ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินสากล (Insurer Financial Strength Rating: IFS Rating) ของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL ที่ 'A-' และคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Issuer Default Rating หรือ IDR) ของ MTL ที่ 'BBB+' โดยอันดับเครดิตทั้งสองมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
พร้อมกันนี้ ฟิทช์ประกาศคงอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินภายในประเทศ (National IFS Rating) ของ MTL ที่ 'AAA(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ และคงอันดับเครดิตของตราสารด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของบริษัทมูลค่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่ 'BBB'
การประกาศคงอันดับเครดิตของ MTL สะท้อนถึงโครงสร้างการดำเนินงานของบริษัทในธุรกิจประกันภัยที่ยังแข็งแรง (Favorable Company Profile) ระดับเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง และสภาพคล่องของบริษัทที่ดี โดยฟิทช์คาดว่าผลประกอบการจะปรับตัวดีขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและอัตรากำไรของธุรกิจใหม่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้พอร์ทเงินลงทุนของบริษัทยังคงมีสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในระดับสูง
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
โครงสร้างการดำเนินงานที่แข็งแรง: ฟิทช์ประเมินโครงสร้างการดำเนินงานของ MTL อยู่ในระดับแข็งแรง จากโครงสร้างธุรกิจ (business profile) ที่แข็งแกร่งและการมีบรรษัทภิบาลที่ดี เมื่อเทียบกับบริษัทประกันชีวิตอื่นภายในประเทศไทย
การจัดอันดับของ MTL สะท้อนถึงเครือข่ายทางธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ระดับ 11% ของจำนวนเบี้ยประกันรวมของตลาด และได้รับการสนับสนุนด้านการดำเนินงานและด้านเทคนิคจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBank; อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว: BBB/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) และ Ageas Insurance International N.V. (อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว: A+/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) อีกทั้ง MTL ยังมีการกระจายตัวของโครงสร้างธุรกิจที่ดี ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ครอบคลุม และฐานลูกค้าภายในประเทศ รวมถึงช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย
ระดับเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง: MTL ยังคงรักษาระดับเงินกองทุนไว้ในระดับที่แข็งแกร่งซึ่งช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัท ฟิทช์ประเมินระดับเงินกองทุนของบริษัทว่าอยู่ที่ระดับแข็งแกร่ง ('Strong') โดยใช้แบบจำลอง Prism Model ของฟิทช์ และข้อมูลทางการเงินของบริษัท ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ซึ่งรวมการนับตราสารด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นของเต็มจำนวน MTL มีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฏหมายที่ 320% ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ซึ่งยังคงสูงกว่าเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนดไว้ที่ 140% และบริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินจะอยู่ในระดับ 16% ซึ่งดีกว่าค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์ของฟิทช์ที่ระดับอันดับเครดิตเดียวกัน
สัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ยังคงสูง: บริษัทมีสัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ระดับ 250% ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 2565 (ณ สิ้น ปี 2564: 245%) จากส่วนของผู้ถือหุ้นที่ลดลง จากการขาดทุนจากการวัดมูลค่ายุติธรรมของพอร์ทเงินลงทุน ซึ่งถูกลดทอนผลกระทบบางส่วนด้วยการปรับลดสัดส่วนลงทุนในตราทุนและเพิ่มการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้อัตราส่วนดังกล่าว คำนวณจากการลงทุนในตราทุนและตราสารหนี้ที่มีอันดับเครดิตสากลต่ำกว่าระดับลงทุน และการนับรวมการลงทุนในตราสารหนี้รัฐบาล ที่อัตรา 15% ของเงินลงทุนตามเกณฑ์ของฟิทช์
รายได้ปานกลาง: MTL มีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ยรายปีในช่วงปี 2563 - ไตรมาส 3 ปี 2565 เท่ากับ 8.9% ซึ่งยังคงอยู่ในระดับที่รับได้สำหรับอันดับเครดิตของบริษัท ถึงแม้ว่าอัตราส่วนดังกล่าวในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 จะมีระดับต่ำกว่า 6.5% ซึ่งเป็นผลจากผลประกอบการที่ปรับตัวอ่อนแอ่ลง เนื่องจากความท้าทายในการดำเนินงานของบางธุรกิจ ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนเอ อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมีอัตรากำไรในธุรกิจใหม่ที่ดี และมีการเติบโตที่สูงในเบี้ยประกันออมทรัพย์ และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ระดับใกล้เคียงเดิม ซึ่งเป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนผลประกอบการของบริษัท
ฟิทช์ คาดว่า รายได้จะปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ในระดับปกติ จากอุปสงค์ที่สูงขึ้นในผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ อัตรากำไรที่ผ่านมาของธุรกิจใหม่ที่อยู่ในระดับดี โอกาสทางธุรกิจในตลาดใหม่จากการร่วมมือกับKBank ที่เพิ่มขึ้น และโครงการประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในช่องทางจัดจำหน่าย
ความแตกต่างระหว่างอายุสินทรัพย์และหนี้สินที่ต่ำ: MTL มีความแตกต่างระหว่างอายุสินทรัพย์และหนี้สิน (Duration Gap) ที่ต่ำและมีอายุใกล้เคียงกัน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราดอกเบี้ย และฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนดังกล่าวจะยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน):
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินสากล(IFS Rating)/อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินภายในประเทศ (National IFS Rating)
อัตราความแข็งแกร่งทางการเงินภายในประเทศ (National IFS Rating)
การพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
ระดับคะแนนที่สูงที่สุดสำหรับความสัมพันธ์ของ ESG ต่ออันดับเครดิต (หากมีการเปิดเผย) แสดงว่าระดับคะแนนจะอยู่ที่ระดับ 3 ซึ่งหมายความว่าปัจจัยด้าน ESG จะไม่ส่งผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบในระดับที่น้อยมากต่ออันดับเครดิตของธนาคาร ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยจากลักษณะของธุรกิจหรือจากการบริหารจัดการของธนาคารก็ตามสาหรับรายละเอียดเพิ่มเติมหาได้จาก www.fitchratings.com/esg
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit