รมว.เฮ้ง ส่ง'รองปลัด'เยี่ยมโรงงาน ย้ำความเชื่อมั่นนายจ้างญี่ปุ่น รัฐบาลดูแลแรงงานผ่านวิกฤต ช่วยธุรกิจเดินได้

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงานและโฆษกกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงงานและให้ความรู้ด้านการเสริมสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร เพื่อให้องค์กรพร้อมรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบันให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศ ตลอดจนเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงานของบริษัท โอลิค(ประเทศไทย) จำกัด โดยมี นายโยชิฮิโระ ทาคาดะ กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ ให้การต้อนรับ ณบริษัท โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ การกระทรวงแรงงาน66 หมู่ การกระทรวงแรงงาน6 นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ถนนอุดมสรยุทธ ตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

รมว.เฮ้ง ส่ง'รองปลัด'เยี่ยมโรงงาน ย้ำความเชื่อมั่นนายจ้างญี่ปุ่น รัฐบาลดูแลแรงงานผ่านวิกฤต ช่วยธุรกิจเดินได้

นายวรรณรัตน์ กล่าวต่อว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และท่าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีซึ่งท่านกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ได้ให้ความสำคัญในการบริหารจัดการและรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะพี่น้องผู้ใช้แรงงานถือได้ว่าเป็นฟันเฟืองที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเจริญก้าวหน้าและมั่นคงจึงได้ให้กระทรวงแรงงานบูรณาการร่วมกับหลายหน่วยงานโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาในหลายด้าน อาทิ การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเพื่อนำเข้าสู่ระบบที่ถูกต้องตามกฎหมาย โครงการ Factory Sandbox การตรวจคัดกรองเชิงรุก RT-PCR 100% ภายใต้โครงการ "แรงงาน...เราสู้ด้วยกัน" การจัดหาเตียง Hospitel รองรับการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 การเปิดสายด่วนให้ความช่วยเหลือประสานหาเตียงรองรับการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 การตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนเพื่อผู้ประกันตนมาตรา 33 เป็นต้น รมว.เฮ้ง ส่ง'รองปลัด'เยี่ยมโรงงาน ย้ำความเชื่อมั่นนายจ้างญี่ปุ่น รัฐบาลดูแลแรงงานผ่านวิกฤต ช่วยธุรกิจเดินได้

นายวรรณรัตน์ ยังกล่าวต่อว่า ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 กระทรวงแรงงานภายใต้การนำของท่านสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยพี่น้องแรงงานและเร่งให้การช่วยเหลือตามนโยบายรัฐบาลเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนทำให้สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในกลุ่มแรงงาน สามารถรักษาระดับการจ้างงาน ประคับประคองให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคส่งออกเติบโตต่อเนื่อง จึงได้ดำเนินโครงการ Factory Sandbox ด้วยหลักการสำคัญ 4 ประการ คือ ประการแรก ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้แท่นพิมพ์เงินภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งเป็นรายได้สำคัญของประเทศได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง รัฐบาลจึงต้องรักษาการจ้างงานและรักษาแท่นพิมพ์เงินของธุรกิจภาคส่งออกที่มีภาคแรงงานกว่า 2 ล้านคน ใน 4 สาขา ได้แก่อาหาร เครื่องมือแพทย์ ยานยนต์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เอาไว้ เนื่องจากหลายประเทศไม่สามารถส่งออกสินค้าได้ ประการที่ 2 การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงแรกมีวัคซีนจำกัด จึงต้องจัดสรรให้ผู้สูงอายุก่อน ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานได้เล็งเห็นความสำคัญของพี่น้องผู้ใช้แรงงานที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศ จึงขอรับการจัดสรรวัคซีนจากรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในกลุ่มพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และป้องกันไม่ให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานต้องนำเชื้อโควิด-19 ไปติดผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัวที่บ้าน จึงได้ดำเนินโครงการ Factory Sandbox ตามนโยบายรัฐบาลด้วยหลักการเศรษฐศาสตร์คู่กับสาธารณสุข ทั้งการตรวจ รักษา ควบคุม ดูแล เยียวยา การให้ความช่วยเหลือ การฉีดวัคซีนตรวจคัดกรองโควิด -19 เพื่อประคับประคองให้ธุรกิจเดินได้ ประการที่ 3 สำนักงานประกันสังคมมีโรงพยาบาลในเครือข่ายที่เป็นโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศรวมกว่า 200 แห่ง ซึ่งมีทีมแพทย์และพยาบาลที่มีศักยภาพและมีความพร้อมในการรองรับการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงอาศัยสถานพยาบาลเหล่านี้ในการตรวจคัดกรอง ดูแลรักษา และฉีดวัคซีนแก่พี่น้องผู้ใช้แรงงาน ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม และประการสุดท้าย กระทรวงแรงงานได้ทำงานใกล้ชิดกับสหภาพแรงงาน จึงทำให้การดำเนินโครงการดังกล่าวสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด บรรลุวัตถุประสงค์และตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการและพี่น้องผู้ใช้แรงงานอย่างแท้จริง

สำหรับบริษัท โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด ปัจจุบันมีลูกจ้าง จำนวน 607 คน และมีสหภาพแรงงานยาและเวชภัณฑ์ร่วมดูแลด้านแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบกิจการ โดยบริษัทแห่งนี้ประกอบกิจการที่ผลิตยาแผนปัจจุบัน และส่งสินค้าขายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และได้ตระหนักถึงหลักการและแนวทางของกระทรวงแรงงานในการเสริมสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กรด้วยบริษัทฯ ตระหนักถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงานและเพิ่มความสุขในการปฏิบัติงาน ความมั่นคงในการทำงาน มีหลักประกัน และคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคนในองค์กร ซึ่งผู้บริหารของบริษัทฯ มีเจตจำนงที่ต้องการสนับสนุนหลักการดังกล่าว


ข่าววรรณรัตน์ ศรีสุขใส+การกระทรวงแรงงานวันนี้

ขับเคลื่อนสำนักงานประกันสังคมสู่ความสำเร็จ

พิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิด "โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เพื่อขับเคลื่อนสำนักงานประกันสังคมสู่ความสำเร็จด้วย SSO TRUST" ซึ่งจัดขึ้นโดย บุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน โดยมี อารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรี ไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงฯ และ วรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวง ร่วมให้การต้อนรับ ที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์

วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.30 น. นายบุ... ก.แรงงาน ติวเข้มเจ้าหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หวังไทยขยับเทียร์ 1 — วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.30 น. นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงง...

บุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ให้... อบรมพัฒนาทักษะการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ — บุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิด "โครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทัก...

คุณธนโชติ รุ่งสิทธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ... กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กสจ. วางใจ บลจ. เอ็มเอฟซี ทำหน้าที่จัดการทะเบียนสมาชิกต่อเนื่อง — คุณธนโชติ รุ่งสิทธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกอง...

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำของ... บลจ.กสิกรไทย ได้รับแต่งตั้งบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กสจ. ต่อเนื่อง — กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (กสจ.) ลงนามใ...

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำ... MFC โชว์ศักยภาพ! นำทัพจับมือ 'กสจ.' รับหน้าที่บริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ — บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC นำโดย คุณธนโชติ ร...