ป่าให้มีระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ และการค้นพบครั้งนี้ยังสามารถต่อยอดในด้านการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ โดยปัจจุบันเขตฮาลา-บาลาเป็นหนึ่งในป่าดิบชื้น (Rain Forest) ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งที่อาศัยของพืชพรรณและมีความมหัศจรรย์จากธรรมชาติมากมายที่ควรค่าแก่การศึกษา โดยม.อ.ยังคงมุ่งมั่นศึกษาและสำรวจพืชใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่ขับเคลื่อนการผสานรวมของระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยเข้าด้วยกัน ลงนามความร่วมมือ (MoU) กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ระดับโลก ผ่านหลักสูตร Network Security Expert (NSE) มุ่งพัฒนาทักษะความรู้และเสริมสร้างความเชี่ยวชาญทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมไฟฟ้า (แขนงวิชาไฟฟ้าสื่อสาร) ในระดับปริญญาตรี โท และเอก เพื่อเตรียมบุคลากร
จับตาไทย! ลุยพัฒนา ATMPs-สเต็มเซลล์ พลิกโฉมการแพทย์ เพิ่มโอกาสรักษาโรคร้ายแรง
—
ไม่ใช่แค่ฝัน! สาธารณสุขจับมือสถาบันแพทย์ชั้นนำ เร่งเครื่องพัฒนา ATMPs-สเต็...
"นภินทร" ลุย ครม.สัญจร สงขลา ดัน "ทรัพย์สินทางปัญญา" ต่อยอดธุรกิจด้วยนวัตกรรม ย้ำ สินค้าต้อง "ขึ้นห้าง ไม่ขึ้นหิ้ง" สร้างรายได้ทั้งในและต่างประเทศ
—
นายนภินทร ศ...
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย จัดกิจกรรมเก็บขยะชายหาด "เก็บด้วยรัก ตักด้วยใจยกกำลังสอง" ส่งเสริมการรีไซเคิลอย่างยั่งยืน
—
นายสมควร ขั...
เครือ รพ.พญาไท - เปาโล จับมือ อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. พัฒนานวัตกรรมสุขภาพและการแพทย์
—
เครือโรงพยาบาลพญาไท เปาโล นำโดย นายอัฐ ทองแตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหา...
AI Engineering & Innovation Summit 2024 ขับเคลื่อนนวัตกรรม AI ของประเทศไทยสู่ระดับโลก
—
สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineering Institute; AIEI) ร...
กสิกรไทยร่วม COP29 ผลักดันความมุ่งมั่นด้านสภาพภูมิอากาศของไทย หนุนใช้นวัตกรรมการเงินและการจัดการคาร์บอน
—
ดร.กรินทร์ บุญเลิศวณิชย์ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร...
ยิบอินซอยจับมือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงนามบันทึกความเข้าใจ ผลิตบุคลากรคุณภาพในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
—
คุณมรกต ยิบอินซอย กรรมก...
บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ผนึกกำลัง 4 มหาวิทยาลัยชั้นนำ เสริมทักษะบุคลากรเภสัชกรรมไทยสู่ตลาดแรงงานในอนาคต
—
บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ผู...