การฉีดวัคซีนป้องกันโรค ถือเป็น "การลงทุนทางสุขภาพ" ที่สำคัญ เนื่องจากไม่ได้ป้องกันเพียงการเกิดโรค แต่ยังช่วยลดเหตุสูญเสียงบประมาณในการรักษาพยาบาลที่บานปลายจากการเกิดโรคที่ลุกลามเพราะไม่ได้ป้องกัน
หนึ่งในวัคซีนที่เปิดบริการโดยทั่วไป ซึ่งยังคงมีข้อสงสัยในเรื่องความจำเป็นและขอบเขตในการป้องกันโรค ได้แก่ HPV (Human papillomavirus) ไวรัสที่เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อก่อโรคบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก ก่อนลุกลามจนถึงขั้นกลายเป็นเนื้อร้าย ทั้งในหญิงและชาย
แพทย์หญิงธีรานันท์ นาคะบุตร รองหัวหน้าฝ่ายการแพทย์แผนกเวชศาสตร์ครอบครัวและแพทย์บูรณาการ และหัวหน้าศูนย์ตรวจสุขภาพ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ไขข้อข้องใจว่า เหตุใดวัคซีนป้องกัน HPV ถึงจำเป็นสำหรับทุกคนในเกือบทุกช่วงวัย ยกเว้นสตรีมีครรภ์ เนื่องจากสามารถติดต่อกันได้ในลักษณะของการเป็นพาหะโดยไม่แสดงอาการ แม้ไม่ได้มีการสัมผัสโรคโดยตรง และเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกสำหรับสตรีในระยะลุกลาม
ในประเทศไทยจัดให้วัคซีนป้องกัน HPV อยู่ในกลุ่ม "วัคซีนแนะนำ" สำหรับเพศหญิง อายุ 9 - 26 ปี และ "วัคซีนทางเลือก" สำหรับเพศชายอายุ 9 - 26 ปี และยังสามารถพิจารณาฉีดวัคซีนในผู้เข้ารับบริการกลุ่มเสี่ยงที่อายุไม่เกิน 45 ปี
วัคซีน HPV จัดอยู่ในกลุ่ม "วัคซีนเชื้อตาย" ผู้ที่มีอายุ 9 - 14 ปีจะได้รับการฉีดทั้งหมด 2 เข็ม ห่างกัน 6 เดือน และฉีด 3 เข็มในช่วงวัยที่มากกว่า โดยเข็ม 2 ฉีดห่างจากเข็มแรก 2 เดือน และกระตุ้นด้วยเข็มสุดท้ายอีกภายใน 6 เดือนนับจากเข็มแรก ป้องกันได้มากกว่า 10 ปี
อย่างไรก็ดี "วัคซีนในกลุ่มป้องกันโรคพื้นฐาน" ยังคงมีความจำเป็นต้องเข้ารับการฉีดตามช่วงวัยที่กำหนด ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงช่วงสูงวัย ซึ่งหากจำเป็นต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนมากกว่าชนิดเดียว สามารถฉีดได้มากกว่า 2 ชนิดพร้อมกันแต่ต่างตำแหน่ง หากไม่ได้ฉีดพร้อมกัน โดยทั่วไปควรฉีดห่างกันอย่างน้อย 7 วันสำหรับวัคซีนเชื้อตาย และ 28 วันสำหรับวัคซีนเชื้อเป็น
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันHPV และวัคซีนในกลุ่มป้องกันโรคพื้นฐานทุกวันในเวลาราชการ ติดต่อขอคำปรึกษาก่อนเข้ารับบริการได้ที่โทร. 0-2849-6600
นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวถึงสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในปี 2568 รวมถึงมาตรการเชิงรุกการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า กทม. มุ่งเน้นส่งเสริมการให้ความรู้แก่เจ้าของสุนัขและแมว รวมถึงการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยรณรงค์ให้นำสัตว์เลี้ยงเข้ารับบริการฉีดวัคซีนตามกำหนดเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ ประชาชนสามารถป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า โดยใช้คาถา 5 ย. ได้แก่
รร.สังกัด กทม. ส่งเสริมการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา-ยอมรับความหลากหลายทางเพศ
—
นางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา (สนศ.) กทม. กล่าวถึงการส่งเ...
แอกซ่า ส่งเสริมการตระหนักรู้ พร้อมสนับสนุนการป้องกันโรคมะเร็งในประเทศไทย
—
โรคมะเร็งยังคงเป็นหนึ่งในความท้าทายด้านสุขภาพอันดับต้นๆ ของประเทศไทย โดยมีกว่า ...
เนสท์เล่ ต่อยอดความสำเร็จ "ภารกิจพิชิตสุขภาพดี" สนับสนุนกทม. ในโครงการสร้างความรอบรู้สู่สุขภาพดีวิถีวัยทำงานข้าราชการและบุคลากรของกรุงเทพมหานคร
—
การดูแลสุขภ...
กรมอนามัย แนะ มาตรการป้องกันโรคโนโรไวรัส หวั่นระบาดช่วงเทศกาล
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย โรงเรียน ภัตตาคาร โรงพยาบาล สถานที่เลี้ยงเด็ก รวมไปถึงรถหรื...
"ท่องเที่ยว สุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1"
—
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประกาศทิศทางความร่วมมือการส่งเสริมการท่องเที่ยว ร่วมกับ กระท...
รพ.วิมุต-เทพธารินทร์ ต้อนรับวันหัวใจโลก 2024 เปิดแคมเปญ "ฝากหัวใจให้เรา Take Care" หวังกระตุ้นสังคมไทยหันมาใส่ใจภัยร้ายใกล้ตัว
—
โรงพยาบาลวิมุต-เทพธารินทร...
บริษัท เอดด้า บูนาเดอร์ จำกัด ร่วมกับ โรงพยาบาลลานนา ตรวจสุขภาพพนักงาน สิทธิประกันสังคม ประจำปี 2567
—
บริษัท เอดด้า บูนาเดอร์ จำกัด ร่วมกับ โรงพยาบาลลานน...