กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยผู้บริหาร บุคลากร วว. ประกอบด้วย ดร.ปิยะ ปานผู้มีทรัพย์ ผอ. สำนักยุทธศาสตร์วิสาหกิจ (สยศ.) นางปริยะดา วิสุทธิแพทย์ ผอ.สำนักจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (สจท.) ดร.โสภาพรรณ สัญญานเสนาะ ผอ. กองพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรม (กพน.) ดร.บุณณนิดา โสดา ผอ. กองวิเทศสัมพันธ์ (กวส.) และนางสาวพิมประไพ ศุภรรัตน์ นักวิเทศสัมพันธ์ เข้าร่วมการประชุม The ปริยะดา วิสุทธิแพทย์st Meeting of ASEAN BCG Network ในวันที่ 27 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ ASEAN BCG Network เป็นกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคอาเซียน ผลักดันการจัดตั้งโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่ริเริ่มผลักดันด้าน Bio-Circular-Green หรือ BCG โดยข้อเสนอการจัดตั้ง ASEAN BCG Network ผ่านการอนุมัติในที่ประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วย วทน. (ASEAN COSTI) ในปี 2564 หน่วยงานที่สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานวิจัยและพัฒนา สถาบันการศึกษา ที่มีความสนใจและดำเนินงานเพื่อส่งเสริม ผลักดัน BCG ซึ่ง วว. ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี 2565
การประชุม The 1st Meeting of ASEAN BCG Network ดังกล่าว เป็นการประชุมสมาชิกครั้งแรก โดยมีหน่วยงานสมาชิกที่เข้าร่วมจากประเทศ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ในขณะที่ประเทศไทย มีผู้แทนจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษธานี วว. และ สวทช. โดยผู้แทนหน่วยงานที่เข้าร่วมการประชุม ได้นำเสนอผลงานเพื่อผลักดันด้าน BCG รับฟังและระดมความคิดเห็นแผนงานจากเลขาธิการเพื่อดำเนินการในปี 2565-2566
อนึ่ง เป้าหมายในการดำเนินงานของ ASEAN BCG Network มุ่งร่วมกันผลักดันความตระหนักรู้แนวนโยบายดำเนินการ BCG ส่งเสริมขีดความสามารถทางเศรษฐกิจหลักที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 สนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความร่วมมือ ทั้งทางยุทธศาสตร์ นโยบาย การดำเนินการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) และรูปแบบธุรกิจระหว่างสมาชิกในอาเซียน ตลอดจนการปรับใช้เทคโนโลยีเชิงนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ BCG สู่ชุมชนและภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งรูปแบบความร่วมมือในมิติต่างๆ เช่น จัดทำเว็บไซต์ฐานข้อมูลด้าน BCG การสัมมนาฝึกอบรมในรูปแบบ Onsite และ Online โครงการวิจัยร่วม เป็นต้น
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานมอบประกาศนียบัตรและร่วมแสดงความยินดีในโอกาสที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมโชว์ผลงาน "สารออกฤทธิ์ทุติยภูมิจากเห็ดหลินจือแดงสำหรับบรรเทาอาการของโรคไต: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตราเบต้าไลฟ์" จัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 "The 50th International Exhibition of Inventions Geneva" โอกาสนี้ ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. นางสาวอุบล ฤกษ์อ่ำ
วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...
วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...
วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว."
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...
วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...
วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition
—
วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition จากผลงาน...
สถานีวิจัยลำตะคอง วว. บริการ จุดพักรถ…พักผ่อน เติมพลัง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ "8 - 15 เมษายน 2568"
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)...
วว. /สทนช./สวก. ผนึกกำลัง Kick off โครงการบำบัดและฟื้นฟูแหล่งน้ำในพื้นที่ชุมชนเหนือน้ำหนองกุดทิง จังหวัดบึงกาฬ
—
วว. /สทนช./สวก. ผนึกกำลัง Kick off โครงก...
วว. / ธ.ก.ส. หารือแนวทางนำเทคโนโลยีเกษตร ชีวภาพ อาหาร ต่อยอดดำเนินงานร่วมกันในปี 2568
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแ...