นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวกรณีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เตือนสถานการณ์โรคไข้เลือดออก มีผู้ป่วยเพิ่มมากกว่าปีก่อน 6.6 เท่า โดยพื้นที่กรุงเทพฯ มีอัตราผู้ป่วยสูงสุดว่า กรุงเทพมหานคร โดย สนอ.ได้ดำเนินมาตรการเชิงรุกป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยประสานสำนักงานเขตและศูนย์บริการสาธารณสุข กทม.ร่วมจัดกิจกรรมจัดการสิ่งแวดล้อม Big Cleaning ในชุมชน หรือพื้นที่เสี่ยงทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่องทั้ง 5กระทรวงสาธารณสุข เขต เน้นกิจกรรมการทำความสะอาด ทิ้งขยะ สำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันได้ประชาสัมพันธ์ให้รับทราบการป้องกันตนเองและอาการสงสัยโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนในพื้นที่ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ทั้งแผ่นพับ โปสเตอร์ และสื่อออนไลน์ เพื่อเน้นย้ำนโยบายป้องกันก่อนเกิดโรคคือ "3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค" ประกอบด้วย เก็บบ้าน ให้ปลอดโปร่ง เก็บขยะ เศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ และเก็บแหล่งน้ำ ปิดให้มิดชิด เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์ไม่ให้ยุงลายวางไข่ ภาชนะขังน้ำขนาดเล็กหมั่นเปลี่ยนน้ำทุก 7 วันเช่น แจกันดอกไม้สด แจกันหิ้งบูชาพระ แจกันที่ศาลพระภูมิ จะสามารถป้องกันได้ 3 โรคคือ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย และ "5ป " ประกอบด้วย ป1 - ปิด ภาชนะเก็บกักน้ำให้มิดชิด ป้องกันการวางไข่ของยุงลาย ป2 - เปลี่ยนน้ำในภาชนะต่าง ๆ อยู่เสมอ เพื่อไม่ให้มีแหล่งน้ำที่ยุงสามารถไปเพาะพันธุ์ได้ ป3 - ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น อ่างบัว ป4 - ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมรอบข้างให้ปลอดโปร่ง ลมพัดผ่านได้ และ ป5 - ปฏิบัติตามทั้ง 4 ป ข้างต้นเป็นประจำ เพื่อป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
นอกจากนี้ สนอ.ยังได้แจ้งสถานการณ์โรคไข้เลือดออกผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อให้สำนักงานเขตที่พบผู้ป่วยเข้าควบคุมโรค ขณะเดียวกันได้เตรียมความพร้อมรับมือการแพร่ระบาดและการรองรับผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก โดยจัดอบรมพัฒนาความรู้บุคลากร รวมถึงซักซ้อมแผนการดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อให้บุคลากรมีความรู้สามารถตอบโต้ภาวะฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที พร้อมทั้งทบทวนแนวทางการรักษาเมื่อพบผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อไข้เลือดออก เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรคและให้การรักษาได้อย่างรวดเร็ว
วานนี้ (20 เมษายน 2568) ดร.นายแพทย์พงศธร พอกเพิ่มดี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย พลโทณัฐพงษ์ เพราแก้ว เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย ดร.นายแพทย์นิธิรัตน์ บุญตานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ และหน่วยงานในพื้นที่ เฝ้าระวังสถานการณ์สารหนูปนเปื้อนในแม่น้ำกก อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยได้ดำเนินการเฝ้าระวังประเด็นการปนเปื้อนสารหนูในแหล่งน้ำ
ทีม SEhRT ผลัด 2 รับไม้ต่อร่วมจัดการสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมในประเทศเมียนมาเหตุแผ่นดินไหวเสี่ยงสุขภาพประชาชน
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ส่งทีม SEhR...
ไปรษณีย์ไทย ร่วมกรมอนามัย เปิดโซลูชันส่งน้ำนมแม่ด้วยบริการส่งด่วน EMS ฟรี เชื่อมโยงสายใจจากแม่สู่ลูก - หนุนกลุ่มเด็กแรกเกิดได้ดื่มนมแม่
—
บริษัท ไปรษณีย์ไ...
'เดชอิศม์' ระดมทันตแพทย์ มอบฟันเทียม 45,000 รายทั่วประเทศ เป็นของขวัญวันผู้สูงอายุ
—
นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากกระ...
กรมอนามัย ย้ำ น้ำประปาที่ผ่านกระบวนการผลิตได้มาตรฐาน มีความสะอาด ปลอดภัย
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตอกย้ำความสำคัญของน้ำประปาที่มีคุณภาพต่อสุขภาพของประ...
'ถอดบทเรียน' พลิกวิกฤต สู่โอกาส เรียนรู้แผ่นดินไหว สู่การจัดการอย่างยั่งยืน กรมอนามัย-สบส.มหิดล-อุบลราชธานี
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย กรมสนับ...
สธ. แนะ 4 วิธี 'ปลอดโรค ปลอดภัย สุขอนามัยดี' เตรียมพร้อมก่อนเที่ยวสงกรานต์
—
นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เทศกาลสงกรานต์...
เฮอร์บาไลฟ์ ประเทศไทย ส่งเสริมสุขภาพคนไทย ร่วมกิจกรรมงานเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ FDA Running 2025
—
เฮอร์บาไลฟ์ ประเทศไทย เข้าร่วมกิจกรรม FDA Running 2025 งา...
กรมอนามัย ชี้ญาติผู้สูญหายในอาคารถล่มกำลังใจดี มีสุขภาพแข็งแรง ย้ำสภาพแวดล้อมโดยรอบยังปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
—
อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผ...