กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผนึกกำลังร่วมพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดปทุมธานีและสระแก้ว ตามนโยบาย BCG Model พร้อมร่วมพัฒนาบุคลากรภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชนเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและประกาศนียบัตร เพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี นวัตกรรม และตลาดในอนาคต สู่การยกระดับคุณภาพชีวิต ชุมชน สังคม ให้ยั่งยืน
นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. รศ.ศศินันท์ เศรษฐวัฒน์บดี รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วย "การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว" เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการตามยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของกระทรวง อว. สนับสนุน ส่งเสริม และเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านวิชาการ การวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทรัพยากร เกษตรและชีวภาพ ชีวภัณฑ์ อาหารและการบริหารจัดการทรัพยากร ในรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio - Circular-Green Economy : BCG Model) โดย ใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดของเสีย นำมาหมุนเวียนใช้ใหม่ เพื่อสร้างและรักษาเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ตามธรรมชาติของจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ชุมชน และสังคมสู่ความยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารและบุคลากรทั้งสองหน่วยงานเข้าร่วมกิจกรรม ในวันที่ 23 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมชั้น 8อาคาร RD 1 วว. เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี
รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. กล่าวถึงขอบเขตความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงานว่า จะร่วมเป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ งานวิจัย การพัฒนาท้องถิ่น และงานอื่นๆ ตามพันธกิจของทั้งสองหน่วยงาน ร่วมกันพัฒนา หลักสูตรอนุปริญญา ปริญญาตรี บัณฑิตศึกษา และหลักสูตรการฝึกอบรม ที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบุคลากรและสมาชิกเครือข่ายสมาชิกของการดำเนินงานการพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างองค์กร ในการกำหนดแนวทางการพัฒนางานวิจัยให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการและตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน เพื่อผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยหรือผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ผลักดันผู้ประกอบการและผู้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ของจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้วให้มีความสามารถด้านการพัฒนาตนเองด้วย วทน. สามารถตอบสนองและก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งตลาดในอนาคต
"...ภายใต้ความร่วมมือนี้ วว. จะสนับสนุน บุคลากร และสมาชิกเครือข่ายเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีและประกาศนียบัตรกับ มรภ. วไลยอลงกรณ์ สนับสนุนและแลกเปลี่ยนบุคลากรเป็นวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร สนับสนุนการเรียนการสอนตามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ ดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เพื่อใช้ในการพัฒนา ผลผลิตทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอางจากพืช จุลินทรีย์ สมุนไพร ชีวภัณฑ์ด้านเกษตรปลอดภัย และวัสดุธรรมชาติ รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่พัฒนาจากทรัพยากรของท้องถิ่น รวมทั้งการทดสอบประสิทธิภาพและการประเมินความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ของจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว..." นายสายันต์ ตันพานิช กล่าว
รศ.ศศินันท์ เศรษฐวัฒน์บดี รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า มรภ. วไลยอลงกรณ์มุ่งการผลิตบัณฑิตโดยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ (Productive Learning) สร้างเครือข่ายความร่วมมือตามรูปแบบประชารัฐ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นในการพัฒนาท้องถิ่น โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น ถ่ายทอดและเผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วิจัยและนวัตกรรมสามารถแก้ไขปัญหาหรือเสริมสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่นเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนของประเทศ ประชาชนสามารถดำรงชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็งประชาชนมีความสุข และมีรายได้เพิ่มขึ้น ความร่วมมือกับ วว. ในครั้งนี้เชื่อมั่นว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์สำเร็จเป็นรูปธรรม ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรเครือข่ายของทั้งสองหน่วยงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ชุมชน และสังคมสู่ความยั่งยืนด้วย วทน. ซึ่งทั้งสองหน่วยงานมีความเชี่ยวชาญและพร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ร่วมกันแบบบูรณาการ
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานมอบประกาศนียบัตรและร่วมแสดงความยินดีในโอกาสที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมโชว์ผลงาน "สารออกฤทธิ์ทุติยภูมิจากเห็ดหลินจือแดงสำหรับบรรเทาอาการของโรคไต: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตราเบต้าไลฟ์" จัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 "The 50th International Exhibition of Inventions Geneva" โอกาสนี้ ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. นางสาวอุบล ฤกษ์อ่ำ
วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...
วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...
วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว."
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...
วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...
วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition
—
วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition จากผลงาน...
สถานีวิจัยลำตะคอง วว. บริการ จุดพักรถ…พักผ่อน เติมพลัง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ "8 - 15 เมษายน 2568"
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)...
วว. /สทนช./สวก. ผนึกกำลัง Kick off โครงการบำบัดและฟื้นฟูแหล่งน้ำในพื้นที่ชุมชนเหนือน้ำหนองกุดทิง จังหวัดบึงกาฬ
—
วว. /สทนช./สวก. ผนึกกำลัง Kick off โครงก...
วว. / ธ.ก.ส. หารือแนวทางนำเทคโนโลยีเกษตร ชีวภาพ อาหาร ต่อยอดดำเนินงานร่วมกันในปี 2568
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแ...