การรักษามะเร็งด้วยแขนยึดเครื่องฉายรังสีแบบหมุนขนาดเล็กที่สุดในโลกที่มหาวิทยาลัยยามากาตะในปีพ.ศ. 2565

ท่ามกลางการแข่งขันรุนแรงระหว่างผู้ผลิตเครื่องจักรไฟฟ้าประเภทเครื่องจักรหนักรายใหญ่ทั้งหลาย โตชิบาได้ส่งมอบแขนยึดเครื่องฉายรังสีแบบหมุนเพื่อการบำบัดรักษามะเร็งด้วยไอออนหนักที่อาศัยเทคโนโลยีตัวนำยิ่งยวดเครื่องแรกของญี่ปุ่นให้แก่โรงพยาบาลสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัมแห่งชาติหรือคิวเอสที (National Institutes for Quantum Science and Technology: QST) ในปีพ.ศ. 2559 ทั้งนี้ แขนยึดเครื่องฉายรังสีแบบหมุนคือส่วนที่เป็นทรงกระบอกรูปร่างคล้ายโดนัทที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วย แขนยึดดังกล่าวหมุนได้ 360 องศา ทำให้ฉายรังสีได้จากทุกมุมอย่างแม่นยำและช่วยขยายขอบเขตการรักษาให้กว้างขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ

การรักษามะเร็งด้วยแขนยึดเครื่องฉายรังสีแบบหมุนขนาดเล็กที่สุดในโลกที่มหาวิทยาลัยยามากาตะในปีพ.ศ. 2565

ขณะนี้ ศูนย์ไอออนหนักญี่ปุ่นตะวันออกแห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยยามากาตะ มีแขนยึดเครื่องฉายรังสีแบบหมุนขนาดเล็กที่สุดในโลกและเล็กกว่าเครื่องที่โรงพยาบาลคิวเอสทีแล้ว โดยมีโตชิบาเป็นผู้สนับสนุนเทคโนโลยี การรักษามะเร็งด้วยแขนยึดเครื่องฉายรังสีแบบหมุนขนาดเล็กที่สุดในโลกที่มหาวิทยาลัยยามากาตะในปีพ.ศ. 2565

การบำบัดรักษามะเร็งมีอยู่ 3 วิธีหลักๆ ได้แก่ การผ่าตัด เคมีบำบัด และการฉายรังสี แต่ละวิธีมีข้อดีข้อด้อยต่างกันได้ การใช้ลำแสงไอออนหนักต่างจากการฉายรังสีเอกซเรย์ตรงที่สามารถปรับแต่งให้สร้างประจุความเข้มสูง* และยิงพลังงานสูงกว่าปกติไปยังก้อนเนื้อมะเร็งได้ ทำให้สามารถทำลายเนื้อร้ายโดยสร้างความเสียหายต่อเซลล์ปกติน้อยที่สุด นอกจากนั้น รังสีเอกซเรย์จะมีประสิทธิภาพดีเมื่อใกล้พื้นผิวร่างกายและจะอ่อนลงเมื่อเคลื่อนที่ผ่านร่างกาย แต่ลำแสงไอออนหนักสามารถฉายเล็งไปยังเซลล์มะเร็งได้อย่างแม่นยำ

*กระบวนการที่พลังงานจากการแผ่รังสีผลักอิเล็กตรอน (ประจุลบ) ออกจากอะตอมในวัสดุขณะที่รังสีเคลื่อนผ่านวัสดุนั้น ๆ ทำให้เกิดเป็นอะตอมประจุบวกและอิเล็กตรอนอิสระแยกออกจากกัน

จุดเด่นประการสำคัญที่สุดของการบำบัดรักษาด้วยไอออนหนักคือสามารถทำการรักษาได้โดยไม่สร้างความเสียหายแก่บริเวณที่มีเนื้อร้าย ทั้งยังใช้ได้กับผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคประจำตัวและมีทางเลือกจำกัดได้บ่อยพอสมควร วิธีการบำบัดรักษานี้นับว่าช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตเนื่องจากทำให้สามารถให้การรักษาแก่ผู้ป่วยนอกได้ ทั้งยังมีข้อดีอีกประการ คือผู้ป่วยไม่ต้องลาหยุดหรือลาออกจากงานด้วย นอกจากนั้น ความแม่นยำยังช่วยลดผลกระทบต่อร่างกายและผลข้างเคียง ด้วยเหตุนี้ จึงคาดกันว่าการรักษามะเร็งรุ่นใหม่จะเปลี่ยนมาใช้ระบบไอออนหนักกันอย่างกว้างขวาง

ขณะนี้โรงพยาบาลคิวเอสทีและศูนย์อื่น ๆ ที่ติดตั้งอุปกรณ์บำบัดรักษาด้วยไอออนหนักแล้ว กำลังทำการทดลองทางคลินิกภายใต้โครงการ "กลุ่มการศึกษาทดลองมะเร็งวิทยาด้วยการฉายรังสีคาร์บอนไอออนแห่งญี่ปุ่น" ทั้งนี้ มีรายงานว่าศูนย์ไอออนหนักญี่ปุ่นตะวันออกกำลังวางแผนจะเริ่มทดลองเชิงคลินิกกับโรคมะเร็งตับและตับอ่อนทันทีที่แขนยึดเครื่องฉายรังสีแบบหมุนทำงานได้เสถียรแล้ว

คลิกที่นี่เพื่ออ่านข่าวประชาสัมพันธ์พร้อมมัลติมีเดียฉบับเต็ม: https://www.toshiba-clip.com/en/detail/p=3234


ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+สถาบันวิทยาศาสตร์วันนี้

วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (ศนอ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพิ่มมูลค่าสมุนไพร "ใบเตย" โดยการวิจัยและพัฒนาเป็น "สารสกัด" นำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเสริมสุขภาพในระบบกระดูกและข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย มุ่งเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค พร้อมเสริมแกร่งผู้ประกอบการด้วยผลงานมาตรฐานสากล ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. โดย

กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล ... กระทรวง อว. จับมือ ภาคี เปิดตัว Medical AI Data Platform — กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล กรมการแพทย์ และพันธมิตร เปิดตัว Medical AI Data Platfo...

นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความส... นักเรียนไทยคว้ารางวัลนำเสนอโครงงาน จากเวทีประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ICYS 2025 — นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาส...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสว... โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า" — โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลด...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...