การแข่งขันออกแบบอาคารพลังงานแสงอาทิตย์ระดับนานาชาติปี 2565 เริ่มขึ้นแล้ว

การแข่งขันออกแบบอาคารพลังงานแสงอาทิตย์ระดับนานาชาติปี 2565 (International Solar Building Design Competition 2022) ซึ่งมีคณะกรรมการผู้จัดงานดังกล่าวเป็นเจ้าภาพ จะมาในธีม "แสงแดดและสถานีในทัศนียภาพ" (Sunshine & Station in the Scenery) โดยจะจัดขึ้นที่เขตอนุรักษ์ธรรมชาติถิ่นที่อยู่แพนด้ายักษ์ (Giant Panda Habitat Nature Reserve) ในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติขนาดเล็กลุ่มน้ำกวันบาโกว (Guanbagou Basin Nature Mini-Reserve) อำเภอผิงหวู่ มณฑลเสฉวน โดยการแข่งขันครั้งนี้มีเป้าหมายอยู่ที่สถานีวิจัย ตลอดจนการสำรวจวิธีการและไอเดียใหม่ ๆ ในการอนุรักษ์ระบบนิเวศด้วยทรัพยากรหมุนเวียน โดยตัวโครงการจะเป็นการสร้างสถานีวิจัยเพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานและที่อยู่อาศัยสำหรับผู้เยี่ยมชม, นักวิจัย และนักศึกษา ทั้งนี้ โครงการที่ชนะรางวัลที่หนึ่งจะถูกนำไปใช้ในการก่อสร้าง และทีมที่ชนะจะได้มีส่วนร่วมในโครงการแบบลงลึกร่วมกับทีมผู้เชี่ยวชาญ

การแข่งขันออกแบบอาคารพลังงานแสงอาทิตย์ระดับนานาชาติปี 2565 เริ่มขึ้นแล้ว

ผู้เข้าร่วมจะแข่งขันกันเพื่อชิงรางวัลที่หนึ่ง 1 รางวัล (พร้อมโบนัส 100,000 หยวน), รางวัลที่สอง 3 รางวัล, รางวัลที่สาม 6 รางวัล, รางวัลเชิดชู 20 รางวัล และรางวัลชมเชย 30 รางวัล พร้อมโบนัสรวมทั้งสิ้น 320,000 หยวน โดยผู้เข้าร่วมต้องลงทะเบียนก่อนวันที่ 15 สิงหาคมและส่งผลงานก่อน 30 กันยายนนี้ ไม่มีค่าธรรมเนียมการลงทะเบียน

การแข่งขันครั้งนี้มีเจ้าภาพเป็นสมาคมพลังงานแสงอาทิตย์นานาชาติ (International Solar Energy Society), สถาบันวิจัยกลางแห่งกลุ่มเทคโนโลยีการก่อสร้างจีน (Central Research Institute of China Construction Technology Group) และกลุ่มออกแบบและวิจัยสถาปัตยกรรมจีน (China Architecture Design & Research Group) โดยมีศูนย์วิจัยวิศวกรรมแห่งชาติจีนเพื่อการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ (China National Engineering Research Center for Human Settlements) เป็นผู้จัดงาน และเดลตากรุ๊ป (Delta Group) เป็นสปอนเซอร์หลัก

การแข่งขันจะเน้นไปที่เรื่องเด่นประเด็นร้อนในการประยุกต์ใช้ทรัพยากรหมุนเวียนในงานสถาปัตยกรรม เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ในงานสถาปัตยกรรมและชีวิตประจำวัน โดยการแข่งขันดังกล่าวจัดขึ้นมาแล้วเป็นเวลา 11 ปีนับตั้งแต่ปี 2548 และได้รับผลงานที่เข้าเกณฑ์ 1,873 รายการจาก 9,345 ทีม เรามีผู้เข้าร่วมจากมหาวิทยาลัยในจีน 232 แห่ง, มหาวิทยาลัยต่างประเทศ 25 แห่ง และบริษัทด้านการก่อสร้างอีกกว่า 120 แห่ง โดยโครงการจะมุ่งเน้นไปที่การนำผลงานจากการแข่งขันไปดำเนินการ ซึ่งมีโครงการจากการแข่งขันที่เสร็จสมบูรณ์และนำไปใช้จนถึงปัจจุบันมาแล้วทั้งสิ้น 5 โครงการ ทั้งนี้ สมาชิกทุกคนตั้งตารอที่จะได้ร่วมงานกับผู้เข้าแข่งขันเพื่อเผยแพร่ไอเดียการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ ประหยัดพลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน

โปรดสแกนคิวอาร์โค้ดบนโปสเตอร์เพื่อลงทะเบียน ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ: www.isbdc.cn

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1854938/panda_3.jpg
คำบรรยายภาพ - (โปสเตอร์การแข่งขัน International Solar Building Design Competition 2022)


ข่าวพลังงานแสงอาทิตย์+แข่งขันออกแบบวันนี้

กรมทรัพยากรน้ำ ปลื้มหนุนชาวสุโขทัย ใช้น้ำจากระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์หนองปลาหมอ เสริมอาชีพ สร้างรายได้ เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

กรมทรัพยากรน้ำ นำโดยนายโอภาส ถาวร รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ พร้อมด้วยนายนิมิตร โครตบัว ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 9 และเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรน้ำ ร่วมลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการก่อสร้างระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ หนองปลาหมอ ต.ย่านยาว อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ในวันที่ 18 เมษายน 2568 นายโอภาส ถาวร รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ เปิดเผยว่า ก่อนที่โครงการฯ จะติดตั้งระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ทางกรมทรัพยากรน้ำ ได้ทำการขุดลอกหนองปลาหมอ เพื่อรองรับน้ำขนาด 3.5 ล้านลูกบาศก์เมตร

เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ จับมือโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์ เปิดใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา ( Solar Rooftop)

ธีระยุทธ จิราธิวัฒน์ (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา พร้อมด้วย อรรถพงศ์ สถิตมโนธรรม (ที่ 5 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร...

นายคริสโตบอล ชิน (ขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บ... CHOW ตอกย้ำคุณภาพมาตรฐานสากล ผ่านการรับรอง ISO 9001 และ ISO 14001 — นายคริสโตบอล ชิน (ขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)...

Solis แบรนด์ผู้ผลิตอินเวอร์เตอร์พลังงานแส... Solis รุกตลาดไทยเต็มกำลัง ตั้งเป้าเบอร์ 1 อินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์ใน 1-2 ปี — Solis แบรนด์ผู้ผลิตอินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์อันดับ 3 ของโลกจากจีน...