ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University Technology Center: UTC) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบริษัท แลนซิ่ง บิสสิเนส ซิสเต็มส์ จำกัด ในการร่วมพัฒนานวัตกรรม "โครงการ dBreast" แอปพลิเคชั่นสำหรับแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม โดยมี อ.ดร.ประวีร์ เครือโชติกุล หัวหน้าศูนย์ UTC รศ.ดร.นพ.โสภาคย์ มนัสนยกรณ์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการ dBreast คุณนวรัตน์ รัตน์นราทร และคุณประพนธ์ ทุ่งสี่ กรรมการบริษัท แลนซิ่ง บิสสิเนส ซิสเต็มส์ จำกัด ร่วมในพิธีลงนามความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรม dBreast แอปพลิเคชั่นสำหรับแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2565 ณ สำนักงาน UTC โครงการ Block28 : creative & startup village
"โครงการ dBreast" เป็นการพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น dBreast ที่รวบรวมฐานข้อมูลของผู้ป่วยและประวัติการรักษาอย่างละเอียดรวมไว้ในที่เดียวกัน จากสถิติข้อมูลในปี 2563 พบว่ามีผู้หญิงไทยป่วยด้วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ราว 18,000 คนต่อปี หรือคิดเป็น 49 คนต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมราว 4,800 คน หรือคิดเป็น 13 คนต่อวัน ซึ่งแนวโน้มอัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาแอปพลิเคชั่น dBreast จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แพทย์ผู้รักษาสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ ทุกเวลาแบบเรียลไทม์ สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์และศึกษาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยแพทย์สามารถนำแอปพลิเคชั่นนี้ติดตัวไปได้ทุกที่ ในกรณีผู้ป่วยเกิดเหตุฉุกเฉิน แพทย์จะสามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้ทันท่วงที
ทั้งนี้ "โครงการ dBreast" ได้รับความช่วยเหลือด้านการให้คำแนะนำการทำแผนธุรกิจจากศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม จุฬาฯ (UTC) ในอนาคตจะมีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นให้สามารถนำไปใช้ได้ในวงกว้างและสามารถประยุกต์เข้ากับการรักษาโรคอื่นๆ โดยร่วมมือกับบริษัท แลนซิ่ง บิสสิเนส ซิสเต็มส์ จำกัด ในการร่วมพัฒนาให้แอปพลิเคชั่น dBreast เป็นฐานข้อมูลที่ละเอียดและน่าเชื่อถือ พร้อมคาดการณ์แล้วเสร็จภายใน 6 เดือนข้างหน้า เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการวางแผนทางด้านสาธารณสุขของประเทศอีกด้วย
จุฬาฯ จัดงาน Chulalongkorn University President's Distinguished Speakers ครั้งที่ 3 โดยอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรออนไลน์บน Coursera ที่มีชื่อเสียงระดับโลก เน้นบทบาทของ Generative AI ในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงาน Chulalongkorn University President's Distinguished Speakers ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ "Using Generative AI to strengthen and speed learning" เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567 ณ ห้องประชุมพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา อาคารพระมิ่งขวัญการศึกษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.วิ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนาม MOU สร้างความมั่นคงทางการเงินในทุกช่วงวัย
—
ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แ...
Chula's Breakthrough Arto Sucrose-reduces Tech Cuts Sugar in Fruits by 65% and Converts to Prebiotics for Healthier Eating
—
Professor Dr. Supaart Sirikan...
UP Promotes Ban Hmong Mai Community Enterprise as a Cultural Tourism and Learning Hub for Hmong Heritage.
—
The University of Phayao, in collaboration wit...
Chula Supports Push for Thai Pha Khao Ma as UNESCO Intangible Cultural Heritage with a Pattern Database
—
The Institute of Thai Studies , Chulalongkorn Un...
Global Business School Leaders Gather at Sasin to Drive Social Impact in Education
—
Bangkok, Thailand From March 17-19, Sasin School of Management hosted...
Chula Ranked #1 in Thailand Across 34 Subjects in QS University Rankings by Subject 2025
—
Chulalongkorn University has been recognized as the leading uni...
UR and Chulalongkorn University have exchanged a Memorandum of Understanding (MOU) to promote urban development in Thailand
—
Urban Renaissance Agency (UR...
Chulalongkorn University Unveils Exoskeleton Wheelchair to Aid Mobility
—
Chulalongkorn University has introduced the Exoskeleton Wheelchair , an innovati...