มุ่งเป้าปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันระยะยาวและความยั่งยืนของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ผ่านระบบอัตโนมัติ วิทยาการหุ่นยนต์ และการแปลงเป็นดิจิทัล
ออมรอน (OMRON) ผู้นำระดับโลกด้านระบบอัตโนมัติในโรงงาน รวมถึงโซลูชันอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ได้ประกาศเปิดศูนย์ระบบอัตโนมัติ (Automation Center) แห่งแรกที่ให้บริการเฉพาะอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในสิงคโปร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโอเชียเนีย ศูนย์อัตโนมัติของออมรอนเป็นแห่งที่ 2 ในสิงคโปร์ แห่งที่ 6 ในเอเชียแปซิฟิก และแห่งที่ 38 ทั่วโลก
ได้รับการตั้งชื่อว่าศูนย์ระบบอัตโนมัติออมรอนประจำประเทศสิงคโปร์ สำหรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ (OMRON AUTOMATION CENTER SINGAPORE for Logistics) และเป็นหนึ่งในศูนย์พัฒนาโซลูชันแห่งแรกที่สนับสนุนการนำโครงสร้างของมิดเดิลแวร์ควบคุมการทำงานหุ่นยนต์ หรืออาร์เอ็มเอฟ (Robotics Middleware Framework - RMF) มาใช้ในระบบโลจิสติกส์ โดยจะเปิดใช้งานและแสดงการทำงานร่วมกันระหว่างระบบหุ่นยนต์หลายตัว (MRS) ที่ซับซ้อนและต่างกัน ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรที่ดีขึ้นและราบรื่น โดยหุ่นยนต์เคลื่อนที่จะใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือที่มีอยู่แล้วภายในคลังสินค้าทำการเคลื่อนย้ายสินค้าโดยอัตโนมัติ (การจัดการ การเคลื่อนย้าย และการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า) ขณะที่พวกมันทำงานร่วมกับพนักงานที่เป็นมนุษย์ในพื้นที่ผลิต
นายจุนตะ ทสึจินางะ (Mr Junta Tsujinaga) ประธานบริษัทอินดัสเทรียล ออโตเมชัน (Industrial Automation Company) ของออมรอน คอร์เปอเรชัน (OMRON Corporation) แสดงความกระตือรือร้นขณะเปิดศูนย์แห่งนี้ เขากล่าวว่า "การเปิดตัวศูนย์แสดงถึงก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของออมรอนที่ได้บรรลุวิสัยทัศน์ของเราในการ "สร้างคุณค่าให้กับอนาคตของผู้คน อุตสาหกรรม และโลก ด้วยนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ" โดยการขยายการมีอยู่และการเข้าถึงของศูนย์ระบบอัตโนมัติออมรอนในอุตสาหกรรมเฉพาะกลุ่มที่กำลังเติบโต วิสัยทัศน์ระยะยาวของเราคือการกำหนดอนาคตปี 2573 (Shaping the Future - SF 2030) ได้คำนึงถึงโลกของการผลิตที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง มีความหลากหลาย และซับซ้อน ซึ่งนำโดยอุตสาหกรรม 4.0 และการแปลงเป็นดิจิทัล ด้วยความรู้และวุฒิภาวะด้านระบบอัตโนมัติที่หลากหลายในภูมิภาคนี้ เราเชื่อว่าความสามารถพิเศษของเราที่อาศัยความสอดคล้องกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร และการทำงานร่วมกันกับองค์กรที่มีแนวคิดเดียวกันจะช่วยให้เกิดวิวัฒนาการของเทคโนโลยี เพื่อตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไปสู่โลจิสติกส์ 4.0 และคลังสินค้าอื่น ๆ กลายเป็นระบบอัตโนมัติ"
ศูนย์แห่งนี้มีเป้าหมายที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรในระบบนิเวศของวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อเร่งให้เกิดการยอมรับของโลจิสติกส์ 4.0 ในเอเชียแปซิฟิก โดยจัดการกับปัญหาที่ใหญ่ที่สุดบางประการ เช่น การขาดแคลนแรงงาน พื้นที่จำกัด การหยุดชะงักของซัพพลายเชน และความเร่งด่วนในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ยั่งยืน เพื่อรักษาความยืดหยุ่นในขณะที่เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงสุด นอกจากนี้ ยังจะช่วยตอบโจทย์ความต้องการระบบคลังสินค้าอัตโนมัติของภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นด้วยอัตราการเติบโตต่อปีที่มากกว่า 14% ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยจะเพิ่มขึ้นสูงขึ้นทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียแปซิฟิก(1)
"งานในวันนี้ถือเป็นก้าวสำคัญและตอกย้ำความมุ่งมั่นของออมรอน ในการตอบสนองต่อปัญหาสังคมและความต้องการของภาคส่วนที่มุ่งเน้นโซลูชันระบบอัตโนมัตินวัตกรรมใหม่ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ทั่วสิงคโปร์และอีกหลายประเทศในเอเชียแปซิฟิกยังคงเติบโตอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน แม้จะมีความท้าทายมากมายก็ตาม ผมเชื่อว่าซัพพลายเชนแบบไดนามิกและยืดหยุ่นเป็นหนึ่งในความจำเป็นที่สำคัญที่สุดสำหรับภูมิภาคนี้ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลกและพร้อมสำหรับอนาคต" นายดอน เต็ง (Mr Don Teng) กรรมการผู้จัดการ ออมรอน เอเชียแปซิฟิก กล่าว "ศูนย์ระบบอัตโนมัติออมรอนประจำประเทศสิงคโปร์ สำหรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ จะช่วยให้ผู้เล่นในเอเชียแปซิฟิกสามารถทดสอบ พัฒนา และปรับใช้โซลูชันนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ เพื่อปฏิวัติลำดับงานและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญสำหรับการเติบโตในอนาคต"
ศูนย์แห่งนี้เป็นสถานที่ที่ไม่เหมือนใครและมีโซลูชันมากมายสำหรับระบบโลจิสติกส์ภายในองค์กร เช่น การสาธิตการดำเนินงานของศูนย์รวมสินค้าแบบครบวงจร โดยใช้หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานและโซลูชันหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบกำหนดเอง ใช้ฟีเจอร์การนำทางธรรมชาติเพื่อดำเนินการเคลื่อนย้ายวัสดุแบบอัตโนมัติ การหยิบของด้วยภาพ 3 มิติ และโซลูชันการจัดวางบนแท่นวาง การทำงานร่วมกันของหุ่นยนต์เคลื่อนที่โดยใช้อาร์เอ็มเอฟ ห้องฝึกอบรมด้านโลจิสติกส์ รวมถึงการเลือกสรรเทคโนโลยีที่ช่วยให้การดำเนินงานมีความยั่งยืน
นายสวามี วี รามามูร์ธี (Mr Swami V Ramamurthy) หัวหน้าแผนกธุรกิจหุ่นยนต์ ออมรอน เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "โซลูชันระบบโลจิสติกส์ภายในองค์กรที่เชื่อมต่อกันของออมรอนและความสามารถในการวิเคราะห์ตามเวลาจริง ซึ่งรวมถึงหุ่นยนต์นำทางด้วยภาพ 3 มิติและโซลูชันหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบกำหนดเอง จะทำให้ลูกค้าของเราใช้ประโยชน์จากพลังของข้อมูล เพื่อทำการตัดสินใจทางธุรกิจที่รวดเร็วและชาญฉลาดยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้พวกเขามีความได้เปรียบในการแข่งขันและมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไปพร้อมกัน นอกจากนี้ ศูนย์ดังกล่าวจะพลิกโฉมอุตสาหกรรมด้วยการช่วยให้องค์กรต่าง ๆ บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ด้วยประสิทธิภาพการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นและผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งบ่งบอกถึงการเปลี่ยนผ่านไปสู่โลจิสติกส์ 4.0 อย่างแท้จริง"
ออมรอนวางแผนที่จะทำงานอย่างจริงจังกับบริษัทเทคโนโลยี ผู้รวมระบบ และสตาร์ตอัป ด้วยการนำเสนอเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เพื่อบุกเบิกโซลูชันคลังสินค้าอัตโนมัติที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะของศูนย์รวมสินค้า 3PL และ 4PL ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซ และผู้ใช้ปลายทางด้านการจัดการคลังสินค้าอื่น ๆ
พร้อมกันกับการเปิดตัวศูนย์ ออมรอนยังได้ริเริ่มความร่วมมือกับกลุ่มอาร์โอเอส-ไอ คอนซอร์เทียม เอเชียแปซิฟิก (ROS-I Consortium Asia Pacific) ซึ่งบริหารงานโดยศูนย์เออาร์ทีซี (ARTC)(2) ของหน่วยงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการวิจัย หรือเอ*สตาร์ (A*STAR) เพื่ออำนวยความสะดวกในการบ่มเพาะ พัฒนาความสามารถและการนำไปใช้งาน ที่ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างของมิดเดิลแวร์ควบคุมการทำงานหุ่นยนต์ (อาร์เอ็มเอฟ) สำหรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ความร่วมมือครั้งนี้ยังมีเป้าหมายเพื่อพัฒนามาตรฐานทั่วไปสำหรับวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่สามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลก โดยใช้ประโยชน์จากโซลูชันหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบกำหนดเองของออมรอน และใช้ศูนย์แห่งนี้เป็นสถานที่ทดสอบเพื่อสร้างแบบจำลองอาร์เอ็มเอฟในด้านโลจิสติกส์
"เราตั้งตารอที่จะได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับออมรอน เพื่อเป็นผู้นำในการนำโครงสร้างไปใช้ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการใช้งานในระดับอุตสาหกรรมและการใช้งานข้ามภาคส่วนอื่น ๆ" ดร. หว่อง โจว เฉอ (Dr Wong Chow Cher) ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารของศูนย์เออาร์ทีซี เอ*สตาร์ กล่าว
(1) ที่มา : รายงานวิจัยไอคิว ปี 2564 (IQ Research report, 2021) |
(2) เอ*สตาร์ : หน่วยงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการวิจัย ; เออาร์ทีซี : ศูนย์การผลิตซ้ำและเทคโนโลยีขั้นสูง (A*STAR : Agency for Science, Technology and Research ; ARTC : Advanced Remanufacturing and Technology Centre) |
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1959508/8_OMRON_s_pallet_picking_robot_solution_on_showcase_at_OMRON_s_newly_launched_AUTOMATION_CENTER_SING.jpg
คำบรรยายภาพ - โซลูชันหุ่นยนต์หยิบพาเลทของออมรอน จัดแสดงที่ศูนย์ระบบอัตโนมัติสิงคโปร์สำหรับโลจิสติกส์ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ของออมรอน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit