ไบเออร์นำเสนอความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมด้านการดูแลสุขภาพเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย การส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการเชิงนวัตกรรมในระยะยาว และการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ในงาน Pharma Pharma Media Day 2พัฒนาผลิตภัณฑ์23 จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้
คุณสเตฟาน โอริช สมาชิกคณะกรรมการบริหารของไบเออร์ เอจี และประธานแผนกฟาร์มาซูติคอลไบเออร์กล่าวว่า "ไบเออร์ ได้ลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการวิจัยและพัฒนาสำหรับยาใหม่ นอกจากนั้น ยังจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างธุรกิจด้านมะเร็งวิทยาและโรคหัวใจในสหรัฐอเมริกา เราได้ดำเนินกลยุทธ์เพื่อส่งมอบยาใหม่ๆ ให้แก่ผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน"
"ความต้องการของผู้ป่วย ความแม่นยำของการรักษาโรคที่ซับซ้อน ตลอดจนความก้าวล้ำทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้เราพัฒนากลยุทธ์การวิจัยและพัฒนา และรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับยาที่ค้นพบใหม่ซึ่งแตกต่างและมีมูลค่าสูง" คุณคริสเตียน รอมเมล สมาชิกคณะกรรมการบริหารแผนกฟาร์มาซูติคอลไบเออร์และหัวหน้าฝ่ายงานวิจัยและพัฒนากล่าว "ในอนาคต เราจะมุ่งเน้นการวิจัยในเรื่องมะเร็งวิทยา โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางระบบประสาทและโรคที่พบยาก (rare disease) และโรคทางภูมิคุ้มกัน ซึ่งเราเชื่อว่าจะสนับสนุนการรักษาผู้ป่วยได้"
การเติบโตในด้านมะเร็งวิทยา
บริษัทมีนวัตกรรมเพื่อการรักษาโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยหนึ่งในสามของโมเลกุลใหม่ดำเนินการภายใต้กระบวนการพัฒนาของไบเออร์ที่ทุ่มเทเพื่อต่อสู้กับมะเร็ง โดยให้ความสำคัญกับทุกขั้นตอนการพัฒนางานวิจัยทางคลินิกทุกระยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทยังมีแผนที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นมะเร็งที่วินิจฉัยพบได้ทั่วไปมากที่สุดเป็นอันดับสองในผู้ชาย
"เรามีความพร้อมในการส่งมอบความมุ่งมั่นของเราเพื่อมอบการรักษาเชิงนวัตกรรมให้กับผู้ป่วย" คุณคริสติน รอท สมาชิกคณะกรรมการบริหาร แผนกฟาร์มาซูติคอลไบเออร์และหัวหน้าฝ่ายงานวิจัยและพัฒนากล่าว "ไบเออร์มีเป้าหมายเพื่อก้าวสู่การเป็นบริษัทชั้นนำด้านการรักษาโรคมะเร็ง เราได้ลงทุนเพื่อการรักษาและการบำบัดเชิงนวัตกรรมที่มีศักยภาพที่จะช่วยการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งที่ในปัจจุบันมีทางเลือกการรักษาน้อยหรือไม่มีเลย"
นอกจากนั้น ไบเออร์ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาด้านมะเร็งวิทยาใน 3 ด้าน ได้แก่ การรักษาด้วยสารเภสัชรังสีแบบมุ่งเป้า (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคนิคการรักษาด้วยรังสีแอลฟาแบบมุ่งเป้า (Targeted Alpha Therapy)) ภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง (Next-Generation Immuno-Oncology) และเทคนิคระดับโมเลกุลเพื่อการรักษาโรคมะเร็งที่มีความแม่นยำ (precision molecular oncology approaches) ปัจจุบัน บริษัทกำลังพัฒนาโครงการนวัตกรรมยาที่มีกลไกการออกฤทธิ์ไม่ซ้ำกับยาที่มีในปัจจุบันอีกด้วย
ไบเออร์ส่งเสริมการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านมะเร็งวิทยาด้วยการลงทุนในหลายโครงการ เช่น ศูนย์การวิจัยและนวัตกรรมของไบเออร์ (Bayer Research and Innovation Center, BRIC) มีมูลค่า 140 ล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งอยู่ที่เมืองบอสตัน-เคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ (ประเทศสหรัฐอเมริกา) นับเป็นสถานที่ทำงานสำหรับคณะการวิจัยมะเร็งวิทยาในระดับโมเลกุลที่มีความแม่นยำของไบเออร์ โดยมีการส่งเสริมความร่วมมือในรูปแบบศูนย์รวมนวัตกรรมในสหรัฐอเมริกา ซึ่งรวมถึงศูนย์การวิจัย Broad Institute of MIT and Harvard
Vividion Therapeutics ที่ไบเออร์ได้เข้าซื้อกิจการด้วยมูลค่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่เป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์มเชิงเคมีโปรติโอมิกส์ที่สามารถระบุพ็อกเก็ตการเข้าทำปฏิกิริยาในบริเวณเป้าหมายที่ไม่สามารถรักษาได้ (undruggable targets) เพื่อพัฒนายาใหม่ที่มีศักยภาพในการออกฤทธิ์ไม่ซ้ำกับยาที่มีอยู่ในปัจจุบันสำหรับโรคต่างๆ ที่ต้องได้รับการรักษา เทคโนโลยีและวิธีการที่ไม่ซ้ำกับที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นผลสืบเนื่องจากการดำเนินการบนหลักการดำเนินงานเป็นอิสระ และเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียม (Arm's Length) นี้อาจเร่งระยะเวลาดำเนินการที่เร็วขึ้นได้ เพื่อให้ได้รับการอนุมัติใช้ในทางคลินิก โดยสองโครงการแรกจะเป็นรักษาบริเวณมะเร็งเป้าหมาย
การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่สำหรับการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
การเติบโตทางธุรกิจของไบเออร์ทั้งในระยะสั้นและระยะกลางในด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดจะมาจากนวัตกรรมยาที่มีอยู่ในปัจจุบัน
บริษัทได้กำหนดทิศทางที่ชัดเจนต่อการรักษาโรคหัวใจที่แม่นยำ การคิดค้นวิธีการรักษาและนวัตกรรมใหม่เพื่อรักษาที่หลากหลาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันข้อจำกัดด้านนวัตกรรมการรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด และเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ความเชี่ยวชาญจากพนักงานในองค์กรผนวกกับการทำงานร่วมกับบุคคลภายนอกยังคงเป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์ของไบเออร์เพื่อขยายความเชี่ยวชาญการวิจัยและพัฒนาและพัฒนาการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดให้มีศักยภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาความต้องการทางการแพทย์ที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง ซึ่งรวมถึงโรคหัวใจที่มีลักษณะเฉพาะและโรคพบยาก
ภายใต้การดำเนินการของบริษัท Asklepios BioPharmaceutical Inc. (AskBio) ไบเออร์กำลังพัฒนาการรักษาระดับยีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว จากการควบรวมธุรกิจ AskBio ทำให้เราสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มการรักษาระดับยีนที่ทันสมัย นอกเหนือจากการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว AskBio ปัจจุบันบริษัทกำลังพัฒนายาที่เป็นไปได้ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการทดลองคลินิก 4 โครงการ และมีโครงการก่อนการศึกษาทางคลินิกหลายโครงการเพื่อการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) โรคปอมเป (Pompe disease) และโรคฮันติงตัน (Huntington's disease)
ความก้าวหน้าของไบเออร์ในด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดเกิดขึ้นได้จากการวิจัยทางคลินิกที่ใช้ดิจิทัลและผสมผสานวิธีการที่หลากหลาย ตลอดจนความร่วมมือผ่าน Accelerating Medicines Partnership in Heart Failure และ Precision Cardiology Laboratory ของ Broad Institute ซึ่งการดำเนินงานต่าง ๆ จะช่วยเร่งการค้นพบโมเลกุลใหม่ๆ และนำมาซึ่งการรักษาใหม่แก่ผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาดังกล่าว
"โรคหัวใจและหลอดเลือด อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น เรากำลังพัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยรักษาผู้ป่วย และสนับสนุนการรักษาโรคหัวใจในอนาคต" คุณคริสติน รอท สมาชิกคณะกรรมการบริหาร แผนกฟาร์มาซูติคอลไบเออร์และหัวหน้าฝ่ายงานวิจัยและพัฒนากล่าว "นวัตกรรมและการรักษาใหม่ ๆ จะเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถมุ่งเป้าไปที่พยาธิวิทยาและกลไกการดำเนินโรคที่ยังไม่สามารถรักษาได้มาก่อน"
การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยและการค้นคว้ายา
ไบเออร์จะใช้กลยุทธ์ทางนวัตกรรมด้านรังสีวิทยา โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างภาพถ่ายทางการแพทย์แบบดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (Artificial Intelligence, AI) ตลาดการสร้างภาพถ่ายทางการแพทย์ด้วยเอไอเติบโตรวดเร็วที่สุดในอุตสาหกรรมรังสีวิทยาทั่วโลก อัตราการเติบโตรวมต่อปีโดยประมาณมีมากกว่าร้อยละ 26 ซึ่งจะทำให้มูลค่าจากยอดขายถึง 1.36 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2569 เป้าหมายสำคัญของไบเออร์คือแพลตฟอร์มสร้างภาพถ่ายทางการแพทย์ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อไม่นานมานี้ซึ่งจะช่วยการเข้าถึงแอปพลิเคชันดิจิทัลที่ขับเคลื่อนโดยเอไอ แอปพลิเคชันนี้จะสนับสนุนการทำงานระหว่างบุคคลที่สามและผลิตภัณฑ์ของไบเออร์เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อการวินิจฉัยโรคสำหรับนักรังสีเทคนิคและทีมงาน แพลตฟอร์มนี้ออกแบบมาเพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การวินิจฉัยไปจนถึงการรักษาผู้ป่วย
ไบเออร์ได้เข้าซื้อแพลตฟอร์มเอไอเชิงกลยุทธ์เพื่อการถ่ายภาพระดับโลกและบริษัทผู้ให้บริการผลิตภัณฑ์และบริการอย่างบริษัท Blackford Analysis ซึ่งจะสนับสนุนความมุ่งมั่นของไบเออร์ในด้านนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการดูแลสุขภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมอบประโยชน์ที่แท้จริงให้แก่นักรังสีวิทยาและทีมงานอันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย
คุณเกิร์ด ครูเกอร์ ประธานแผนกรังสีวิทยาของไบเออร์กล่าว "การสร้างความเชี่ยวชาญทางการแพทย์เชิงลึกสำหรับด้านการวินิจฉัยและการรักษาจำนวนมากทำให้ ไบเออร์เป็นผู้นำในส่วนแบ่งตลาดที่สำคัญของตลาดรังสีวิทยา ด้วยยอดขายเกือบ 2 พันล้านยูโรในปี 2565 การขยายผลิตภัณฑ์และบริการของเราไปในด้านเอไอจะสร้างความแข็งแกร่งให้กับเรา สอดคล้องกับพันธกิจในการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อการวินิจฉัยโรคสำหรับผู้ป่วยและแพทย์ การขยายธุรกิจเชิงปฏิรูปในด้านรังสีวิทยาของเราเป็นองค์ประกอบสำคัญของการปฏิรูปดิจิทัลอย่างรวดเร็วของไบเออร์ ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์เชิงกลยุทธ์จากวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงจากห่วงโซ่คุณค่า (value chain)"
ไบเออร์กำลังลงทุนในการใช้ประโยชน์จากการข้อมูลและเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วอย่างปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ผ่านห่วงโซ่คุณค่าทางเภสัชกรรมทั้งหมด ตั้งแต่การค้นคว้าไปจนถึงการผลิต บริษัทกำลังร่วมมือกับผู้นำทางเทคโนโลยีอย่าง Google Cloud และ Recursion Pharmaceuticals, Inc เพื่อเข้าถึงนวัตกรรมด้านใหม่ๆ นอกจากนี้ ไบเออร์ได้ใช้ประโยขน์จากความเชี่ยวชาญในองค์กรเพื่อพัฒนา ผลิต และการดำเนินงานด้านการแพทย์เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองกับต้องการของผู้ป่วย บุคคลากรทางการแพทย์ และระบบดูแลสุขภาพ ไบเออร์กำลังดำเนินการในการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของเทคโนโลยีทั้งหมดในลักษณะที่เป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมายและชีวจริยธรรมทั้งหมดอย่างเต็มความสามารถ
COR-GEN-TH-0004-1 (03/2023)
อ้างอิง
ธนาคารกรุงไทย เดินหน้าตอบโจทย์ผู้ลงทุน ปรับโฉมผลิตภัณฑ์ DR อ้างอิงหุ้นสหรัฐฯ ให้สามารถซื้อขายได้ทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน จากเดิมซื้อขายได้แค่ช่วงกลางคืน อำนวยความสะดวกและเพิ่มความคล่องตัวให้กับนักลงทุน เริ่ม 6 พ.ค. 68 นายรวินทร์ บุญญานุสาสน์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ธนาคารกรุงไทย เดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด "เสริมทักษะ สร้างคุณค่า สู่อนาคต" เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนกับผลิตภัณฑ์การลงทุนที่หลากหลาย
'อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์' เปิดตัวเฟอร์นิเจอร์กับหัตถศิลป์ทรงคุณค่าคอลเลกชัน 'เคียงตั๋ว' สไตล์ Lannavian
—
สานต่อพันธกิจความยั่งยืนเพื่อสังคม ปีที่ 2 ภายใต้...
บล.เกียรตินาคินภัทร คว้า 2 รางวัลใหญ่ ด้านการบริหารพอร์ตและการลงทุนทางเลือกในประเทศไทยจาก Euromoney Private Banking Awards 2025
—
บริษัทหลักทรัพย์ เกียรติ...
ดีพร้อม เปิดโปรเจ็กต์สุดปังหนุนผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นสายมูมงคล ดึงวัฒนธรรม ศรัทธา เสริมพลังบวก เชื่อมโยงซอฟต์พาวเวอร์ไทย
—
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม...
วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...
DIPROM เชิญชวนเข้าร่วม กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วย Data Analytic & Plug-in Media
—
กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วย Data Analytic & Plug-in Media สาขาของใช้ ขอ...
KUN เปิดกลยุทธ์ปี 68 รุก 3 ทำเลทอง ดันรายได้โต 15% ลุยโครงการมาร์จิ้นสูง - เสริมรายได้ประจำระยะยาว
—
KUN เผยแผนธุรกิจปี 2568 เดินหน้าขยายการเติบโตอย่างมั่...
TWPC ผนึก "ฟูจิ นิฮอน คอร์ปอเรชั่น" ตั้งบ.ร่วมทุน ไทยวา ฟูจิ นิฮอน ถือหุ้น 51% รุกพัฒนาโปรดักส์แป้งมันสำปะหลังคุณภาพสูง บุกตลาดโลก
—
บมจ.ไทยวา (TWPC) ผู้น...
SNPS จับมือ Partner พัฒนาผลิตภัณฑ์ กลุ่มอาหารสัตว์พรีเมียม
—
บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) "SNPS" ร่วมเปิดตัวสินค้าใหม่ ประเภทกลุ่มอ...
กรมวิทย์ฯ บริการ ลงพื้นที่ประชุมหารือร่วมกับเกษตรกรและผู้ประกอบการ ยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันจากกัญชง ณ จังหวัดนครราชสีมา
—
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรว...