ด้วยเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ที่ล้ำหน้าในปัจจุบันสามารถพิสูจน์ได้แล้วว่า "สมุนไพรไทยนวโกฐ" ซึ่งประกอบด้วยโกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา โกฐก้านพร้าว โกฐกระดูก โกฐพุงปลา และ โกฐชฎามังสี ไม่ได้มีสรรพคุณเพียง "แก้ลม" แต่อาจใช้ป้องกันและชะลอการเกิด"โรคอัลไซเมอร์" ได้ต่อไปในอนาคต
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงบุญรัตน์ จันทร์ทองหัวหน้าห้องปฏิบัติการพิษวิทยาและการตรวจวิเคราะห์ชั้นสูงศูนย์ตรวจวินิจฉัยทางการสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการศึกษาวิจัยสารสกัดจากสมุนไพรไทยนวโกฐ จนสามารถค้นพบว่ามีกลไกการออกฤทธิ์และให้ผลป้องกันการเสื่อมต่อระบบประสาทในหลอดทดลอง
ผลงานวิจัยดังกล่าวได้รับการตอบรับตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ "Journal of Ethnopharmacology" (Q1) เมื่อเร็วๆ นี้ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงบุญรัตน์ จันทร์ทอง เป็นผู้ประพันธ์บรรณกิจ (corresponding author) ในผลงานดังกล่าว
แม้จะเป็นเพียงความสำเร็จในหลอดทดลองกับแบบจำลองเซลล์ประสาทและเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อประสาท แต่มีแนวโน้มที่จะสามารถขยายผลเพื่อพัฒนาสู่ยาป้องกันและชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ต่อไปในอนาคต เนื่องจากพบว่าตัวยาจากสารสกัดสมุนไพรไทยนวโกฐสามารถลดกระบวนการอักเสบของประสาทและสมองได้
นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงบุญรัตน์จันทร์ทอง ยังได้ค้นพบฤทธิ์ทางยาที่สามารถลดกระบวนการอักเสบของประสาทและสมอง ในพืชสมุนไพร "กระชายดำ" และ "รางจืด" ซึ่งจะพัฒนาควบคู่ต่อไปด้วยในขณะเดียวกัน
อนาคตของพืชสมุนไพรไทยจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับการมองเห็นคุณค่าสู่การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริงได้มากน้อยเพียงใด มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมเป็นกำลังสำคัญให้ประเทศไทยได้บรรลุเป้าหมาย BCG ส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ และสุขภาวะที่ยั่งยืนของมวลมนุษยชาติต่อไปในอนาคต
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ จำกัด หรือ N Health (เอ็น เฮลท์) บริษัทชั้นนำในธุรกิจตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการของประเทศไทย ในเครือ BDMS พร้อมด้วยบริษัท ไบโอ โมเลกุลลาร์ แลบบอราทอรี่ส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เอ็นเฮลท์ โนโวยีน จีโนมิกส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ N Health จับมือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันพัฒนาทักษะการแพทย์จีโนมิกส์ และวิธีการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมสายยาว (Long-Read DNA Sequencing) เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแพทย์จีโนมิกส์ที่ยั่งยืน
"เมดีซ กรุ๊ป" สนับสนุนครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ให้แก่ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
—
นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ ด...
สัมมนาวิชาการ MUICT-AST The series for Mahidol People เพื่อคนมหิดลให้รู้ทัน Technology ครั้งที่ 1 หลักสูตร "Introduction to Docker"
—
ขอเรียนเชิญ อาจารย์ ...
ม.มหิดลสร้างห้องปฏิบัติการมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2017 เพิ่มความเชื่อมั่นนักลงทุน
—
ด้วยปัจจัยแห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่นำพาประเทศชาติสู...
Group-IB ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ในประเทศไทย
—
กรุ๊ป-ไอบี (Group-IB) ผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยีความปลอดภัยไ...
'ถอดบทเรียน' พลิกวิกฤต สู่โอกาส เรียนรู้แผ่นดินไหว สู่การจัดการอย่างยั่งยืน กรมอนามัย-สบส.มหิดล-อุบลราชธานี
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย กรมสนับ...
' ถอดบทเรียน' พลิกวิกฤต สู่โอกาส เรียนรู้แผ่นดินไหว สู่การจัดการอย่างยั่งยืน กรมอนามัย-สบส.มหิดล-อุบลราชธานี
—
#ANAMAINEWS วันนี้ (10 เมษายน 2568) แพทย์หญ...
โครงการสัมมนาวิชาการ AI & Cyber Intelligence: The Future of Human-Machine Collaboration & Security
—
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัย...
โตชิบาคว้ารางวัลสุดยอดนวัตกรรมสินค้าแห่งปี ตอกย้ำผู้นำเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
—
บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ...