เทคโนโลยีจีโนมิกส์อันล้ำหน้าเบื้องหลังสตรอว์เบอร์รีสายพันธุ์นี้ เปิดโอกาสในการพลิกโฉมอุตสาหกรรมการเกษตรมูลค่า จีโนมิกส์2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ [จีโนมิกส์]
ซิงโกรว์ (Singrow) บริษัทจีโนมิกส์ทางการเกษตรจากสิงคโปร์ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีจีโนมิกส์อันเป็นกรรมสิทธิ์ ได้ประกาศเปิดตัวสตรอว์เบอร์รีสายพันธุ์แรกของโลกที่ทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สตรอว์เบอร์รีสายพันธุ์นี้นำเทคโนโลยีล้ำสมัยนี้มาใช้เป็นครั้งแรก โดยขณะนี้ทางบริษัทกำลังพัฒนาพืชกลุ่มอื่น ๆ ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาท้าทายเรื่องความมั่นคงทางอาหารทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียและแอฟริกาซึ่งได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ความสำเร็จในการพัฒนาสตรอว์เบอร์รีสายพันธุ์ใหม่และนวัตกรรมอื่น ๆ จะเข้ามาพลิกโฉมความพยายามในการแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารและภาวะทุพโภชนาการ วิธีการปลูกใหม่ ๆ เหล่านี้อาศัยหลักวิทยาศาสตร์จีโนมิกส์ขั้นสูง เพื่อช่วยสร้างพืชผลที่อุดมด้วยโภชนาการและรับมือกับภัยแล้งและโรคต่าง ๆ ได้
สตรอว์เบอร์รีตามฤดูกาลที่ปกติแล้วปลูกในสภาพอากาศอบอุ่นทั่วโลกนั้นส่งออกให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้สตรอว์เบอร์รีในภูมิภาคนี้มีราคาแพง ที่สำคัญกว่านั้น การส่งออกยังทิ้งรอยเท้าคาร์บอนไว้มหาศาล โดยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศและให้ผลผลิตสูงนี้ ทำให้ปลูกสตรอเบอร์รี่ของซิงโกรว์ได้ในประเทศเขตร้อน ขจัดอุปสรรคด้านฤดูกาลและอุณหภูมิ และปลดล็อกศักยภาพอันยิ่งใหญ่สำหรับผู้ปลูก ขณะเดียวกันก็ลดต้นทุนสำหรับผู้บริโภคด้วย
ดร.เปา เซิ่งเจีย (Bao Shengjie) ซีอีโอและหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของซิงโกรว์ กล่าวว่า "ซิงโกรว์เป็นบริษัทแรกที่ประสบความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์ เพื่อพัฒนาพันธุ์สตรอว์เบอร์รีเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน ซึ่งเติบโตได้ในสภาพอากาศร้อนชื้น เช่น สิงคโปร์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความสำเร็จของสตรอว์เบอร์รีพันธุ์นี้เป็นผลพวงจากการวิจัยหลายปี และเรารู้สึกตื่นเต้นที่จะแบ่งปันการประกาศนี้กับชุมชนการเกษตรทั่วโลก"
ซิงโกรว์ใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์ขั้นสูง ที่ใช้ประโยชน์จากความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับจีโนมพืชเพื่อปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการและผลผลิตด้วยสายพันธุ์ที่ทนต่อโรคและสภาพอากาศ วิธีการเหล่านี้มีประสิทธิผลมากกว่าการเพาะพันธุ์แบบธรรมดา ประโยชน์มากมายของเทคโนโลยีนี้เป็นที่นิยมใช้มากขึ้นทั่วโลก ซึ่งเห็นได้จากการที่จีนเพิ่งรับรองพืชดัดแปลงพันธุกรรมไปเมื่อเร็ว ๆ นี้[2] และการปลูก "ข้าวสีทอง" ที่อุดมด้วยสารอาหารในฟิลิปปินส์[3]
เทคโนโลยีที่ปรับขนาดได้นี้เปิดโอกาสสำคัญให้กับอุตสาหกรรมการเกษตร เพราะนำไปใช้กับพืชหลักหลายชนิดที่เผชิญกับความท้าทายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ ซิงโกรว์ได้เริ่มดำเนินการในการผลิตพันธุ์พืชใหม่ ๆ ด้วยเทคโนโลยีเดียวกัน และกำลังดำเนินการเพื่อให้ครอบคลุมพืชกลุ่มอื่น ๆ เช่น ข้าว ข้าวโพด น้ำมันปาล์มที่ยั่งยืน และผักชนิดหลัก ๆ ที่เป็นส่วนสำคัญของอาหารที่รับประทานทุกวัน
ดร.เปา กล่าวสรุปว่า "อุณหภูมิที่อุ่นขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบอย่างมากต่อการผลิตอาหาร เราเชื่อว่าเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์พืชในระดับโมเลกุลและจีโนมคืออนาคตของการเกษตร และเราภูมิใจที่ได้คิดค้นอนาคตของการเกษตรในสิงคโปร์ และจัดการกับปัญหาที่ยากที่สุดเพื่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคต"
เกี่ยวกับซิงโกรว์
ซิงโกรว์ (Singrow) เป็นบริษัทจีโนมิกส์ทางการเกษตรจากสิงคโปร์ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีจีโนมิกส์อันเป็นกรรมสิทธิ์ เพื่อรับมือกับปัญหาจำเป็นเร่งด่วนในวงการเกษตร ซิงโกรว์ทำหน้าที่จัดลำดับจีโนม ระบุตำแหน่งของยีน ดัดแปลงยีน และนำไปใช้ จนประสบความสำเร็จในการพัฒนาสตรอว์เบอร์รีสายพันธุ์แรกของโลกที่ทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เทคโนโลยีจีโนมของซิงโกรว์พร้อมพลิกโฉมอุตสาหกรรมการเกษตรมูลค่า 12 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยปรับขนาดและใช้เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมเดียวกันนี้กับพืชพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการบริโภคในชีวิตประจำวันของเรา
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.singrow.net
[1] ResearchandMarkets.com's Agriculture Global Market Report: https://www.researchandmarkets.com/reports/5600249/agriculture-global-market-report-2022?utm_source=CI&utm_medium=PressRelease&utm_code=k3nxj8&utm_campaign=1729397+-+Agriculture+Global+Market+Report+2022&utm_exec=jamu273prd
[2] https://www.nature.com/articles/d41586-022-00395-x#:~:text=Researchers%20in%20China%20are%20excited,adapted%20to%20a%20warming%20world.
[3] https://www.irri.org/news-and-events/news/philippines-becomes-first-country-approve-nutrient-enriched-golden-rice
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังนำคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพาณิชย์ ประกอบด้วย นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางพิมพ์ชนก พิตต์ฟีลด์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก และนางสาวนุสรา กาญจนกูล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เข้าหารือกับ นายดาเรน ทัง ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) ณ สำนักงานใหญ่ WIPO นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์
ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับปี 2567 จำนวน 45,211 ล้านบาท
—
เศรษฐกิจไทยปี 2567 ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและการส่งออก โดย...
เจียไต๋ร่วมงาน XAAC 2024 รับรางวัล MVP พร้อมร่วมยกระดับเกษตรไทยสู่เกษตรอัจฉริยะ
—
เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไทย นำ...
"ไว้ท์เครน ไบโอเทค กรุ๊ป" รีแบรนด์พลิกโฉมครั้งใหญ่ เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมจุลินทรีย์ และสารปรับปรุงดินเพื่อความยั่งยืน
—
นางสาวสิริญาพัทธ์ เทียนรุ่งศรี ประธ...
"ไว้ท์เครน ไบโอเทค กรุ๊ป" รีแบรนด์พลิกโฉมครั้งใหญ่ ชูกลยุทธ์ "BIOTEC" บุกตลาด เดินหน้านวัตกรรมจุลินทรีย์ และสารปรับปรุงดินเพื่อความยั่งยืน
—
"ไว้ท์เครน ไบ...
ไห่หนานจัดมหกรรมสินค้าฤดูหนาวประจำปี 2566 ชวนนานาชาติร่วมจัดแสดงสินค้าเด็ด
—
เมืองไหโข่วได้เปิดฉากมหกรรมแสดงสินค้าฤดูหนาวนานาชาติไห่หนาน หรือ China (Haina...
เจียไต๋คว้า 2 รางวัลใหญ่ระดับสากล APEA 2023 จากพันธกิจมุ่งพัฒนาการเกษตรไทย สร้างความมั่นคงทางอาหาร
—
บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไท...
CEO เบทาโกร รับรางวัล "THAILAND TOP CEO OF THE YEAR" ต่อเนื่องเป็นที่ 2
—
"นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบ...