แม้ทั่วโลกจะประสบวิกฤติโรคอุบัติใหม่ อาหาร และพลังงานจนทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ แต่ก็ไม่ได้ทำให้โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) มีอุบัติการณ์น้อยลง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวรส มีกุศล รองหัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญทั่วโลก และยังคงน่าเป็นห่วง คือ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งพบผู้ป่วยเกือบ 1 พันล้านคนทั่วโลก คาดว่าในปี 2568 จะมีความชุกของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 1.56 พันล้านคน
ที่สำคัญปัจจุบันพบอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มวัยเด็กมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกิน หรือโรคอ้วนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลจากพฤติกรรมนิยมบริโภคอาหารประเภทอาหารขยะ junk food ซึ่งหารับประทานง่าย แต่มีปริมาณไขมัน โซเดียม น้ำตาลและพลังงานสูง รวมทั้งการไม่ออกกำลังกาย และการดำรงชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งอีกด้วย
และจากการวิจัยที่ผ่านมาพบว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายได้นั้น มักมาจากการเบื่อหน่าย ท้อแท้ ที่โรคนี้ต้องใช้การรักษาต่อเนื่องยาวนาน
ประกอบกับความเชื่อที่ว่าเป็น "โรคของเวรกรรม" จึงมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งไม่ยอมเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องและจริงจังขณะที่ในทางการแพทย์ยืนยันว่า โรคความดันโลหิตสูงนั้นหากยิ่งตรวจพบ และเข้ารับการรักษาได้เร็วเท่าใด ยิ่งส่งผลดีต่อการควบคุมภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคได้ดีมากขึ้นเท่านั้น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวรส มีกุศล กล่าวต่อไปว่าสัญญาณเตือนของโรคความดันโลหิตสูงมักไม่ได้มากับอาการปวดศีรษะบริเวณต้นคออย่างที่หลายคนเข้าใจเสมอไป แท้ที่จริงแล้วเป็น "ภัยเงียบ" ที่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะไม่แสดงอาการใดๆ เลย ซึ่งกว่าจะรู้ตัวว่ากำลังป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ก็มักมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงไปเสียแล้ว
โดยในบางรายอาจถึงขั้นเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด มีอาการชา หรืออ่อนแรงที่แขนขาข้างเดียวกัน ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อเข้ารับการรักษาภายในระยะเวลา4.5 ชั่วโมง เพื่อลดโอกาสเกิดความพิการ ลดโอกาสการเกิดซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง ลดอัตราการเสียชีวิต รวมไปถึงลดอัตราการตาย
วิธีที่จะช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ คือ หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตเพื่อการเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอ องค์การอนามัยโลก ได้จัดระดับความดันโลหิตปกติ คือไม่เกิน140/90 มิลลิเมตรปรอท โดยปกติการวัดระดับความดันโลหิตจากการใช้เครื่องมือวัด แบบรัดต้นแขน จะให้ผลที่เที่ยงตรง และแม่นยำกว่าแบบรัดข้อมือ อย่างไรก็ตาม ควรมีการตรวจสอบมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะๆ และต้องใช้ปลอกแขนวัดความดันที่พอดี กระชับ และมีขนาดเหมาะสมกับแขนของผู้ป่วย เพื่อความแม่นยำในการตรวจวัดความดันโลหิต
"ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องปรับเปลี่ยนความคิดที่ว่า โรคความดันโลหิตสูง เป็น "โรคของเวรกรรม" มาเป็น "โรคของพฤติกรรม" ที่สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อป้องกันการเกิดโรคได้หากหันมาใส่ใจดูแลเรื่องการกิน การอยู่ การจัดการความเครียด การออกกำลังกายที่เหมาะสม และเพียงพอ" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวรส มีกุศล กล่าวทิ้งท้าย
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช ขอเชิญชวนประชาชนผู้สนใจทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรมตรวจสุขภาพ ฟรี !!! เนื่องในงาน "วันพยาบาลแห่งชาติ ประจำปี 2567" ในวันจันทร์ ที่ 21 ตุลาคม 2567 เวลา 9.00 14.00 น. ณ ศาลาศิริราช 100 ปี โรงพยาบาลศิริราช ภายในงาน พบกับกิจกรรมตรวจสุขภาพต่างๆ อาทิ - ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง - ตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว และคัดกรองโรคเบาหวาน - ตรวจคัดกรองของมะเร็งเต้านม และการให้คำแนะนำการตรวจเต้านม - คัดกรองภาวะกระดูกพรุน ท่านใดสนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรม
DKSH ร่วมกับ ฮาสเทน ไบโอฟาร์มาซูติคอล ผนึกกำลังเดินหน้าสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนในประเทศไทย
—
DKSH ได้รับความไว้วางใจจาก ฮาสเทน ไบโอฟาร์มาซูติคอ...
รู้ยัง!! ป่วยเป็นโรคเหล่านี้ พบหมอบนมือถือได้ กทปส. พาอัปสกิลความรู้สุขภาพคนไทย มั่นใจขึ้นกับการรักษาด้วย "ดีเอ็มเอส เทเลเมดิซีน"
—
แม้ทุกวันนี้ผู้คนจำนวน...
โรคความดันโลหิตสูงในมุมมองของแพทย์แผนจีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว
—
"โรคความดันโลหิตสูง" โรคยอดฮิตในผู้สูงอายุ หากมองในทางแพทย์แผนปัจจุบัน สาเหตุข...
รับมือสุขภาพอย่างไรเมื่อ "โลกเดือด" ?
—
รับมือสุขภาพอย่างไรเมื่อ "โลกเดือด" ? หลายคนอาจกำลังกังวลและตกใจกับข่าวที่เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เปิด...
รพ.ไทยนครินทร์ให้การต้อนรับคณะครู นักเรียน โรงเรียนลาซาล กรุงเทพ
—
โรงพยาบาลไทยนครินทร์ให้การต้อนรับคณะครู นักเรียน โรงเรียนลาซาล กรุงเทพ ในโอกาสที่เข้าม...
ม.มหิดล หวังคนไทยห่างไกลภัยจากอาหารรสเค็ม ด้วยนวัตกรรม "ชุดทดสอบความชอบรสเค็ม"
—
ความเค็มไม่ใช่แค่การเติมเกลือลงไปในอาหาร แต่ยังรวมถึงอาหารและขนมที่แฝงไปด...
เปิดตัว เครื่องดื่มรังนกแท้ท่าทอง สูตรใหม่ ไม่มีโซเดียม เพื่อสุขภาพที่ดีกว่าเอาใจคนรักสุขภาพตัวจริง
—
บริษัท ท่าทองรังนก จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย ผลิตภั...
เปลี่ยนมุมมอง ปรับความคิด เปลี่ยนชีวิตกับคุณหมอแอมป์ 5 ประเด็นสำคัญ กับโรคอ้วน ภัยร้ายที่ไม่ได้รับเชิญ
—
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้นิยามของโรคอ้วน (Obe...