นายสายันต์ ตันพานิช ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยสู่เชิงพานิชย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร.โสภาพรรณ สัญญาณเสนาะ รักษาการ ผู้อำนวยการ สำนักจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม วว. เข้าร่วมการสัมมนาเรื่อง "การใช้ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าลำไย" ในฐานะหน่วยงานวิจัยที่มีโครงสร้างพื้นฐาน คือ โรงรมลำไยด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซต์ ณ จังหวัดลำพูน และมีองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านผลงานวิจัยพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าลำไยมายาวนานและมีผลการดำเนินงานที่สำเร็จเป็นรูปธรรม การสัมมนาดังกล่าวจัดโดย คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบปัญหาที่ทำให้ราคาลำไยตกต่ำ ซึ่งจะนำไปสู่การบูรณาการร่วมกันในการหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยผลักดันการนำผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสำหรับการเพิ่มมูลค่าลำไยมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งแนวทางการสนับสนุนในการขับเคลื่อนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ของจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม โรงแรมแชงกรี่-ลา เชียงใหม่
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร ตระหนักถึงปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกลำไยที่มีราคาตกต่ำทั่วประเทศ และเพื่อต้องการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลำไย โดยต้องมีการวิจัยต่อยอดเพื่อให้มีความเฉพาะทางมากขึ้น นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกิดจากงานวิจัยมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่หรือกระบวนการใหม่ โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์จะก่อให้เกิดเพิ่มมูลค่าลำไยและขยายผลทางตลาดอย่างยั่งยืน การสัมมนาในครั้งนี้จึงมุ่งบูรณาการงานวิจัยร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาและหน่วยงานวิจัยเพื่อคัดเลือกผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังนักวิจัยท้องถิ่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับภาคเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยต่อไป
นำเสนอข่าวโดย กองประชาสัมพันธ์ สำนักสื่อสารองค์กร วว. โทร. 0 2577 9360 E-mail : [email protected] Line@TISTR IG : tistr_ig
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (ศนอ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพิ่มมูลค่าสมุนไพร "ใบเตย" โดยการวิจัยและพัฒนาเป็น "สารสกัด" นำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเสริมสุขภาพในระบบกระดูกและข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย มุ่งเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค พร้อมเสริมแกร่งผู้ประกอบการด้วยผลงานมาตรฐานสากล ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. โดย
วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...
วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...
วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...
วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว."
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...
วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...
วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition
—
วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition จากผลงาน...
สถานีวิจัยลำตะคอง วว. บริการ จุดพักรถ…พักผ่อน เติมพลัง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ "8 - 15 เมษายน 2568"
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)...
วว. /สทนช./สวก. ผนึกกำลัง Kick off โครงการบำบัดและฟื้นฟูแหล่งน้ำในพื้นที่ชุมชนเหนือน้ำหนองกุดทิง จังหวัดบึงกาฬ
—
วว. /สทนช./สวก. ผนึกกำลัง Kick off โครงก...