ม.มหิดล วิจัยเตรียมรับแรงงานย้ายถิ่นคุณภาพ เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา โครงสร้างประชากรในหลายประเทศได้เปลี่ยนแปลงไป โดยอัตราการเกิดลดลง และอายุคาดเฉลี่ยของประชากรเพิ่มสูงขึ้น ทำให้หลายประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัย เช่น อิตาลี สเปน เยอรมนี ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้รวมทั้งประเทศไทย

ม.มหิดล วิจัยเตรียมรับแรงงานย้ายถิ่นคุณภาพ เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

การเข้าสู่สังคมสูงวัยของประเทศไทยอย่างรวดเร็ว จะส่งผลกระทบต่างๆ มากมาย ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลง ปัญหาขาดแคลนแรงงาน และการจัดสรรทรัพยากร เพื่อดูแลผู้สูงอายุที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการย้ายถิ่นจะเป็นประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากสังคมสูงวัยของไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สักกรินทร์ นิยมศิลป์ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่าโครงสร้างประชากรไทยกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยสัดส่วนประชากรวัยแรงงานกำลังลดลง แต่สัดส่วนประชากรสูงอายุได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และในอนาคตอันใกล้ราวปี 2572 ประชากรไทยจะเริ่มลดลง ซึ่งจะทำให้ปัญหาขาดแคลนกำลังแรงงานทวีความรุนแรงมากขึ้น จากปัจจุบันที่ประเทศไทยได้ "นำเข้าแรงงานข้ามชาติ" เพื่อทดแทนแรงงานที่ขาดแคลนอยู่แล้วจำนวน 3-4 ล้านคน

เพื่อวางแนวทางเพื่อรองรับปัญหาการลดลงของประชากรปัญหาขาดแคลน และตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่มีรายได้สูงมหาวิทยาลัยมหิดล โดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม จึงได้ทำหน้าที่ "ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล ริเริ่มโครงการวิจัย เรื่อง "การย้ายถิ่นระหว่างประเทศของไทย (International Migration in Thailand)

โดยมีระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 ที่ผ่านมาเพื่อศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การย้ายถิ่นของไทยภายหลังสถานการณ์ COVID-19 และกำหนดแนวนโยบายด้านการย้ายถิ่นที่เหมาะสม โดยครอบคลุมการย้ายถิ่นของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ นักศึกษานานาชาติ และผู้เกษียณอายุชาวต่างชาติด้วย

"ในขณะที่ประชากรสูงวัยเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดต่อไปในอนาคต คือ การขาดแคลนประชากรวัยแรงงาน ทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และภาคบริการ โดยแรงงานที่มีแนวโน้มความต้องการสูงขึ้นมากในระยะยาว คือ"แรงงานในภาคบริการ" และแรงงานประเภท "แรงงานทักษะสูง" ในอุตสาหกรรมไฮเทคต่างๆ

เนื่องจากการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 นั้น จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีระดับสูงควบคู่กันไปด้วย โดยคาดว่าประเทศไทยต้องการ "แรงงานทักษะสูง" ดังกล่าวไม่น้อยกว่า 2 ล้านคนในช่วง 20 ปีข้างหน้าโดยส่วนหนึ่งจะมาจากแรงงานทักษะสูงต่างชาติ เนื่องจากเราไม่สามารถผลิตบุคลากรได้พอเพียง" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.สักกรินทร์ นิยมศิลป์ กล่าว

เป้าหมายสำคัญของการวิจัยนี้คือ การศึกษานโยบายการย้ายถิ่นเพื่อทดแทนประชากร (Replacement Migration Policy) เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการลดลงของประชากรอันเนื่องมาจากสังคมสูงวัย (ageing society) และการปรับตัวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

โดยกำหนดนโยบายวีซ่าระยะยาวที่เหมาะสม เพื่อดึงดูดแรงงานข้ามชาติที่มีคุณสมบัติตามที่ประเทศไทยต้องการและ ผลักดัน "มาตรการที่ยั่งยืน" ที่ครอบคลุมถึงสวัสดิการต่างๆ ที่จำเป็นต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานย้ายถิ่น การบูรณาการทางสังคม และการคุ้มครองสิทธิ์ของผู้ย้ายถิ่นด้วย

ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สักกรินทร์ นิยมศิลป์ ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อการเตรียมพร้อมมาตรการนำเข้าแรงงานย้ายถิ่นเพื่อทดแทนประชากรของประเทศไทยว่า ควรกำหนดคุณสมบัติที่พึงประสงค์ และเป้าหมายที่ชัดเจนตามหลักอุปสงค์และอุปทานด้านแรงงาน ว่า ควรเป็นไปในลักษณะจำนวนเท่าใด และมีวิธีการในการพิจารณาโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมอย่างไร เพื่อเป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไปในอนาคต และชะลอผลกระทบจากปัญหาการลดลงของประชากรในระยะยาว

โครงการฯ คาดว่าผลจากการวิจัยนี้ จะทำให้กลุ่มผู้ย้ายถิ่นต่างๆ ทั้งแรงงานข้ามชาติ นักเรียนนักศึกษานานาชาติ รวมถึงผู้เกษียณอายุชาวต่างชาติ หันมามองประเทศไทย ในฐานะ "บ้านที่ 2 อันอบอุ่น" และพร้อมเติบโตไปกับอนาคตที่สดใสของประเทศไทยร่วมกัน

ติดตามข่าวที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210


ข่าวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ+ขาดแคลนแรงงานวันนี้

OR จับมือภาครัฐและผู้ประกอบการชุมชน เพิ่มประสิทธิภาพการตลาดผลิตภัณฑ์ OTOP ผ่านโครงการ 'ไทยเด็ด' มุ่งเสริมแกร่งเศรษฐกิจชุมชนไทยอย่างยั่งยืน

OR ผนึกกำลังกับ 10 กระทรวงและผู้ประกอบการชุมชนกว่า 487 ราย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "พลิกโฉม OTOP ไทยสู่โลกออนไลน์และ Modern Trade" ขยายช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ OTOP ผ่าน โครงการ "ไทยเด็ด" ในเครือข่ายสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น และคาเฟ่ อเมซอน ทั่วประเทศ ตั้งเป้าสร้างรายได้ให้ชุมชน 200 ล้านบาทในปี 2568 พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากไทยสู่การค้าสมัยใหม่อย่างยั่งยืน นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "พลิกโฉม OTOP ไทยสู่

เมื่อเร็วๆ นี้ คณะที่ปรึกษาด้านการค้าต่าง... เศรษฐา-ร่วมเจรจาบริษัทชั้นนำฝรั่งเศส ดึงโอกาสลงทุน-ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย — เมื่อเร็วๆ นี้ คณะที่ปรึกษาด้านการค้าต่างประเทศของฝรั่งเศสในประเทศไทย (French F...

พาราไดซ์ พาร์ค ศูนย์การค้าในเครือเอ็ม บี ... พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข จัดงาน Oriental Wellness สุขภาพดี วิถีตะวันออก — พาราไดซ์ พาร์ค ศูนย์การค้าในเครือเอ็ม บี เค ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกา...