วว. จับมือ เอ็กโก กรุ๊ป โดยมูลนิธิไทยรักษ์ป่า ถ่ายทอดงานวิจัยสู่ชุมชน ส่งเสริมอาชีพ อยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน

วว. จับมือ เอ็กโก กรุ๊ป โดยมูลนิธิไทยรักษ์ป่าถ่ายทอดงานวิจัยสู่ชุมชน ส่งเสริมอาชีพ อยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน

วว. จับมือ เอ็กโก กรุ๊ป โดยมูลนิธิไทยรักษ์ป่า ถ่ายทอดงานวิจัยสู่ชุมชน ส่งเสริมอาชีพ อยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงนามความร่วมมือกับ นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ประธานกรรมการ มูลนิธิไทยรักษ์ป่า และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป ในการส่งเสริมความร่วมมือเชิงบูรณาการเพื่อการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิง พาณิชย์และเชิงสังคม มุ่งถ่ายทอดผลงานวิจัย องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ชุมชน ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนให้สามารถอยู่ร่วมกับป่าอย่าง ยั่งยืน ตลอดจนประยุกต์ใช้งานวิจัยด้านป่าไม้ ดูแลรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศป่าต้นน้ำอย่างเป็นรูปธรรม

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. ชี้แจงว่า การลงนามความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงานในวันนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่าง "วว." กับ "มูลนิธิไทยรักษ์ป่า" ในการนำผลงานวิจัย องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม โดยระยะเวลาความร่วมมือ 3 ปี

"...ที่ผ่านมาเมื่อปี 2563 -2564 วว. และทางมูลนิธิฯ ได้ร่วมกันนำเทคโนโลยี "การเพาะเชื้อเห็ดป่าไมโครไรซา" ไปขับเคลื่อนการพัฒนาป่าในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ให้กับนักเรียนในโรงเรียนที่อยู่ภายใต้โครงการเครือข่ายเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 โรงเรียน เพื่อเสริมองค์ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในการเพาะเชื้อเห็ดป่า นับเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายผลสร้างพื้นที่สีเขียว ก่อให้เกิดการสร้างรายได้ให้กับชุมชน ลดการเก็บเห็ดป่าโดยใช้วิธีการเผาทำลายป่าไม้ และปัญหาหมอกควันในอนาคต และยังได้ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีการยืดอายุการเก็บรักษาลูกประ หรือลูกกระ เป็นเมล็ดของต้นประ ไม้ยืนต้นที่พบได้ในพื้นที่ทางใต้ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่บ้านในหมง อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช ถือว่าเป็นการสร้างประโยชน์ให้คนอยู่ร่วมกับป่าเพื่อสร้างรายได้ เสริมคุณภาพชีวิตของชุมชนได้เป็นอย่างดี..."

ผู้ว่าการ วว. กล่าว ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ วว. และมูลนิธิฯ ได้ร่วมกันวางแผนการทำงานระหว่างปี 2565-2569 มุ่งนำผลงานวิจัย องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น และให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปัญหามลพิษทางอากาศ และ สภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะปัญหาโลกร้อนที่กำลังเป็นปัญหาภัยคุกคามต่อคนในประเทศและคนทั่วโลก โดยแนวทางการพัฒนาความร่วมมือในครั้งนี้ คือ การนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์มี Concept การดำเนินงาน 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1. การพัฒนาระบบเกื้อกูล คนอยู่ได้ ป่าอยู่ได้ 2. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชน เพื่อสร้างคลังสมองของพื้นที่ 3. การพัฒนาเครือข่ายเยาวชน เพื่อสร้างแนวคิดให้คนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมนำเทคโนโลยีอนุรักษ์ผืนป่าที่เป็นทรัพยากรและทุนชีวิต และ 4. การฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าให้กับประเทศ และผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์ของงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม กับเครือข่ายของมูลนิธิ ได้แก่ พื้นที่จังหวัด เชียงใหม่ ชัยภูมิ และนครศรีธรรมราช ให้เกิดผู้รับและการใช้ประประโยชน์เทคโนโลยี สู่การพัฒนาชุมชน เช่น การสร้างมูลค่าเพิ่มและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เกิดการพัฒนายกระดับชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์จากงานวิจัยด้านป่าไม้ สู่การร่วมดูแลรักษา และฟื้นฟูระบบนิเวศป่าต้นน้ำอย่างเป็นรูปธรรม ครอบคลุมการบริหารจัดการป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม เกิดการขับเคลื่อนพื้นที่ทางสังคมให้สอดคล้องกับ BCG โมเดล

นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ประธานกรรมการ มูลนิธิไทยรักษ์ป่า และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอ็กโก กรุ๊ป กล่าวเพิ่มเติมว่า "มูลนิธิไทยรักษ์ป่า" องค์กรสาธารณกุศลซึ่งก่อตั้งและสนับสนุนการดำเนินการโดย เอ็กโก กรุ๊ป มีภารกิจสำคัญด้านอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและป่าต้นน้ำให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นปัจจัยตั้งต้นของพลังงานและสิ่งมีชีวิตทั้งหมด บนหลักการที่ว่า "คนอยู่ได้ ป่าอยู่ได้" มูลนิธิฯ จึงมีบทบาทในการร่วมผลักดันและส่งเสริมความเข้มแข็งและสร้างอาชีพให้กับชุมชนในพื้นที่ป่าต้นน้ำ โดยสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ชุมชนใช้ประโยชน์ ช่วยดูแลรักษา และอยู่ร่วมกับป่าต้นน้ำอย่างยั่งยืน ไม่เกิดการทำลายหรือเผาป่า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหา PM 2.5 ในประเทศไทย

"ความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นการบูรณาการความเชี่ยวชาญของทั้ง 2 หน่วยงาน มูลนิธิไทยรักษ์ป่าเปรียบเสมือน "โซ่ข้อกลาง" ที่ช่วยประสานและผลักดันผลงานวิจัย องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของ วว. โดยเฉพาะการสร้างมูลค่าเพิ่มและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ให้เกิดการประยุกต์ใช้จริงในท้องถิ่น เพื่อช่วยส่งเสริมอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่ป่าต้นน้ำ เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน ลดปัญหาการเผาป่า รวมถึงใช้งานวิจัยด้านป่าไม้ของ วว. มาสนับสนุน การดำเนินงานของมูลนิธิฯ ตามหลักการบริหารจัดการป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น"


ข่าวสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย+วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวันนี้

วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (ศนอ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพิ่มมูลค่าสมุนไพร "ใบเตย" โดยการวิจัยและพัฒนาเป็น "สารสกัด" นำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเสริมสุขภาพในระบบกระดูกและข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย มุ่งเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค พร้อมเสริมแกร่งผู้ประกอบการด้วยผลงานมาตรฐานสากล ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. โดย

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว." — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...

วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร... วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition — วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition จากผลงาน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยลำตะคอง วว. บริการ จุดพักรถ…พักผ่อน เติมพลัง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ "8 - 15 เมษายน 2568" — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)...