Xinhua Silk Road: การประชุมสุดยอด AI จีน (กว่างซี)-อาเซียน ครั้งที่ 3 บุกเบิกเส้นทางใหม่ในความร่วมมือทางเศรษฐกิจดิจิทัลจีน-อาเซียน

23 Sep 2022

การประชุมสุดยอด AI จีน (กว่างซี)-อาเซียน ครั้งที่ 3 จะจัดขึ้นในวันศุกร์ ที่เมืองหนานหนิง ซึ่งเป็นเมืองเอกของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน

การประชุมสุดยอดในหัวข้อ "การหลอมรวมเพื่อสิ่งใหม่ ส่องเบื้องลึกโลกอนาคต" (Fusion for the New, Insight to the Future) จะรวบรวมเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และผู้ประกอบการจากจีนและกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI), ปัญญาที่เชื่อมต่อกัน (connected intelligence), การแลกเปลี่ยนข้อมูล และความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ถือเป็นหนทางใหม่ของความร่วมมือจีน-อาเซียน ในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล

ปัจจุบัน กว่างซีกำลังทุ่มสุดตัวเพื่อส่งเสริมการสร้างท่าข้อมูลจีน-อาเซียน (China-ASEAN information harbor) ซึ่งมีขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือจีน-อาเซียนในภาค AI และผลักดันเส้นทางสายไหมดิจิทัล

การประกาศจัดตั้งสหพันธ์ AI ของท่าข้อมูลจีน-อาเซียน จะมีขึ้นในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ โดยสหพันธ์จะสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการผลิต การเรียนรู้ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และการนำไปประยุกต์ใช้จริง ซึ่งจะทำให้องค์กรและสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์จากประเทศอาเซียน พัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม AI ในประเทศอาเซียนเองร่วมกับกวางซีได้อย่างราบรื่น

ประโยชน์จากท่าข้อมูลจีน-อาเซียน ทำให้กวางซีได้กระชับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศอาเซียน เช่น ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน

เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงได้สร้างแพลตฟอร์มนวัตกรรม AI ต่าง ๆ อย่างจริงจัง อาทิ ศูนย์นวัตกรรม AI จีน-อาเซียน (หัวเว่ย), ท่าข้อมูลจีน-อาเซียน,  ศูนย์นวัตกรรมนิเวศคุนเผิง และศูนย์นวัตกรรมบล็อกเชนจีน-อาเซียน

นอกจากนี้ยังได้สร้างและเปิดใช้งานศูนย์ข้อมูลและตลาดปัจจัยการผลิตหลายแห่งเพื่อประเทศแถบอาเซียน อาทิ เป๋ยปู่ กัลฟ์ ดาตา เอ็กซ์เชนจ์ (Beibu Gulf Data Exchange) ของกวางซี ที่ให้ข้อมูลเครดิตของวิสาหกิจมากกว่า 7 ล้าน แห่งในสิบประเทศอาเซียน และบริการสืบค้นข้อมูลสำหรับองค์กรการค้าต่างประเทศเกือบ 30,000 แห่งที่อยู่ในประเทศ

กวางซียังได้ขยายขอบเขตการใช้งาน AI ในด้านการดูแลสุขภาพ อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน และสาขาอื่น ๆ สำหรับประเทศแถบอาเซียนอีกด้วย ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยการแพทย์กว่างซี ที่ได้สร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือทางการแพทย์ข้ามพรมแดนระหว่างจีน-อาเซียน และสร้างกลไกความร่วมมือด้านการแพทย์ทางไกลกับสถาบันการแพทย์ 6 แห่ง จากเวียดนาม ลาว เมียนมาร์ และไทย

ลิงก์ข่าวต้นฉบับ https://en.imsilkroad.com/p/330157.html