การประชุมวิชาการว่าด้วยความร่วมมือทางทะเลและสมุทราภิบาลโลก ประจำปี 2565 ที่เมืองซานย่า ปิดฉากลงด้วยความสำเร็จอย่างงดงาม

เมื่อวันที่ 3-4 พฤศจิกายน การประชุมวิชาการว่าด้วยความร่วมมือทางทะเลและสมุทราภิบาลโลก ประจำปี การจัดงาน565 (Symposium on Global Maritime Cooperation and Ocean Governance การจัดงานการประชุมวิชาการการจัดงานการจัดงาน) ประสบความสำเร็จอย่างดงามในการจัดงาน ณ เมืองซานย่า มณฑลไห่หนาน ประเทศจีน

การประชุมวิชาการว่าด้วยความร่วมมือทางทะเลและสมุทราภิบาลโลก ประจำปี 2565 ที่เมืองซานย่า ปิดฉากลงด้วยความสำเร็จอย่างงดงาม

การประชุมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์วิจัยจีน-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยทะเลจีนใต้ (China-Southeast Asia Research Center on the South China Sea), ศูนย์วิจัยหัวหยางเพื่อความร่วมมือทางทะเลและสมุทราภิบาล (Huayang Research Center for Maritime Cooperation and Ocean Governance), มูลนิธิเพื่อการพัฒนามหาสมุทรของจีน (China Ocean Development Foundation) และสถาบันทะเลจีนใต้ศึกษาแห่งชาติ (National Institute for South China Sea Studies)

นายหวัง อี้ (Wang Yi) สมาชิกกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน สมาชิกคณะมุขมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน ได้ส่งข้อความผ่านทางวิดีโอ และผู้ทรงเกียรติอีกหลายท่านได้กล่าวสุนทรพจน์ผ่านทางวิดีโอเช่นกัน ได้แก่ นายหลิว เจิ้นหมิน (Liu Zhenmin) อดีตรองเลขาธิการสหประชาชาติ, นายหวัง หง (Wang Hong) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติของจีน, นายเติ้ง สีจวิ้น (Deng Xijun) เอกอัครราชทูตจีนประจำอาเซียน และนายไมเคิล ลอดจ์ (Michael Lodge) เลขาธิการองค์กรพื้นทะเลระหว่างประเทศ (International Seabed Authority)

นายหวัง อี้ กล่าวว่า จีนพร้อมทำงานร่วมกับประเทศอื่น ๆ เพื่อรักษาจิตวิญญาณของประชาคมทางทะเลที่มีอนาคตร่วมกัน ซึ่งนำเสนอโดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ตลอดจนสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาทางทะเลกับความมั่นคง รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือทางทะเลและสมุทราภิบาล โดยประการแรก เราต้องร่วมกันปกป้องความมั่นคงทางทะเล เราต้องแก้ไขความขัดแย้งทางทะเลอย่างสันติ ประการที่สอง เราต้องร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาทางทะเล เราต้องส่งเสริมการเชื่อมโยงทางทะเลและรับประกันความราบรื่นของการขนส่งทางทะเลและห่วงโซ่อุตสาหกรรม ประการที่สาม เราต้องหารือเรื่องสมุทราภิบาลร่วมกัน เราต้องยึดมั่นในระบบพหุภาคีที่แท้จริง และปรับปรุงระบบธรรมาภิบาลโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่องค์การสหประชาชาติ

นายหลิว เจิ้นหมิน ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยมหาสมุทร ประจำปี 2565 (2022 UN Ocean Conference) และเอกสารผลลัพธ์การประชุม โดยเน้นย้ำว่ามหาสมุทรเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืนและความเจริญรุ่งเรืองของโลก เนื่องจากมหาสมุทรสร้างออกซิเจน 50% ของทั้งหมดที่จำเป็นต่อมนุษย์ และมีความสำคัญต่อการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทุกประเทศจำเป็นต้องร่วมมือกันมากขึ้นเพื่อปกป้องและใช้ทรัพยากรทางทะเลและมหาสมุทรอย่างสันติ เพื่อส่งเสริมการพัฒนามหาสมุทรอย่างยั่งยืนและสร้างมหาสมุทรที่เท่าเทียมกัน

นายหวัง หง กล่าวว่า สมุทราภิบาลโลกกำลังเผชิญกับการปรับเปลี่ยนและการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้ง ในการเผชิญกับวิกฤตเหล่านี้ ไม่มีประเทศหรือภูมิภาคใดที่สามารถทำได้เพียงลำพัง จีนพร้อมที่จะกระชับความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก รวมถึงเสริมสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ร่วมกันจัดการกับความท้าทาย อุดช่องว่างด้านการพัฒนาทางทะเล ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสูงภายใต้โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการสาธารณะทางทะเลสำหรับภูมิภาคและประชาคมระหว่างประเทศ ตลอดจนนำภูมิปัญญาจีนมาประยุกต์ใช้กับสมุทราภิบาลโลก

นายไมเคิล ลอดจ์ กล่าวว่า จำนวนโครงการสำรวจพื้นทะเลลึกเพิ่มขึ้นจาก 6 โครงการในปี 2544 เป็น 31 โครงการในปี 2565 โดยเกี่ยวข้องกับ 22 ประเทศ ซึ่ง 12 ประเทศในจำนวนนี้เป็นประเทศกำลังพัฒนา ขณะเดียวกัน ความต้องการทรัพยากรแร่ที่เพิ่มขึ้นทำให้นานาประเทศและบรรดาบริษัทข้ามชาติเร่งพัฒนาเทคโนโลยีการขุดเหมืองแร่และการประเมินทางเลือกในการดำเนินโครงการ นอกจากนี้ เขาได้เรียกร้องให้มีการสร้างความร่วมมือมากขึ้นระหว่างประเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาและใช้กฎระเบียบและมาตรฐานที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการขุดเหมืองแร่ใต้พื้นทะเลลึกและกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อสร้างระบบธรรมาภิบาลโลกที่เป็นตัวแทนของทุกประเทศ รวมถึงประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลและประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1939110/Photo.jpg


ข่าวการประชุมวิชาการ+ประชุมวิชาการวันนี้

คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ - คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เตรียมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ CU-KU International Symposium in Education 2025 ความร่วมมือ

รศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และ ผศ.ดร.อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมแถลงข่าวโครงการประชุมวิชาการนานาชาติ CU-KU International Symposium in Education 2025: "Inclusive Society: Innovating for an Inclusive and Equitable Future" ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสองสถาบันที่มีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างเครือข่ายและสร้างพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่จะนำไปสู่การพัฒนาสังคมการเรียนรู้ที่ครอบคลุมและยุติธรรมสำหรับผู้เรียนทุกคน เมื่อเร็ว ๆ นี้

นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระท... สธ. - ภาคีเครือข่าย ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีสุขภาวะที่ดี — นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบ นายม...

ม.พะเยา รับรางวัลสถาบันอุดมศึกษาที่ส่งเสร... ม.พะเยา รับรางวัลสถาบันอุดมศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาอาจารย์ต้นแบบ — ม.พะเยา รับรางวัลสถาบันอุดมศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาอาจารย์ต้นแบบ และอาจารย์ ม.พะเยา รับ...

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2568 นายกองตรี ดร.ธน... สธ. ใช้ 6 เสาหลัก LM สร้างคนไทยอายุยืน ลดเสี่ยง NCDS — เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2568 นายกองตรี ดร.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุขเป...

โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ร่วมกับ โรงเรียนพยาบ... รพ.ไทยนครินทร์ ร่วมกับ รร.พยาบาลรามาธิบดีฯ จัดการประชุมวิชาการ — โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ร่วมกับ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดก...