ซีพี ออลล์ ร่วมกับชมรมดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์ ( PhaNgan Sea Guardian ) และ Kong Gang Diving สร้างนักดำน้ำหัวใจอนุรักษ์ท้องทะเลไทย

สถานการณ์ขยะทะเลและชายหาดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งขยะจำพวกพลาสติกและโฟมจะครองแชมป์ในทุกๆปี นอกจากนี้ยังมีเศษอวนซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญในการทำลายชีวิตสัตว์ ระบบนิเวศน์และปะการัง ซึ่งคนรุ่นใหม่หันมาตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและขยะในทะเลมากขึ้น

ซีพี ออลล์ ร่วมกับชมรมดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์ ( PhaNgan Sea Guardian ) และ Kong Gang Diving สร้างนักดำน้ำหัวใจอนุรักษ์ท้องทะเลไทย

ล่าสุดชมรมดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์, Kong Gang Diving Superdive Thailand อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จึงร่วมกับ บมจ.ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ จัดทำโครงการ " ลองหลง ลงเล " เพื่อสร้างนักดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์รุ่นใหม่ โดยรับสมัครบุคคลทั่วไปและพนักงานจิตอาสาที่สนใจ เข้ามารับการฝึกอบรมทักษะการดำน้ำ Scuba divng ในระดับ Open water ร่วมถึงเรียนรู้การอนุรักษ์และการจัดการขยะทางทะเล เป็นระยะเวลา 5 วัน ซีพี ออลล์ ร่วมกับชมรมดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์ ( PhaNgan Sea Guardian ) และ Kong Gang Diving สร้างนักดำน้ำหัวใจอนุรักษ์ท้องทะเลไทย

นางสาวขวัญศิริ ชมปรีดา สมาชิกชมรมดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์ ในฐานะผู้จัดงาน กล่าวว่า "ชมรมดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์เกาะพะงัน( PhaNgan Sea Guardian ) ตั้งขึ้นในปี 2556 เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้และอาสาของนักดำน้ำในการอนุรักษ์ท้องทะเล โดยดำเนินกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์มากมายต่อเนื่อง อาทิ ตัดอวน ปลูกปะการัง เก็บขยะตามแนวชายฝั่ง ซึ่งในกิจกรรมที่ผ่านมา ซีพี ออลล์ได้เห็นถึงความสำคัญและเข้ามาสนับสนุนในกิจกรรมเก็บขยะต่างๆ หลายครั้ง สำหรับครั้งนี้ ทั้งชมรมดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์และซีพี ออลล์ต้องการส่งเสริมเยาวชนคนรุ่นใหม่ และเพิ่มจำนวนจิตอาสาใต้น้ำ ที่สามารถดำน้ำลึกเพื่อร่วมจัดการขยะใต้ทะเลและดูแลท้องทะเลไทย ได้ จึงได้ริเริ่มโครงการ "ลองหลง ลงเล" เป็นรุ่นแรก

นางสาวสาธิยา สองใหม่ จิตสาธารณะ ซีพี ออลล์ ที่เข้ารับการฝึกอบรมทักษะดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์ เล่าความรู้สึกที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมว่า "รู้สึกดีใจมากที่ซีพี ออลล์เห็นถึงความสำคัญของธรรมชาติ เมื่อบริษัทเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเป็นสิ่งที่ดีมากเลย เพราะปกติที่ทำงานทุกวันไม่ได้มีอะไรที่แปลกใหม่ และแตกต่างไปจากเดิม ซึ่งกิจกรรมนี้ดีมากๆ เพราะได้ฝึกทักษะที่ยาก กว่าจะเรียนจบไม่ได้ง่ายเลย ต้องเรียนและ สอบถึง 30 ทักษะ ซึ่งครูฝึกเข้มงวดมาก ทักษะไหนไม่ผ่านต้องสอบใหม่ เพื่อที่เราจะได้ปลอดภัยเมื่ออยู่ใต้ทะเล จริงๆ อยากเรียนดำน้ำมานานแล้ว และกิจกรรมนี้เป็นการเรียนดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์ ตรงนี้ไม่ได้เป็นเพียงทักษะที่จะติดตัวเรา แต่เป็นประโยชน์ต่อธรรมชาติ อย่างน้อยก็ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ในฐานะตัวแทนพนักงานดีใจที่สุดที่ได้รับโอกาส และเราได้เห็นคุณค่าในตัวเรามากขึ้น ได้รู้ว่าเราทำอะไรได้บ้าง และอยากให้มีกิจกรรมแบบนี้อีก"

นอกจากนี้ ชมรมดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์, Kong Gang Diving Superdive Thailand อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ และ ซีพีออลล์ ร่วมกับ ศูนย์อนุรักษ์อุทยานใต้ทะเลจุฬาภรณ์ สำนักกิจกรรมพิเศษ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จัดกิจกรรมเก็บขยะชายหาด และดำน้ำเก็บขยะใต้ทะเล บริเวณศูนย์อนุรักษ์อุทยานใต้ทะเลจุฬาภรณ์ สำนักกิจกรรมพิเศษ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และบริเวณเขาหน้ายักษ์ ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา โดยมีนักดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์ และจิตอาสาจากหน่วยงานต่างเข้าร่วม

โดยขยะที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมช่วยกันเก็บได้ประกอบด้วย ขยะชายฝั่งจำพวก เครื่องมือประมงเก่า โฟม เชือก ทุ่น ขยะจำพวกพลาสติก ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก วัสดุต่างๆที่เป็นพลาสติก และขยะชายฝั่งจำพวกแก้ว ขวดเครื่องดื่มชูกำลัง ขวดเบียร์ เหล้า ขวดแก้ว รวมทั้งสิ้น 80 ถุง น้ำหนักตอนเปียกชื้นโดยรวมกว่า 2,295 กิโลกรัม และขยะจากใต้ท้องทะเลกว่า 140 กิโลกรัม ซึ่งได้นำมาเข้าสู่ขบวนการคัดแยกและจัดการขยะ

ด้วยแรงผลักดันและความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน ทั้งชมรมดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์, Kong Gang Diving Superdive Thailand อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ศูนย์อนุรักษ์อุทยานใต้บริเวณศูนย์อนุรักษ์อุทยานใต้ทะเลจุฬาภรณ์ สำนักกิจกรรมพิเศษ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ณ์ ทีมจิตสาธารณะซีพี ออลล์ และผู้เข้ารับการอบรม ที่มีความมุ่งมั่นเพื่อขับเคลื่อนโครงการในการสร้างนักดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์รุ่นใหม่ เพื่อเป็นการจุดประกายและส่งเสริมให้คนในสังคมตระหนักถึงการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศน์ที่สวยงามของทะเลไทย รวมถึงการส่งเสริมการจัดการขยะเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์


ข่าวสิ่งแวดล้อม+ชมรมดำน้ำวันนี้

AMARC ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ พร้อมอนุมัติจ่ายปันผลอีก 0.02 บาท/หุ้น

รศ.นพ. วิรัตน์ วงศ์แสงนาค (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานกรรมการบริษัท บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย จำกัด (มหาชน) หรือ AMARC (เอมาร์ค) ผู้นำการให้บริการทางวิทยาศาสตร์ ด้านเกษตร อาหาร ยา และสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานสากล และ ดร.ชินดนัย ไชยยอง (ที่ 3 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริษัท ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกในโอกาสจัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 โดยที่ประชุมมีมติอนุมัติผ่านทุกวาระ พร้อมอนุมัติการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานงวดปี 2567 ให้

มูลนิธิสัมมาชีพเปิดหลักสูตรผู้นำ-นำการเปล... มูลนิธิสัมมาชีพเปิดหลักสูตร LFC รุ่นที่ 15 ESG in Practices ปรับธุรกิจให้โตยั่งยืน รับกติกาใหม่โลก — มูลนิธิสัมมาชีพเปิดหลักสูตรผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง รุ่...

มิสทิน ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั... มิสทิน ร่วมกับ ทช. เดินหน้าโครงการยกเลิกการใช้สารที่เป็นอันตรายต่อปะการัง — มิสทิน ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เดินหน้าโครงการยกเลิกการใช้ส...

เอสซีจี นำเทรนด์นวัตกรรมคาร์บอนต่ำ ร่วมงา... เอสซีจี นำเทรนด์นวัตกรรมคาร์บอนต่ำ ร่วมงานสถาปนิก'68 ภายใต้แนวคิด "Seamless Quality Living" — เอสซีจี นำเทรนด์นวัตกรรมคาร์บอนต่ำ ร่วมงานสถาปนิก'68 ภายใต้แ...

รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ปได้รับตราสัญลักษณ์... รอยัล คลิฟ พัทยา ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม กับการคว้ารางวัล G-Green ระดับดีเยี่ยม — รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ปได้รับตราสัญลักษณ์ G-Green โรงแรมที่เป...

พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2025 จัดขึ้... Plastics & Rubber Thailand 2025 งานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตพลาสติกและยาง — พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2025 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยได้รับคว...